ผู้ทรงธรรม
Status:
: 0 ใบ
: 0 ใบ
เข้าร่วม: 25 Jul 2008
ตอบ: 33
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Thu Apr 17, 2014 16:00
เข้าใจธรรมะ[คำถาม๑๐๔๘-กรรมชั่วสนองใยต้องช่วยเหลือ]
เป็นธรรมะ กับเรื่องใกล้ตัวดีครับ น่าจะนำไปใช้ และเข้าใจกันได้ง่าย
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านครับ
อนุโมทนาบุญแก่ผู้ที่สนใจทุกท่าน และ ขอให้บุญรักษาครับ
-โทษคนอื่นได้กิเลส โทษตนเองได้ปัญญา
-กิเลสไหลท่วมท้นใจทั้งคืนวัน คิดว่าปัญญาเพียงน้อยนิดจะเอาชนะกิเลสได้
*ควรใช้ปัญญาพิจารณาทุกครั้งในการรับข้อมูล ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อครับ
ขอบคุณ เวป raksa-dhamma ครับ
--------------------------------------------------------------------------
คำถาม
การไถ่ชีวิตโค-กระบือมีอานิสงส์อย่างไรคะ มีคนมาชักชวนให้ร่วมกันบริจาค ดิฉันไม่แน่ใจว่าที่ดิฉันคิดถูกไม๊คือ โค-กระบือเค้าก็มีกรรมเป็นของเค้าที่ต้องเกิดมาเป็น อาจจะโดนฆ่าหรือโดนใช้งานก็แล้วแต่เค้าก็ต้องชดใช้กรรมจนหมดอายุขัย คิดอย่างนี้ถูกต้องไม๊คะ
คำตอบ
คือการคิดอย่างท่านผู้ถามถูกส่วนหนึ่ง ไม่ถูกส่วนหนึ่งค่ะ
จริงอยู่ แม้สัตว์ผู้ต้องใช้แรงงาน ย่อมปฏิสนธิด้วยผลแห่งกรรมชั่วแต่หนหลัง ได้กำเนิดในอบายสัตว์ บ้างก็ถูกใช้งานจนผอมโซ หาอาหารรับประทานอิ่มท้องก็แสนยาก เพราะเกิดในแดนกันดาร...ก็กรรมนั่นแหละจัดแจงผลอย่างนั้น
บ้างก็ถูกฆ่า คือ ถูกนำไปเป็นอาหาร เพราะด้วยกรรมแห่งปาณาติบาต
แต่เพราะแม้ในอดีต สัตว์บางตัวก็ต้องเคยทำกุศลกรรมดีมาด้วยเหมือนกัน ดังนั้นในยามที่ได้พบบุคคลผู้มีใจเมตตา ใคร่กรุณากำจัดทุกข์แห่งการตายก่อนวัยของสัตว์นั้น พวกเขาย่อมได้อุปการะ ละเว้นจากการถูกฆ่า เป็นต้น
ถามว่า เพราะเหตุใด?โค กระบือเหล่านั้น จึงได้พบบุคคลผู้มีใจอารีเล่า?
ตอบว่า ก็เพราะผลแห่งกรรมดี ก็เป็นผู้จัดแจงผลให้รอดชีวิตด้วยอดีตกรรมดีที่เคยละเว้น ให้ชีวิตเป็นทานมาก่อนนั่นเอง
พึงเห็นในผลแห่งการเป็นผู้เสวยผล คือ กำลังรับวิบาก(ดีหรือชั่ว)
และพึงเห็นผลแห่งการก่อกรรมใหม่นั้น ย่อมเป็นไปกับกิเลสที่พาทำบาป หรือ ก่อกรรมดี ด้วยมหากุศลจิตของต่างบุคคลออกไป
ผู้หนึ่งกำลังเสวยผลของเหตุในอดีต
และผู้หนึ่งกำลังสร้างกรรมใหม่ อันจะก่อผลต่อไปเบื้องหน้า
ท่านผู้ถาม มิมีใจปรารถนาที่จะมีส่วนในการสร้างกรรมใหม่ที่ดีหรอกหรือหนอ?
การปรารภที่ไม่ถูกเหตุ ไม่ถูกผล ย่อมกั้นความดีของเราได้ หรือเป็นการส่งเสริมกรรมชั่วของเรา
เคยมีคนถามคนเดินทางทำนองนี้ เช่นกัน ถามว่า หากคนๆหนึ่งจะต้องรับวิบากคือ ถูกฆ่าแล้ว เราผู้ฆ่าเขา ก็เท่ากับวิบากกำหนดให้ฆ่ามิใช่หรือ? ดังนั้น เราก็ไม่สมควรจะบาป เราก็ไม่ควรรับผลแห่งการกระทำเลยเพราะวิบากกำหนดไว้
จึงอธิบายว่า ท่านอย่าได้กระทำความเห็นอย่างนั้นเลย เพราะเป็นไปเพื่อเปิดช่องให้กิเลส เป็นความเห็นผิด เห็นแต่ว่าอะไรๆก็เป็นวิบากไปหมด ตนจะทำบาป ก็อ้างว่า... เจ้าคนนี้ เขามีวิบากไม่ดีต้องถูกฆ่าตาย ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงอาสาทำให้วิบากแห่่งกรรมชั่วของเขานั้นสำเร็จลง
หาใช่เช่นนั้นไม่หรอก..ผู้กระทำการฆ่า ฆ่าเพราะโทสะตนอัน เป็นกิเลสใหม่ของบุคคลนั้น ส่วนผู้ถูกฆ่า ก็ต้องเสวยผลที่ตนเคยฆ่าผู้อื่นมาก่อนแต่ครั้งในอดีต
หากมีความเห็นไม่ชัดเจนปนเป ก็จะเป็นการฝั้นเฝือไปหมด หลงไปย่ามใจในการทำบาปเพราะโมเมว่า นี้เป็นวิบากของนายกระทาชายผู้นั้น
ดังนั้น แม้การไถ่ชีวิตโคกระบือ หากผู้ไถ่ ปรารภขึ้นมาด้วยความกรุณาใคร่กำจัดความทุกข์ของสัตว์ผู้จะมีชีวิตอาจจะตกล่วงก่อนเวลา ก็พึงยืด ชีวิตของสัตว์เหล่านั้นต่อไปอีกด้วยการไถ่ด้วยทรัพย์ของเรานี่แหละ..... แม้การให้อย่างนี้ ก็ชื่อว่า อภัยทาน... เป็นทั้งทานกุศลและศีลกุศล คือ เว้นจากการเบียดเบียนด้วย ให้ความสุขและให้สัตว์ หมดความหวาดกลัวด้วย ให้ชีวิตด้วย ชื่อว่าเป็นการให้ที่มีผลมาก
เป็นกุศลที่ดี ..แต่ทว่า พึงสอบทานคณะที่มาเรี่ยไรด้วยนะคะ เพราะอาศัยความมีเมตตาของชาวพุทธ ก็มีบางคนแสวงหาลาภด้วยการมุสาวาท กล่าวอ้างถึงการไถ่ชีวิตโคกระบือ แล้วได้เงินไปมาก อย่างนี้ ควรจะพิจารณาตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อนก็จะเป็นการดีค่ะ
เพื่อเป็นการ ไม่ให้คนไม่ดีเหล่านั้น ทำบาปหนักเพิ่มขึ้นไปอีก
และเป็นการป้องกันเจตนาของเรา ไม่ให้เสียหายไป หากทราบว่า ถูกหลอกลวง ใจของเราย่อมเป็นโทสะ ดังนั้น เจตนาหลังกาลก็จะเสียหายไปได้ค่ะ
ใครๆก็รักสุข เกลียดทุกข์ค่ะ..แม้สัตว์เดรัจฉารก็เช่นนั้น ..ดังนั้น แม้การให้เช่นนี้ก็เป็นเรื่องที่ดี มีผลมากค่ะ ....และที่แน่ๆ เป็นกุศลเหตุใหม่ของเราเองค่ะ
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ