นักบอล ดิวิชั่น 1
Status: อุตส่าห์ตามไลค์ให้เกือบปี ขอเลียหทีก็ไม่ได้

: 0 ใบ

: 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Oct 2009
ตอบ: 1426
ที่อยู่: ทุ่งหญ้าสเต็บ ปลายฝนต้นหนาว เข้าสู่ฤดูเหงา~
โพสเมื่อ: Fri Feb 28, 2014 20:59
โทกุงาวะ โยชิโนบุ โชกุนคนสุดท้ายแห่งยุคเอโดะ
โทกุงาวะ โยชิโนบุ ( 28 ตุลาคม ค.ศ. 1837 - 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913) เป็นโชกุนลำดับที่15 และโชกุนคนสุดท้ายของรัฐบาลโชกุนโทกุงาวะแห่งประเทศญี่ปุ่น
โทกุงาวะ โยชิโนบุ เกิดที่เมืองมิโตะ แคว้นมิโตะ (ปัจจุบันเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดอิบารากิ ) โดยเป็นบุตรคนที่7 ของโทกุงาวะ นาริอากิ ไดเมียวแห่งแคว้นมิโตะ ซึ่งแคว้นนี้นับเป็น 1 ใน 3สายตระกูลสำคัญของตระกูลโทกุงาวะ (โงะซังเคะ) ซึ่งมีสิทธิ์ที่จะได้รับเลือกให้ขึ้นสืบทอดตำแหน่งโชกุนต่อไป
เมื่อแรกเกิดนั้นโยชิโนบุใช้ชื่อว่า มัตซึไดระ ชิจิโรมะ และได้รับการอบรมเลี้ยงดูให้นิยมการทหารอย่างเข้มงวด เขาได้รับการสั่งสอนในวิชาอักษรศาสตร์และศิลปะการป้องกันตัว ตลอดจนถึงการศึกษาหลักวิชารัฐศาสตร์และการปกครองตามธรรมเนียมดั้งเดิม
ด้วยการส่งเสริมของผู้เป็นบิดา ชิจิโรมะจึงได้รับการยอมรับเป็นบุตรบุญธรรมของสายตระกูลฮิโทซึบาชิ อันเป็นตระกูลสำคัญหนึ่งตระกูลหนึ่งของตระกูลโทกุงาวะ เพื่อให้มีโอกาสที่จะได้รับเลือกให้สืบทอดตำแหน่งโชกุนได้มากยิ่งขึ้น เขาได้อยู่ในตำแหน่งของผู้นำตระกูลในปี ค.ศ. 1847 พร้อมทั้งได้รับยศและราชทินนามจากราชสำนัก และได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น โยชิโนบุ

ปี ค.ศ. 1858 โทกุงาวะ อิเอซาดะโชกุนลำดับที่13 ได้เสียชีวิต โยชิโนบุจึงได้ถูกเสนอชื่อในฐานะของผู้สืบทอดผู้มีศักยภาพในการดำรงตำแหน่งดังกล่าวซึ่งบรรดาผู้สนับสนุนของเขาถูกโน้มน้าวใจด้วยความสามารถและประสิทธิภาพในการจัดการเกี่ยวกิจกิจการต่างๆภายในตระกูล อย่างไรก็ตามฝ่ายตรงการข้ามภายใต้การนำของอิอิ นาโอสุเกะผู้มีอำนาจของบากุฟุกลับเป็นฝ่ายชนะ โทกุงาวะ โยชิโตมิซึ่งเป็นผู้ถูกเสนอชื่อของฝ่ายดังกล่าวได้ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งโชกุนคนที่14 ในชื่อ โทกุงาวะ อิเอโมจิ หลังจากนั้นไม่นานขณะที่กำลังเกิดการกวาดล้างปีอันเซย์ โยชิโนบุพร้อมทั้งบรรดาผู้สนับสนุนก็ถูกลงโทษด้วยการกักตัวในบ้านพักประจำแคว้นที่นครเอะโดะ โยชิโนบุเองก็ถูกถอดจากฐานะผู้นำของตระกูลฮิโทซึบาชิด้วย
**การกวาดล้างปีอันเซย์ (Ansei no Taikoku) เป็นการกวาดล้างผู้ต่อต้านรัฐบาลบาคุฟุ โดยสมุหราชองครักษ์ อีอิ นาโอสุเกะ ขุนนางข้าราชการชั้นสูงและข้าราชสำนักกว่าร้อยคนรวมถึงประชาชนพลเรือนจำนวนมากถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม
ยุคแห่งการสำเร็จราชการแทนโชกุนของไทโร อิอิ นาโอสุเกะ
ปี ค.ศ. 1860 ขณะที่นาโอซึเกะกำลังนั่งเกี๊ยวเพื่อที่จะกลับไปพักในปราสาท ได้มีซามูไรจำนวนหนึ่งพร้อมอาวุธครบมือพุ่งตัวเข้าจู่โจมขบวนเกี๊ยวของนาโอซึเกะ เหล่าทหารคุ้มครองไม่ทันได้ตั้งตัวกลุ่มซามูไรรุกประชิดเหตุการณ์ชุลมุนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ท้ายสุดนาโอซึเกะได้ถูกกระชากตัวลงมาจากเกี๊ยว แล้วคมดาบของอาริมุระ จิซาเอมอนก็ฟันเข้าตัดคอนาโอซึเกะขาดกระเด็นออกจากบ่า
เหตุการณ์ลอบสังหารไทโร อีอิ นาโอซึเกะในครั้งนี้ อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกลุ่ม18 ซามูไรจากตระกูล มิโตะแห่งแคว้นซัทซึมะ และเท่ากับเป็นการเริ่มต้นของการท้าทายความมั่นคงของบากุฟุโตกุงาวะ
หลังการลอบสังหารนาโอสุเกะที่ประตูซากุราดะ โยชิโนบุก็ได้รับคืนฐานะผู้นำตระกูลฮิโทซึบาชิอีกครั้ง และได้ถูกเสนอชื่อในเป็นผู้ดูแลโชกุนในปี ค.ศ. 1862ในการแต่งตั้งภายในระยะเวลาอันสั้น ในช่วงเวลาเดียวกันพันธมิตรที่ใกล้ชิดโยชิโนบุ 2 คน คือ มัตซึไดระ โยชินางะ และมัตซึไดระ คาตาโมริก็ได้รับการแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งระดับสูงเช่นกัน โดยโยชินางะได้เป็นหัวหน้าฝ่ายกิจการของบากุฟุ ส่วนคาตาโมริอยู่ในตำแหน่งผู้พิทักษ์พระนครเกียวโตซึ่งเป็นตำแหน่งที่มอบอำนาจให้กลุ่มซินเซ็นกุมิได้มีอำนาจตรวจตราเมืองเกียวโต ทั้ง3ท่านได้มีบทบาทอย่างยิ่งในการปราบปรามฝ่ายต่อต้านโชกุนในเมืองเกียวโตและรวบรวมพันธมิตรต่างๆ เพื่อต่อต้านฝ่ายต่อต้านจากแคว้นโจชู นอกจากนี้ยังเป็นบุคคลสำคัญในแนวทาง "โคบุ-งัตไต" (ประสานราชสำนักกับบากุฟุ) ซึ่งพยายามหาทางทำให้ราชสำนักกับรัฐบาลโชกุนปรองดองกันด้วยการแต่งงาน
ในปี ค.ศ. 1864 โยชิโนบุในฐานผู้บัญชาการกองทหารล้อมวังประสบความสำเร็จในการขับไล่กองกำลังของแคว้นโจชูซึ่งพยายามยึดครองประตูฮามางุริของพระราชวังหลวงที่เกียวโต ปฏิบัติการดังกล่าวสำเร็จลงได้ด้ายการใช้กำลังทหารจากพันธมิตรระหว่างแคว้นไอสึกับแคว้นซัทสึมะ
**แคว้นซัทสึมะมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า แคว้นคาโงชิมะมีศูนย์กลางการปกครองที่ปราสาทคาโงชิมะในเมืองคาโงชิมะ มีผลผลิตมวลรวมของแคว้นคิดเป็นหน่วยโคกุดะกะ (หน่วยวัดผลผลิตข้าวทั้งหมดแต่ละแคว้นในระบบศักดินาสมัยเอโดะ สะท้อนถึงอำนาจและความมั่งคั่งของแคว้น ดังเช่น GDP ในปัจจุบัน) อยู่ที่ 770,000 โคกุ สูงเป็นอันดับสองรองจากแคว้นคากะ
ตระกูลชิมะสึ ปกครองแคว้นซัทสึมะเป็นเวลาประมาณ 4 ศตวรรษ นับแต่ก่อตั้งแคว้นในต้นยุคเอโดะ จนถึงศตวรรษที่ 16 กินอาณาเขตเกือบทั้งเกาะคิวชู แม้ว่าจะถูกโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ปราบปรามในยุทธการคิวชู ค.ศ. 1587 เพื่อปราบปรามและควบคุมไดเมียวตามหัวเมืองต่างๆ ตระกูลชิมะสึก็ยังคงเป็นตระกูลที่มีอิทธิพลสูงสุดเหนือเกาะต่างๆรอบข้างเหมือนเดิม ในระหว่างศึกเซกิงะฮะรซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ปิดฉากยุคเซงโงะกุ อันเป็นยุคแห่งไฟสงครามในค.ศ. 1600 ตระกูลชิมะสึก็ยังคงตั้งมั่นที่แคว้นซัทสึมะเพื่อรวบรวมและป้องกันกำลังของตัวเอง ในขณะที่ตระกูลอื่นๆถูกกำจัดไปในสงครามครั้งนี้ ตระกูลชิมะสึเป็นหนึ่งในไม่กี่ตระกูลที่สามารถรักษากองกำลังของตนเองเพื่อต่อต้านกองทัพของโชกุน ที่พยายามครอบครองดินแดนญี่ปุ่นทั้งหมด ภายหลังได้ร่วมมือกับแคว้นโจชูล้มระบอบโชกุนเพื่อคืนอำนาจให้จักรพรรดิ์หรือที่เรียกกันว่าการปฎิรูปเมจิ
ในปี ค.ศ. 1866 หลังการเสียชีวิตของโชกุนโทกุงาวะ อิเอโมจิ อย่างกะทันหัน โยชิโนบุได้ถูกเลือกให้รับตำแหน่งเป็นโชกุนลำดับที่15 เขาเป็นโชกุนตระกูลโทกุงาวะเพียงคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งอยู่นอกนครเอโดะ เพราะเขาจะไม่มีโอกาสได้เหยียบย่างสู่ปราสาทเอโดะเลยตลอดสมัยแห่งการเป็นโชกุน
ทันทีที่โยชิโนบุได้ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ก็ได้เริ่มขึ้น มีการปฏิรูปรัฐบาลโชกุนครั้งใหญ่เพื่อเสริมความมั่นคงแข็งแกร่งให้กับรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับความช่วยเหลือจากจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ในการสร้างโรงหล่อปืนใหญ่ที่เมืองโยโกซุกะภายใต้การอำนวยการของเลออองซ์ แวร์นี (Leonce Verny) และบรรดาผู้ติดตามจากคณะทูตทหารฝรั่งเศส เพื่อปรับปรุงกองทัพของโชกุนให้มีความทันสมัย
กองทัพแห่งชาติทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือซึ่งรัฐบาลโชกุนได้ดำเนินการจัดตั้งมาก่อนอยู่แล้ว ก็ได้รับการเสริมกำลังโดยความช่วยเหลือของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวจะล้มเหลวลงในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งปี

หลังจากแพ้ในสมรภูมิที่โทบะฟูชิมิ แต่สงครามได้เกิดขึ้นต่อเนื่องเมื่อทัพของพระจักรพรรดิ์ได้ยกกำลังไปปราบแคว้นทางตอนเหนือที่ภักดีต่อโชกุนเกิดเป็นสงครามที่เรียกกันว่าสงครามโบซิน
**สงครามโบชิน(Boshin Sensou) การต่อสู้กับกองกำลังทหารสมัยใหม่ของพระจักรพรรดิ์ ที่ประกอบด้วยกองกำลังแคว้นทางใต้สี่ฝ่ายอันได้แก่ ซัทสึมะ โซชู ฮิเซ็น โทสะ ที่ได้รับการฝึกทหารแบบทันสมัยโดยครูฝึกอเมริกันและติดอาวุธปืนยาวสมัยใหม่ ฝ่ายพันธมิตรแคว้นเหนือของโชกุนเป็นกองกำลังผสมเดวะ-นางาโอกะ-มุทสึ-เอจิโกะ และแคว้นไอสึ
โยชิโนบุได้ย้ายไปอยู่ที่ชิสึโอกะ ซึ่งเป็นถิ่นฐานที่โทกุงาวะ อิเอยาสึ ผู้สถาปนารัฐบาลโชกุนโทกุงาวะใช้ชีวิตหลังออกจากตำแหน่งโชกุนเมื่อหลายศตวรรษก่อน อิเอซาโตะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นไดเมียวแห่งแคว้นชิสึโอกะ แต่ในอีกไม่กี่ปีต่อมาก็สูญเสียฐานะดังกล่าวไป เนื่องจากระบบแว่นแคว้นและระบบศักดินาทั้งหมดถูกรัฐบาลเมจิยกเลิก
ฮาตาโมโตะ (ซามูไรผู้ขึ้นตรงต่อโชกุน) จำนวนมากได้ย้ายติดตามโยชิโนบุมาตั้งถิ่นฐานที่ชิซุโอะกะด้วย แต่ด้วยจำนวนฮาตาโมโตะที่มีมาก ทำให้โยชิโนบุไม่สามารถหารายได้มาดูแลคนเหล่านี้ได้เพียงพอ ผลก็คือมีฮาตาโมโตะบางส่วนต้องการจะเอาชีวิตของเขา โยชิโนบุระมัดระวังตัวเองในเรื่องนี้และหวาดกลัวต่อการลอบสังหาร จนต้องคอยสลับตารางเวลานอนของตนเอง เพื่อสร้างความสับสนแก่บรรดามือสังหารที่อาจเข้ามาฆ่าตนได้ทุกเมื่อ
ปี ค.ศ. 1897 โยชิโนบุและครอบครัวทั้งหมด ได้ย้ายกลับมาอยู่ที่เอะโดะ (ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียว)
โยชิโนบุได้ใช้ชีวิตโดยไม่เปิดเผยตัวแก่สาธารณะ และทุ่มเทกับการทำงานอดิเรกต่างๆ เช่น การวาดภาพสีน้ำมัน ยิงธนู ล่าสัตว์ ถ่ายรูป หรือขี่จักรยาน รูปถ่ายบางส่วนของเขาเพิ่งจะได้รับการตีพิมพ์เมื่อไม่กี่ปีมานี้จากโทกุงาวะ โยชิโทโมะผู้เป็นทายาทชั้นเหลนของโยชิโนบุ
ค.ศ. 1902 จักรพรรดิเมจิได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โยชิโนบุตั้งตระกูลของตนขึ้นใหม่ในฐานะตระกูลสาขาของตระกูลโทกุงาวะ โดยได้รับพระราชทานยศเจ้าขุนนางชั้นสูงสุดคือ ชั้นโคชาคุ (เทียบเท่ากับคำว่า Prince หรือเจ้าชายในภาษาอังกฤษ) เพื่อเป็นบำเหน็จแก่การรับใช้ชาติญี่ปุ่นด้วยความภักดีของโยะชิโนะบุ
โทกุงาวะ โยชิโนบุ ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913 เวลา 16:10 น. ในรัชสมัยของจักรพรรดิไทโช ร่างของเขาได้รับการฝังไว้ที่สุสานยานาคะกรุงโตเกียว
บุตรีคนที่ 9 ของโยชิโนบุ คือ โทกุงาวะ ซึเนโกะ (ค.ศ. 1882 – 1939) 9 มกราคม ค.ศ. 1896 ซึเนโกะได้สมรสกับจอมพลเรือ เจ้าชายฟุชิมิ ฮิโรยาสึซึ่งเป็นพระญาติชั้นลูกพี่ลูกน้องชั้นที่สองของจักรพรรดิโชวะและจักรพรรดินีโคจุน
**อนึ่ง ในปีค.ศ. 1868 ที่ดินของตระกูลโทกุงาวะทั้งหมดได้ตกไปอยู่ในความครอบครองของจักรพรรดิและถือเป็นการเพิ่มอภิสิทธิ์ให้รัฐบาลเมจิด้วย ค.ศ. 1869 ไดเมียวของแคว้นโทซะ, แคว้นซางะ ,แคว้นโจซู และแคว้นซัทสึมะ ได้รับการชักชวนให้ถวายดินแดนของแคว้นคืนแด่จักรพรรดิ ตามด้วยไดเมียวของแคว้นอื่น ๆเพื่อให้กลุ่มปฎิรูปเมจิมีอำนาจเหนือดินแดนทั่วราชอาณาจักรซึ่งก็ได้มีการต่อต้านในช่วงแรก
กลุ่มปฎิรูปเมจิได้ยกเลิกระบบชนชั้นระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ทั้งสี่ อันได้แก่ ชนชั้นซามูไร ชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า
ในขณะนั้นมีซามูไร 1.9 ล้านคนทั่วประเทศญี่ปุ่น ซามูไรของญี่ปุ่นไม่ได้อยู่ภายใต้มีผู้อำนาจปกครองแต่จะจงรักภักดีต่อผู้ที่เป็นนายเท่านั้น รัฐบาลกลางต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่ซามูไรแต่ละคน ซึ่งถือเป็นภาระทางการเงินอย่างมหาศาล และอาจเป็นแรงจูงใจหนึ่งให้กลุ่มปฎิรูปเมจิยกเลิกชนชั้นซามูไร
ค.ศ. 1873 กลุ่มปฎิรูปเมจิได้ดำเนินการไปอย่างช้า ๆ ขั้นแรกรัฐบาลกลางได้ประกาศให้ซามูไรต้องเสียภาษีจากเบี้ยเลี้ยงในอัตราก้าวหน้า ต่อมาค.ศ. 1874 รัฐบาลกลางได้เสนอซามูไรมีสิทธิเลือกที่จะเปลี่ยนการรับเบี้ยเลี้ยงเป็นพันธบัตรรัฐบาล และในที่สุด ค.ศ. 1876 รัฐบาลกลางก็บังคับให้ซามูไรเปลี่ยนจากการรับเบี้ยเลี้ยงเป็นพันธบัตรรัฐบาลทั้งหมด และสุดท้ายก็เกิดกบฎซามูไรขึ้นโดยการนำของ ไซโก ทากาโมริจากแคว้นซัทสึมะซึ่งเป็นแกนนำหลักเมื่อครั้งล้มระบอบโชกุน
แก้ไขล่าสุดโดย live3z เมื่อ Fri Feb 28, 2014 21:06, ทั้งหมด 1 ครั้ง
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ