Register
Login
Username
Password
จำรหัสผ่าน
ลืมรหัสผ่าน?
ผู้ตั้ง
ข้อความ
cadet_Bosingwa
เข้าร่วม: 04 Nov 2009
ตอบ: 2247
ที่อยู่: หมู่เกาะกาลาปากอส
โพสเมื่อ:
Mon Feb 16, 2015 3:49 pm
130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ
ชื่ออัสสัมชัญนั้นเด่นมาช้านาน ยังมีพยานปรากฏรับรอง...
โรงเรียนอัสสัมชัญ(บ้างเรียก อัสสัมชัญบางรัก หรือ อัสสัมชัญกรุงเทพ, ย่อ: อสช, AC) เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ในเครือจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แผนกประถม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเซนต์หลุยส์ 3 ถนนสาทรใต้ และแผนกมัธยม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 40 (ซอยบูรพา) ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก
โรงเรียนอัสสัมชัญเป็นโรงเรียนแห่งแรกในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนเซนต์หลุยส์ และโรงเรียนที่ใช้คำนำหน้าว่า "อัสสัมชัญ" ด้วยกัน 11 แห่ง และมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ 129 ปี เป็นโรงเรียนชายที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และเป็นโรงเรียนโรมันคาทอลิกแห่งแรกของประเทศมีศิษย์เก่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน ทั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 2 คน, องคมนตรี 15 คนและ นายกรัฐมนตรี 4 คน
ช่วงแรก
ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนอัสสัมชัญ คือ บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ (คุณพ่อกอลมเบต์) อธิการโบสถ์อัสสัมชัญ ชาวฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2420 โดยเริ่มจากการให้การศึกษาแก่เด็กคาทอลิก (คริสตัง) ณ วัดสวนท่าน อันเป็นโบสถ์คาทอลิกแห่งหนึ่งในชุมชนแถบบางรัก ใกล้ริมฝั่งเจ้าพระยา เขาเข้ามาอาศัยในประเทศสยามแล้วประมาณ 5 ปี ท่านได้เริ่มให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ในละแวกนั้น ซึ่งมีทั้งเด็กคาทอลิกที่ยากจน และกำพร้า เพื่อให้เด็กเหล่านั้นได้มีความรู้ ด้วยการสอนวิชาความรู้และศาสนาควบคู่กันไป จากหนังสือประวัติกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2435 - พ.ศ. 2507 กล่าวถึงการจัดการศึกษาฝ่ายโรงเรียนราษฎร ว่า "...ใน พ.ศ. 2420 มีโรงเรียนไทย-ฝรั่ง ซึ่งต่อมาเรียกว่าโรงเรียนอัสสัมชัญ..." อันที่จริง โรงเรียนไทย-ฝรั่งที่ว่านี้ ที่ถูกต้องคือ โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศส วัดสวนท่าน ซึ่งตั้งขึ้น โดยบาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ (Piere Emile Colombet) นั่นเอง โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศสแห่งนี้ กล่าวได้ว่าคือรากฐานที่พัฒนามาสู่โรงเรียนอัสสัมชัญในอีก 8 ปีต่อมา โดยแรกเริ่มมีนักเรียน 12 คน
ในช่วงปีแรกนั้น นักเรียนยังมีจำนวนน้อย ท่านต้องเดินไปตามบ้านเพื่อขอร้องให้ผู้ปกครองส่งเด็กมาเรียนหนังสือกับท่าน จนต่อมาท่านก็ได้ใช้เนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 3 งาน ตรงบริเวณนั้นก็มีบ้านของคุณพ่อกังตอง (pere Ganton) อันเป็นเรือนไม้เก่าขนาดเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นโดยมุขนายกฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว เมื่อ พ.ศ. 2392 เป็นบริเวณที่พักของคุณพ่อกังตองซึ่งเป็นหัวแรงใหญ่ในการดูแลงานโรงเรียน มีเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ซึ่งกั้นเป็นห้องเรียนได้ 1 ห้อง และบนเรือนเป็นห้องเรียนได้อีก 1 ห้อง เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน และมีลานเล่นทีมีหลังคามุงด้วยจาก พอให้นักเรียนได้มีที่กำบังแดดและฝนยามวิ่งเล่นอีกหลังหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้คุณพ่อกอลมเบต์ยังได้จ้างนายคอนอแว็น ชาวอังกฤษให้มาเป็นครูใหญ่ โรงเรียนของท่านได้เริ่มเปิดเรียนวันแรกในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 ตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศ (Le Collège de l'Assomption) ซึ่งมีความหมายว่า สถานที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้ ซึ่งในขณะนั้นมีนักเรียน 33 คน
บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลัมเบต์
ด้วยจำนวนนักเรียนเพียง 33 คน ทำให้ครูใหญ่รู้สึกท้อถอยและคิดจะลาออกกลับไปยังประเทศของตน แต่คุณพ่อกอลมเบต์ก็ได้ปลุกปลอบและให้กำลังใจเรื่อยมา จนในที่สุดก็มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 80 คน โดยนักเรียนคนแรกของโรงเรียน คือ ยวงบัปติส เซียวเม่งเต็ก (อสช 1) ปีต่อมามีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 130 คน การเรียนการสอนในยุคแรกเป็นภาษาไทยควบคู่กับภาษาฝรั่งเศส
เมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สถานที่จึงคับแคบลง คุณพ่อกอลมเบต์ปรารถนาที่จะสร้างอาคารใหม่ ท่านจึงได้ออกเรี่ยไรเงินไปตามบ้านผู้มีจิตศรัทธาต่าง ๆ และได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาไปถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ซึ่งทั้งสองพระองค์ก็ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กับคุณพ่อกอลมเบต์เพื่อใช้ในการดำเนินงานการก่อสร้างเรียนครั้งนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน 50 ชั่ง (4,000 บาท) และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระราชทาน 25 ชั่ง (2,000 บาท) พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และเจ้าขุนมูลนายต่าง ๆ ก็ได้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งนี้ด้วย
ภาพหมู่นักเรียนอัสสัมชัญและคณะภราดาในช่วงยุคแรกของโรงเรียน
23 เมษายน พ.ศ.2430 คุณพ่อกอลมเบต์ลงนามสัญญาก่อสร้างตึกเรียนหลังแรกกับมิวเตอร์กราซี (Mr. Grassi) สถาปนิกชาวอิตาลี ด้วยจำนวนเงิน 50,000 บาท และได้เริ่มวางรากฐานการก่อสร้างตึกหลังแรกของโรงเรียนซึ่งมีชื่อว่า "Le Collège de l'Assomption" (ซึ่งต่อมาเรียกว่า "ตึกเก่า") ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 และในวันที่ 15 สิงหาคม ปีนั้น อันเป็นวันสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (อัสสัมชัญ) ซึ่งนับว่าเป็นฤกษ์ดี คุณพ่อกอลมเบต์จึงเลือกการวางศิลารากโรงเรียนในวันนั้น โดยเชิญคุณพ่อดองต์ (d'Hondt) ผู้ช่วยมุขนายกมิสซังกรุงเทพมหานคร มาทำการเสกศิลา และได้พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งกลไฟชื่อ "อาเลกซันตรา" ซึ่งกรมหมื่นดำรงราชนุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ พระยาภาสกรวงษ์ ผู้แทนเสนาบดีว่าการต่างประเทศ ได้นำคุณพ่อดองต์ และคุณพ่อกอลมเบต์ ไปรับเสด็จที่ท่า ผ่านกระบวนนักเรียน ตามทางประดับด้วยผ้าแดง ธงต่าง ๆ ต้นกล้วย ใบไม้ เสื่อลวด ดังปรากฏหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 4 แผ่นที่ 18 หมายเลข 138 ว่า "ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ เวลาบ่าย 4 โมงเสศ...ทรงจับฆ้อนเคาะแผ่นศิลานั้น" แล้วดำรัสว่า ให้ที่นี้ถาวรมั่นคงสืบไป อาคารใหม่ (ตึกเก่า) หลังนี้ได้สร้างสำเร็จบริบูรณ์ใน พ.ศ.2433
ปี พ.ศ.2439 จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจนถึง 300 คน และเพิ่มเป็น 400 คนในปีต่อมา จนทำให้ภาระของคุณพ่อกอลมเบต์เพิ่มมากขึ้น ศิษย์ของท่านมีทั้งชาวไทย ชาวจีน แขก ฝรั่ง ทั้งที่นับถือศาสนาพุทธ โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาขงจื้อ ฯลฯ ทำให้ท่านมีเวลาเพื่อศาสนากิจอันเป็นงานหลักของท่านน้อยเกินไป ดังนั้นเมื่อตึกเรียนได้เริ่มใช้งานมา 10 ปีแล้ว คือเริ่มใช้งานในปี พ.ศ.2433 การดำเนินงานของโรงเรียนก็เข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น เมื่อท่านป่วยและต้องเดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเพื่อรักษาตัวในปี พ.ศ.2433 ท่านจึงได้มอบหมายภาระทางด้านโรงเรียนนี้ให้กับคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เพื่อมาดำเนินงานต่อจากท่าน เมื่อท่านได้กลับมาประเทศไทย หลังจากที่รักษาตัวที่อยู่ที่ฝรั่งเศสเกือบ 3 ปี ท่านยังแวะเวียนมาดูแลภราดรและโรงเรียนบ่อยครั้ง โดยเฉพาะทุกวันอาทิตย์และทุกปิดเทอมที่ท่านร่วมขบวนทัศนาจรด้วย
ความแตกต่างระหว่างโรงเรียนเก่า (พ.ศ. 2420 - พ.ศ. 2427) กับโรงเรียนใหม่ (พ.ศ. 2428 เป็นต้นมา) ของคุณพ่อกอลมเบต์ก็คือ โรงเรียนใหม่มิได้มุ่งสอนเฉพาะเด็กคาทอลิกอีกต่อไป หากเปิดกว้างสำหรับนักเรียนทุกเชื้อชาติ ศาสนา เมื่อพิจารณาช่วงเวลาที่โรงเรียนแห่งนี้เปิดสอนคือ พ.ศ. 2428 จะเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่รัฐกำลังจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นตามวัด เพื่อให้ราษฎรทั่วไปมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนตามแบบหลวงที่ได้จัดให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์และบุตรหลานข้าราชการมาก่อนแล้ว เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญ หรืออาซมซาน กอเล็ศ เปิดขึ้นจึงเป็นการสอดรับกับนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐพอดี ทั้งยังเป็นการช่วยขยายการศึกษาออกสู่ราษฎรอีกประการหนึ่ง
ประตูรั้วโรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ
การพัฒนาโรงเรียนในช่วงก่อน พ.ศ. 2475
วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ภราดามาร์ตินได้ขอเปลี่ยนโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งขึ้นทะเบียนของกระทรวงธรรมการอย่างโรงเรียนมัธยมพิเศษ เป็นโรงเรียนอุดมศึกษา และขอให้เจ้าพนักงานไปควบคุมการสอบไล่ของนักเรียน พ.ศ. 2455 แต่ทางกระทรวงฯ ก็ยังไม่ได้รับรองเทียบเท่าชั้นมัธยม 6 ให้เพราะจัดสอบไล่เองและข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด กระทรวงฯ มิได้เป็นผู้ตัดสินและตรวงสอบ จนกระทั่งในการสอบปลายปี 2485 โรงเรียนจึงได้ใช้ข้อสอบของกระทรวงฯ ซึ่งเป็นภาษาไทยแทน ในปี พ.ศ. 2456 ได้มีการจัดตั้งสภานักแต่งชื่อ "อัสสัมชัญอาคาเดมี" ขึ้นเพื่อรับสมาชิกเอก โท ตรี สำหรับนักเรียนที่ยังเรียนอยู่ และผู้ที่ออกไปแล้วจะได้หัดแต่งเรื่องราวให้มีโวหารสำนวนน่าชวนอ่าน และได้มีการจัดตั้ง "อัสสัมชัญยังแม็น" (A.C.Y.M.A.) สำหรับนักเรียนใหม่มีโอกาสรื่นเริงบันเทิงใจด้วยกัน และคบหาสมาคมกับนักเรียนเก่าที่เป็นผู้ใหญ่ รู้ขนบธรรมเนียมของโลกและการงานต่าง ๆ ด้วย ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2457 ได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นแถวบางรัก เพลิงโหมตั้งแต่บ่ายสามถึงราวเที่ยงคืน อยู่ห่างจากโรงเรียนเพียง 2-3 ร้อยหลา
ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2457 ได้มีการเปิดการแข่งขันกรีฑาของคณะเซนต์คาเบรียล (Gymkhana) ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยโรงเรียนอัสสัมชัญก็ได้เข้าร่วมในกรีฑาครั้งนี้ด้วย และในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เป็นวันที่โรงเรียนมีนักเรียนที่กำลงศึกษาอยู่ถึง 1,000 คน จากนั้น 2 ปี เกิดเหตุการณ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดในช่วงวันที่ 15-25 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ทำให้โรงเรียนหยุดชั่วคราว มีครูและนักเรียนป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่เป็นอันมาก ต่อมา เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้เมื่อตี 4 ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ที่บ้านติดกับเรือนไม้ของโรงเรียน ทุกคนเห็นตรงกันว่า โรงเรียนรอดมาได้ราวกับปฏิหาริย์ เพราะคำภาวนาของท่านภราดามาร์ติน เดอ ตูรส์ ซึ่งคุกเข่าสวดมนต์หันหน้าเข้าหาไฟอยู่บนระเบียงของเรือนไม้
เหล่าคณะภราดาคณะเซนต์คาเบรียลที่มารับช่วงต่อจากคุณพ่อกอลมเบต์
ภราดา (บราเดอร์) ฟ. ฮีแลร์ ปราชญ์แห่งอัสสัมชัญ
ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2470 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัติ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการก็ได้เสด็จทรงเยี่ยมโรงเรียนอย่างเป็นทางการ โรงเรียนได้จัดงาน "สุวรรณสมโภช" หรือการฉลองครบรอบ 50 ปีในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2476
พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัติ
หลักสูตร
โรงเรียนอัสสัมชัญได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยยึดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และพุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรแกนกลาง และสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 นอกจากนี้โรงเรียนอัสสัมชัญกำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วยการประเมินคุณภาพภายใน การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพภายนอก โดยประกอบด้วย การประเมินคุณภาพภายนอก และการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาการจัดการศึกษา
แผนการเรียน
โรงเรียนอัสสัมชัญมีแผนการเรียนให้นักเรียนเลือกตามความถนัดและความชอบ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
แผนการเรียนเน้นภาษาอังกฤษ(Bell) จำนวน 3 ห้อง รับ 144 คน
แผนการเรียนเน้นคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 ห้อง รับ 250 คน
แผนการเรียนเน้นวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พิเศษ(Gifted) จำนวน 2 ห้อง รับ 70 คน (ห้องละ 20-35 คน)
แผนการเรียน English program (นักเรียน Ep m.1)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ม.4 -ม.5
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (อสช.) จำนวน 1 ห้อง
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 4 ห้อง
แผนการเรียนศิลป์คำนวณ จำนวน 4 ห้อง
แผนการเรียนศิลป์ออกแบบ จำนวน 1 ห้อง
แผนการเรียนศิลป์ภาษา ภาษาจีน-ภาษาอังกฤษฯ หรือ ภาษาฝรั่งเศส-ภาษาอังกฤษฯ จำนวน 1 ห้อง และ English Program
ม.6
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (อสช.) จำนวน 1 ห้อง
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 5 ห้อง
แผนการเรียนศิลป์คำนวณ จำนวน 3 ห้อง
แผนการเรียนศิลป์ออกแบบ จำนวน 1 ห้อง
แผนการเรียนศิลป์ภาษา จำนวน 1 ห้อง และ English program
ตึก ฟ.ฮีแลร์ สร้างขึ้นแทนตึกเก่า เพื่อรองรับนักเรียนที่เพิ่มขึ้น
อาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์และรูปปั้นภราดา ฟ.ฮีแลร์ เป็นอาคารใหม่ที่สุดของโรงเรียนอัสสัมชัญ
ภาพการแปรอักษรครั้งแรกของประเทศไทยโดยโรงเรียนอัสสัมชัญ
สถานศึกษาที่อยู่ในความดูแลของภราดาคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
1. โรงเรียนอัสสัมชัญ (AC) กรุงเทพฯ 2428
2. โรงเรียนเซนต์คาเบรียล (SG) กรุงเทพฯ 2463
3. โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย (MC) เชียงใหม่ 2475
4. โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ (ACC) กรุงเทพฯ 2482
5. โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา (ACS) ชลบุรี 2487
6. โรงเรียนเซนต์หลุยส์ (SL) ฉะเชิงเทรา 2491
7. ยุวลัยเซนต์หลุยส์ แมรี่ (SLJ) ชลบุรี 2491
8. โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง (ACL) ลำปาง 2501
9. โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี (ACT) กรุงเทพฯ 2504
10. โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง (ACR) ระยอง 2506
11. โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี (ACU) อุบลราชธานี 2508
12. โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม (ACP) กรุงเทพฯ 2508
13. โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา (ACN) นครราชสีมา 2510
14. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (AU,ABAC) กรุงเทพฯ 2515
15. โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ (ACSP) สมุทรปราการ 2522
17. บ้านนักศึกษาเซนต์คาเบรียล (SGS) นครปฐม 2526
18. นวกสถาน เดอ มงฟอร์ต (MNS) เชียงใหม่ 2528
19. โรงเรียนอัสสัมชัญเทคนิคนครพนม (ATSN) นครพนม 2541
9
0
zerpenteer
,
RzOno
,
WazZa27
,
BESTARS_L
,
recca111
,
Dentyne
,
แถดๆ
,
kaimook
,
NurGot
zerpenteer
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 10144
ที่อยู่: สุสานโบราณ
โพสเมื่อ:
Mon Feb 16, 2015 3:54 pm
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
มาน่าสนใจเอาครึ่งหลังของเนื้อหานี่ละ
0
0
EST.1892
Lolitas
เข้าร่วม: 09 Jan 2011
ตอบ: 1702
ที่อยู่:
โพสเมื่อ:
Mon Feb 16, 2015 3:56 pm
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
อัสสัมนี่กระโปรงน้ำเงินหรอ อัสสัมสมุทรกระโปรงแดงแฮะ แปลกดีไม่เหมือนกัน
0
0
pungcheer
เข้าร่วม: 25 Jun 2008
ตอบ: 3421
ที่อยู่: สุพรรณบุรี
โพสเมื่อ:
Mon Feb 16, 2015 4:01 pm
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
โอ้อินทรีแดง รุกแรงเร็วไว
0
0
เหนือยอดมนุษย์ ยังมีมนุษย์เมีย
constantine7
เข้าร่วม: 27 Dec 2007
ตอบ: 32
ที่อยู่: [Citizen Manchester]
โพสเมื่อ:
Mon Feb 16, 2015 4:09 pm
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
เลือดแดงขาว อุบลเด้อ
0
0
อะไรๆก็ โอเชีย
-Quantum-
เข้าร่วม: 04 Feb 2009
ตอบ: 2758
ที่อยู่: London, N5 1BU
โพสเมื่อ:
Mon Feb 16, 2015 4:26 pm
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
130 ปีแล้วรึเนี่ย จบมา 10 ปีแล้วสินะ
จะว่าเร็วก็เร็วน่าใจหายนะ ทีตอนอยู่ ละอยากจบเรวๆ ไปอยู่มหาลัยเจอสาวๆ
แต่พอมาถึงวัยนึง รู้เลยว่า การอยู่กับเพื่อนสนิทหลายคน การเรียนมั่ง เที่ยวเสเพลมั่ง
แอบหนี แอบทำไรผิดมั่ง ในโลกที่ใหญ่โตภายใต้กรอบเล็กๆ นี่มันเป็นสีสันชีวิตที่สุดละ
0
0
There's always another reason to keep on living.
WazZa27
เข้าร่วม: 17 Oct 2009
ตอบ: 1811
ที่อยู่: Red Devil & Shark Army.
โพสเมื่อ:
Mon Feb 16, 2015 5:00 pm
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
ACS 5441
0
0
olanla
เข้าร่วม: 29 Jan 2011
ตอบ: 832
ที่อยู่: merseyside,Liverpool
โพสเมื่อ:
Mon Feb 16, 2015 5:09 pm
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
รวยทุกคน
0
0
**โชคดีมีเมียเชียร์แมนฯยู เพราะกูเชียร์เป็ดน้อยสีแดง**
ชาเขียว
เข้าร่วม: 03 Nov 2014
ตอบ: 6882
ที่อยู่:
โพสเมื่อ:
Mon Feb 16, 2015 5:22 pm
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
ทำไมเด็ก อสช ชอบใส่กางเกงนักเรียนสั้นๆรัดๆโชว์ขาอ่อนด้วย ไม่เข้าใจอ่ะ
ใครเด็ก อสช มาตอบหน่อยจิ
0
0
Santiago Bernabeu
เข้าร่วม: 12 Aug 2014
ตอบ: 8875
ที่อยู่: Madrid,Spain
โพสเมื่อ:
Mon Feb 16, 2015 6:23 pm
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
ชาเขียว พิมพ์ว่า:
ทำไมเด็ก อสช ชอบใส่กางเกงนักเรียนสั้นๆรัดๆโชว์ขาอ่อนด้วย ไม่เข้าใจอ่ะ
ใครเด็ก อสช มาตอบหน่อยจิ
มันเป็นแฟชั่นมั้งครับ เพราะตอนเด็กๆประธมผมก็ใส่ยาว พออยู่มัธยม มันก็เห็นรุ่นพี่ๆใส่ เลยอยากใส่ตามมั้งครับ สำหรับห้องผมนะใครใส่ยาว ส่วนใหญ่เป็นเด็กเรียน ผมก็ใส่สั้นนะ 14 นิ้ว
1
0
ชาเขียว
Dr.k
เข้าร่วม: 04 Sep 2013
ตอบ: 701
ที่อยู่: สักที่บนโลก
โพสเมื่อ:
Mon Feb 16, 2015 7:10 pm
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
อัสสัมชัญลำนารายณ์??เกี่ยวปะครับ??
0
0
แถดๆ
เข้าร่วม: 31 Jan 2014
ตอบ: 8227
ที่อยู่: บนต้นไม้
โพสเมื่อ:
Mon Feb 16, 2015 8:23 pm
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
ครึ่งแรกสาระ ครึ่งหลังสาระกว่า
0
0
Spoil
NurGot
เข้าร่วม: 13 Oct 2010
ตอบ: 2905
ที่อยู่:
โพสเมื่อ:
Mon Feb 16, 2015 9:45 pm
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
ชาเขียว พิมพ์ว่า:
ทำไมเด็ก อสช ชอบใส่กางเกงนักเรียนสั้นๆรัดๆโชว์ขาอ่อนด้วย ไม่เข้าใจอ่ะ
ใครเด็ก อสช มาตอบหน่อยจิ
ใส่สั้นๆคือพวกเฟี้ยวๆครับ ซ่าๆหน่อย
ไม่รู่มันจะดูเท่ แบบสั้นให้มันหลุดตูดนิดนึง
ตอนผมเรียนไปตัดให้สั้นและหลวมๆประจำ
แต่ก็ต้องมีตัวยาวไว้เพื่อนมาสเตอร์ตรวจ
็HBD AC เสียดายวันนี้ไม่ได้ไปติดงาน
ผม AC123
1
0
ชาเขียว
LOVE_CHELSEA_FOREVER
ชาเขียว
เข้าร่วม: 03 Nov 2014
ตอบ: 6882
ที่อยู่:
โพสเมื่อ:
Tue Feb 17, 2015 10:59 am
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
NeyMarDaSilva.JR พิมพ์ว่า:
ชาเขียว พิมพ์ว่า:
ทำไมเด็ก อสช ชอบใส่กางเกงนักเรียนสั้นๆรัดๆโชว์ขาอ่อนด้วย ไม่เข้าใจอ่ะ
ใครเด็ก อสช มาตอบหน่อยจิ
มันเป็นแฟชั่นมั้งครับ เพราะตอนเด็กๆประธมผมก็ใส่ยาว พออยู่มัธยม มันก็เห็นรุ่นพี่ๆใส่ เลยอยากใส่ตามมั้งครับ สำหรับห้องผมนะใครใส่ยาว ส่วนใหญ่เป็นเด็กเรียน ผมก็ใส่สั้นนะ 14 นิ้ว
14นิ้วนี่สั้นมากนะ เวลานั่งแหกขานี่เห็นรอดไปถึงไข่เลย555
1
0
Santiago Bernabeu
Santiago Bernabeu
เข้าร่วม: 12 Aug 2014
ตอบ: 8875
ที่อยู่: Madrid,Spain
โพสเมื่อ:
Tue Feb 17, 2015 11:01 am
[RE: 130ปี อัสสัมชัญกรุงเทพฯ]
ชาเขียว พิมพ์ว่า:
NeyMarDaSilva.JR พิมพ์ว่า:
ชาเขียว พิมพ์ว่า:
ทำไมเด็ก อสช ชอบใส่กางเกงนักเรียนสั้นๆรัดๆโชว์ขาอ่อนด้วย ไม่เข้าใจอ่ะ
ใครเด็ก อสช มาตอบหน่อยจิ
มันเป็นแฟชั่นมั้งครับ เพราะตอนเด็กๆประธมผมก็ใส่ยาว พออยู่มัธยม มันก็เห็นรุ่นพี่ๆใส่ เลยอยากใส่ตามมั้งครับ สำหรับห้องผมนะใครใส่ยาว ส่วนใหญ่เป็นเด็กเรียน ผมก็ใส่สั้นนะ 14 นิ้ว
14นิ้วนี่สั้นมากนะ เวลานั่งแหกขานี่เห็นรอดไปถึงไข่เลย555
ไม่เป็นไรครับ ชายล้วน 55 ยกเว้นตอนเจอเด็กคอนเวนต์ต้องนั่งหุบๆหน่อย
1
0
ชาเขียว