พิชิต "นิติราม 2 ปีครึ่ง" ทำอย่างไร ? By วิท นมเย็น
กล่าวนำ
ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณพี่ซาเล้ง พี่ว่าน พี่ส้ม และก็มาย ที่ให้ผมได้มีโอกาสเป็นแอดมินเพจ นิติราม พ่อขุนได้มาทำงานเพื่อสาธารณะครั้งนี้ และขอขอบคุณชาวเพจทุกๆท่าน สำหรับการแบ่งปันข้อมูลจนทำให้ผมสำเร็จเป็น(่ว่าที่)นิติศาสตรบัณฑิตในวันนี้นะครับ
การเขียนบันทึกเพจนี้ ผมหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการวิธีการเรียนเพื่อสำเร็จเป็นนิติศาสตรบัณฑิตด้วยระยะเวลาไม่เกิน 4 ปี ไม่มากก็น้อย และหากว่าบันทึกเพจนี้ผิดพลาดประการใด ผมก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ และข้อความส่วนใดที่ท่านเห็นว่ายาังไม่สมบูรณ์ ก็สามารถติชม หรือบอกให้ผมแก้ไขได้ตลอดนะครับ
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ :D
ประวัติการศึกษา
หัวข้อนี้เขียนเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในตัวผมครับ เดี๋ยวทุกท่านจะสงสัยว่าไปเอาใครที่ไหนมาเขียน มันมั่วหรือเปล่าอะไรยังไง 55555
- จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายศิลป์-คำนวณเกรดเฉลี่ย 3.52
- สะสมหน่วยกิตครบ 140 หน่วยกิตตามหลักสูตรคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยอายุ 17 ปี 11เดือนและ 18 วันซึ่งใช้เวลาในการเรียนจริง 2 ปีครึ่ง
แรงบันดาลใจ
เนื่องจากชีวิตในช่วงม.ต้นเป็นเด็กเกเรทำให้ทางบ้านเสียใจถึงขนาดที่พ่อจะให้เลิกเรียน ส่วนแม่เกิดความเครียดจนจะตรอมใจแต่ไม่ว่าผมจะเกเรอย่างไรก็ตามผมก็ยังยืนยันที่จะทำตามความฝันของผมอยู่เสมอ
เมื่อขึ้นม.4 ผมได้ศึกษาในระบบ Pre-Degree โดยการสนับสนุนของพ่อและผมก็ได้เรียนจนกระทั่งสามารถสะสมหน่วยกิตครบตามหลักสูตรคณะฯ ซึ่งความสำเร็จของผมนั้นก็ได้มาจากเหตุการณ์ในอดีตอันเป็นแรงบันดาลใจนั่นเอง โดยผมถือมาตลอดว่า "ถึงแม้ความดีที่เราทำในวันนี้มิอาจทดแทนหรือลบล้างความผิดอันเลวร้ายในวันวานได้ แต่ในเมื่อเรามีโอกาสได้ทำแล้ว ก็จะต้องทำดีให้ถึงที่สุด"
ในหัวข้อนี้ ผมอยากยกให้ทุกท่านเห็นว่า ผมเองก็ไม่ใช่คนดีหรือคนเก่งอะไร แต่ผมก็สามารถทำสิ่งที่ฝันให้สำเร็จได้ หวังว่าในหัวข้อนี้ จะทำให้หลายๆ ท่านได้ฉุกคิดถึงเรื่องไม่ดี หรือเรื่องต่างๆ เพื่อยกมาเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ทุกท่านนะครับ
การลงทะเบียนเรียน
การลงทะเบียนเรียนนั้ นบางท่านอาจจะเลือกลงโดยยึดจากวันวันสอบบ้าง ตามรหัสวิชาบ้าง ตามอารมณ์ตามใจบ้างหรือแม้กระทั่งลงวิชาง่ายไปก่อนแล้ววิชายากค่อยเก็บทีหลังแต่สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำสำหรับการลงทะเบียนเรียนก็คือ
1.เก็บวิชาพื้นแท่นให้ครบโดยเฉพาะวิชา ENG1001 และ ENG1002 อันเป็นวิชามหาหินของชาวนิติศาสตร์ส่วนใหญ่และวิชาที่แต่ละท่านไม่ถนัดไว้ก่อนหรืออาจกล่าวได้ว่าวิชาใดยาก วิชาใดโหดควรลงไว้เป็นวิชาต้นๆ เนื่องจากเมื่อเราสอบไม่ผ่านในการลงครั้งที่ 1-2 เราก็สามารถลงเร้าหรือวิชาเหล่านั้นไปจนมีความเชี่ยวชาญและสามารถสอบผ่านได้ โดยไม่เป็นการรั้งเวลาที่จะทำให้เราจบช้าลง
ผมขอยกประสบการณ์ของลุงผมมาอธิบายเพื่อประกอบความเข้าใจว่า..."ลุงผมเป็นคนที่ไม่ถนัดวิชาภาษาอังกฤษเขาจึงเก็บวิชาภาษาอังกฤษไว้ลงในปี 4 เทอมสุดท้ายแต่ปรากฏว่า เขาสอบไม่ผ่านในเทอมนั้นเขาจึงต้องลงเร้าหรือจนมาจบเมื่อปี 7 ครึ่ง....นะฮะ !!
2.ควรลงวิชาที่วันสอบของแต่ละวิชามีระยะห่างกัน 2 วันหรือมีเวลาเตรียมตัวในการสอบแต่ละวิชา 2 วันเพราะเวลา 2 วันเป็นเวลาที่เหมาะสมแก่การเตรียมตัวสอบวิชาหนึ่งๆ อันไม่ถือว่าน้อยหรือมากจนเกินไป
3.ควรลงและสอบผ่านวิชาที่อยู่ในหลักสูตรอนุปริญญาก่อนเพื่อที่จะเป็นประโยชน์แก่การสอบใบอนุญาตว่าความก่อนจบปริญญาตรีอันเป็นการร่นระยะเวลาในการเตรียมตัวสอบในชั้นความรู้ที่สูงกว่าได้
4.ควรลงวิชาที่เนื้อหาสาระใกล้เคียงหรืออยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน เพราะอ่านวิชาหนึ่งก็อาจทำให้เราเข้าใจอีกวิชาหนึ่งได้โดยง่าย เนื่องจากอาศัยหลักการและทฤษฎีทางกฎหมายในลักษณะเดียวกัน อีกทั้งท่องตัวบทเพียง 1 มาตราแต่สามารถใช้ตอบข้อสอบได้ถึง 2 วิชาเลยทีเดียว โดยลำดับการลงและวิชาที่ควรลงคู่กันจะกล่าวในหัวข้อต่อไป
5.วิชาที่ควรลงในภาคฤดูร้อนได้แก่ LAW1003 นิติกรรม , LAW3005 วิธีพิจารณาความแพ่ง 1 , LAW3007 วิธีพิจารณาความแพ่ง 2 , LAW3006 วิธีพิจารณาความอาญา 1 , LAW3008 วิธีพิจารณาความอาญา 2 , LAW3010 กฎหมายล้มละลาย และ LAW400 7นิติปรัชญา
ลำดับการลงและวิชาที่ควรลงคู่กัน
1.ลง LAW1001 หลักกฎหมายมหาชนก่อน LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญ และ LAW3012 กฎหมายปกครองเนื่องจาก LAW1001 เป็นพื้นฐานของทั้งสองวิชาและทั้ง 3 วิชานี้เป็นกลุ่มกฎหมายมหาชนเหมือนกัน หากเราแน่นพื้นฐาน LAW1001 จะทำให้เราต่อยอดและสอบผ่าน LAW2004 และ LAW3012 วิชาโหดขั้นเทพได้โดยง่าย
2.LAW1002 หลักกฎหมายเอกชนสามารถลงเพียงตัวเดียวได้เป็นพื้นฐานของกฎหมายแพ่งทุกวิชา
3.LAW1003 นิติกรรมสามารถลงเพียงตัวเดียวได้และถือเป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญของกฎหมายแพ่งทุกวิชาดุจเดียวกัน
4.LAW2001 ทรัพย์ควรลงคู่กับ LAW2005 ซื้อขาย และหรือ LAW4008 กฎหมายที่ดิน
5.LAW2002 หนี้ควรลงคู่กับ LAW2010 ค้ำประกัน เพราะทั้ง 2 วิชามีเนื้อหาที่สัมพันธ์กันเป็นอย่างยิ่ง โดย LAW2002 เป็นพื้นฐานของ LAW2010
6.LAW2003 ละเมิดลงคู่กับ LAW2006 กฎหมายอาญา 1 ก็จะดี เพราะเป็นวิชาที่มีทฤษฎีในเนื้อหาการเรียนเป็นลักษณะเดียวกัน
7.ลง LAW2006 กฎหมายอาญา 1 ก่อนลง LAW3001 กฎหมายอาญา 3 หรืออาจจะลงพร้อมกันก็ได้
8.LAW2007 กฎหมายอาญา 2 เป็นวิชาที่สามารถลงตัวเดียวได้
9.LAW2008 เช่าทรัพย์มีเนื้อหาในเรื่อง "จ้างแรงงาน" เป็นอย่างเดียวกันกับ LAW4004 กฎหมายแรงงาน และยังเป็นพื้นฐานของ LAW4004 อีกด้วย
10.LAW2009 ยืม, LAW2011 ตัวแทน , LAW2012 ประกันภัย , LAW2013 ตั๋วเงินเป็นวิชาที่สามารถลงตัวเดียวได้ เนื่องจากเป็นวิชาที่ไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กับวิชาใดๆ แต่อย่างไรก็ตามควรได้เคยเรียน LAW2002 หนี้และ LAW1003 นิติกรรมมาเสียก่อน
11.LAW3002 หุ้นส่วนฯ สามารถลงตัวเดียวหรืออาจลงคู่กับ LAW3010 กฎหมายล้มทั้งยืน อุ๊ย !!... ล้มละลายก็ได้ เพราะทั้งสองวิชามีความสัมพันธ์กันเพียงเล็กน้อย
12.LAW3003 ครอบครัวมีเนื้อหาที่สัมพันธ์กับ LAW3009 มรดกเป็นอย่างมาก หากลงพร้อมกันจะได้เนื้อหาที่ต่อเนื่อง แต่จะต้องท่องตัวบทกันตาลอยปากห้อยเลยทีเดียว
13.ก่อนลง LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 ต้องเคยเรียน LAW3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1 มาก่อนและก่อนลง LAW3005 ควรเรียนบรรดากฎหมายแพ่งมาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
14.ก่อนลง LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 ต้องเคยเรียน LAW3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 มาก่อนและควรเรียนบรรดากฎหมายอาญามาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
15.ก่อนลง LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรมควรเคยเรียน LAW3005-LAW3008 มาก่อนเพื่อประโยชน์ในการเข้าใจเนื้อหาที่ง่ายขึ้น
16.ก่อนลง LAW3011 กฎหมายลักษณะพยานควรเคยเรียน LAW3005-LAW3008 มาก่อน
17.LAW4001 กฎหมายภาษี , LAW4008 กฎหมายที่ดิน , LAW4009 กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และ LAW4010กฎหมายการค้าระหว่างประเทศเป็นวิชาที่ลงเดี่ยวๆ ได้เป็นวิชาที่ไม่ค่อยสัมพันธ์กับวิชาใดๆมาก
18.LAW4002 ว่าความ และ LAW4005 หลักวิชาชีนักกฎหมายมีเนื้อหาที่สัมพันธ์กันเป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องวิชาชีพนักกฎหมายและการปลูกฝังจิตสำนึกสำหรับวิชาชีพนักกฎหมายดุจเดียวกันแต่หาจำต้องลงคู่กันแต่อย่างใดไม่
19.LAW4003 คดีเมือง และ LAW4006 คดีบุคคลเป็นวิชาในกลุ่มเดียวกัน
20.LAW4007 นิติปรัชญาควรเคยเรียนบรรดากฎหมายทั้ง 37 วิชาก่อนหน้ามาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อที่จะเข้าใจแก่นของกฎหมายอย่างลึกซึ้ง
เทคนิคการเรียน
1.การอ่านหนังสือ
ในเรื่องของการอ่านหนังสือนั้นเราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลาคือ ช่วงที่เรียนปกติและช่วงเตรียมตัวสอบ
สำหรับในช่วงที่เรียนปกติเราสามารถอ่านตำราของสำนักพิมพ์รามได้เลย เพราะเรามีเวลาในอ่านช่วงนี้ถึง 4 เดือนโดยควรอ่านหนังสือให้ได้วันละ 1–2 ชั่วโมงเพื่อขยายความเป็นการสร้างความเข้าใจให้แก่ตัวเองและทบทวนเนื้อหาภายหลังจากที่ฟังบรรยายในชั้นเรียนอีก พร้อมทั้งท่องตัวบทให้ได้วันละ 3–5 มาตรา
ส่วนในช่วงเตรียมตัวสอบนั้นจะใช้เวลาในการเตรียมตัวสอบวิชาละ 2 วันประกอบด้วยการอ่านโน๊ตย่อหรือชีทสรุปเนื้อหาใช้เวลาประมาณ 1 วันครึ่งและเวลาที่เหลือทำข้อสอบเก่าและทวนตัวบท
2.การท่องประมวล
ในการท่องประมวลนั้นแต่ละคนก็อาจมีวิธีการที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่อยากให้ทุกท่านเสริมไปด้วยก็คือ “การเขียน” เพราะการเขียนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำได้ถึง 90% โดยเขียนมาตราละ 5 ครั้ง ถึงแม้จะเป็นวิธีการท่องที่ช้าแต่มันก็ส่งผลให้เรามีตัวบทที่ถูกต้องและแม่นยำติดตัวอยู่ตลอดเวลาอันเป็นประโยชน์แก่การตอบข้อสอบของเรา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของหลักกฎหมายหรือการวินิจฉัยก็ตาม ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากอาจารย์จะให้คะแนนแก่ผู้ที่เขียนตอบโดยใช้ถ้อยคำภาษากฎหมายได้ดีและถ้อยคำภาษากฎหมายเหล่านั้นก็อยู่ในตัวบทที่เราท่องจำนั่นเอง
ประมวลที่ใช้ควรมี 2 เล่มหรือกว่านั้นขึ้นไปครับ คือ เล่มหลักที่ใช้ในการเข้าเรียน ควรใช้เล่มใหญ่ๆ ใหญ่เท่าบ้านไปเลย ยย ย เพื่อที่เราจะได้โน๊ต หรือจดข้อสังเกตต่างๆ ลงในประมวลได้สะดวก และขนาดเล็ก(พกพา) เพื่อที่เวลาเราไปไหนมาไหน เราจะได้พกไปท่องด้วย
3.การเขียนตอบ
1.)การเขียน ต้องเขียนตัวบรรจงขนาดไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไปซึ่งก็ประมาณครึ่งบรรทัดไม่ต้องเว้นบรรทัดเมื่อขึ้นหัวข้อหรือประเด็นใหม่ก็ต้องขึ้นย่อหน้าใหม่อย่าเขียนเป็นย่อหน้าเดียวกัน เพราะเป็นการยากต่อการให้คะแนนของอาจารย์ผู้ตรวจในส่วนของเลขมาตราหากเราไม่แน่ใจก็ไม่ควรเขียนลงไป ถึงแม้ไม่เขียนก็ไม่มีผลใดๆต่อคะแนน ถ้าหากเขียนผิดจะโดนหักคะแนน
2.)การตอบข้อสอบกฎหมาย มีอยู่ 2 ลักษณะได้แก่ การตอบแบบอธิบายและการตอบแบบวินิจฉัย
2.1.)อธิบาย
ข้อสอบประเภทนี้ต้องการวัดทั้งความเข้าใจและความจำของผู้สอบไปด้วยในตัว การตอบข้อสอบอธิบายเราจึงต้องอธิบายขยายความในถ้อยคำต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ประกอบกับการยกตัวอย่างพร้อมอธิบายตัวอย่างนั้นๆ เพื่อแสดงให้อาจารย์ผู้ตรวจเห็นว่า เรามีความเข้าใจในเนื้อหาสาระของหัวข้อนั้นเป็นอย่างดีและ 1 ข้อควรเขียนให้ได้ 2 หน้าเป็นอย่างน้อย
หากถามว่า “2 หน้ามันเยอะไปไหม จะเขียนมากมายขนาดนั้นได้อย่างไร ?” ดังกล่าวแล้วข้างต้น การตอบจะต้องมาจากความเข้าใจหลักการอย่างถ่องแท้ซึ่งเกิดจากการอ่านให้ทะลุปรุโปร่งในเนื้อหาวิชานั้นๆ ยิ่งเราเข้าใจและจดจำเนื้อหาได้มากขึ้นเท่าใด เราก็ย่อมมีสิ่งที่จะเขียนในสมุดคำตอบมากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ดีสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ในการตอบข้อสอบอธิบายก็คือ การยกตัวอย่างประกอบการอธิบายหัวข้อดังที่ได้กล่าวไว้สำหรับส่วนความจำก็คือ จำว่าตัวอย่างมีอะไรบ้างและจะเขียนอธิบายอย่างไรให้มีสำนวนโวหารในการพูดความสัมพันธ์ระหว่างตัวอย่างกับหลักการได้อย่างนุ่มนวลดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเขียนตอบให้ได้ 2 หน้า จึงไม่ถือว่าเป็นการเขียนที่เยอะเกินไปแต่อย่างใด
ข้อสอบอธิบายการเขียนมากเท่าใดย่อมเป็นประโยชน์แก่เรามากเท่านั้นเป็นการแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจ และการตรวจข้อสอบของอาจารย์ผู้ตรวจก็จะหาจุดที่จะให้คะแนนเราได้หลากหลายขึ้น อย่างน้อยที่สุดก็ค่าหมึกปากกา...แต่อย่างไรก็เขียนให้มันเกี่ยวข้องกับที่ข้อสอบถามนะครั บไม่ใช่ซัดไป 2 หน้า เป็นเนื้อเพลงลอยกระทงบ้า งเพลงช้างบ้าง ฯลฯ อะไรแบบนี้ไม่เอานะครับ 5555:D
วิชาที่ข้อสอบเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบแบบอธิบาย ได้แก่ LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน ,LAW1002 หลักกฎหมายเอกชน(ข้อ1) , LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญ , LAW2013 ตั๋วเงิน, LAW3012 กฎหมายปกครอง , LAW4003 คดีเมือง , LAW4005 หลักวิชาชีพ , LAW4006 คดีเมือง , LAW4007 นิติปรัชญา , LAW4009 กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และ LAW4010การค้าระหว่างประเทศ
2.2.)วินิจฉัย
ข้อสอบลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ชาวนิติศาสตร์ถนัดเป็นอย่างมาก ซึ่งผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านสามารถตอบข้อสอบได้แบบขั้นเทพ สำหรับหัวข้อนี้จะขอแนะนำเพียงการเขียนเพื่อเรียกคะแนน อันได้แก่ การเขียนตามโครงสร้างของการตอบกฎหมายการอธิบายหลักกฎหมายก่อนเริ่มวินิจฉัยและการวินิจฉัยแบบล้อตัวบท
-การเขียนตามฟอร์มของการตอบข้อสอบกฎหมาย ซึ่งเข้าไปดูรูปตามลิ้งค์ด้านล่างได้เลยครับผม (เนื่องจากผมทำเป็นรูปลงในบันทึกแล้วมันเล็กจนดูไม่รู้เรื่องจึงต้องใช้วิธีฝากไฟล์น่ะครับ)
ฟอร์มการเขียนตอบ :
http://image.ohozaa.com/view2/xPBKeWPh8phaJSbz
“การอธิบายตัวบท คืออะไร?” ... คือการนำถ้อยคำในตัวบทมาอธิบายให้เป็นภาษาทางการทั่วไปที่สามารถเข้าใจได้โดยง่ายประกอบกับอธิบายข้อยกเว้นไปด้วย
การอธิบายตัวบทเป็นการแสดงออกถึงความเข้าใจหลักและข้อยกเว้นของมาตรานั้นและถึงแม้ว่าจะวินิจฉัยฟันธงผิด แต่เราก็ยังมีคะแนนในส่วนอธิบายหลักนี้อยู่ แต่ถ้าเราวินิจฉัยฟันธงถูกพร้อมทั้งมีการอธิบายตัวบท เช่นนี้ก็ไปกันใหญ่เลยครับ ได้ B+ ถึง A ได้สบายเลยครับ
-การวินิจฉัยแบบล้อตัวบทและการใช้คำว่า “หา...ไม่”
การวินิจฉัยแบบล้อตัวบทถือเป็นศิลป์ในการตอบข้อสอบอย่างยิ่ง เพราะคำในตัวบทล้วนแล้วแต่เป็นถ้อยคำภาษากฎหมายทั้งสิ้นยิ่งเราใช้ถ้อยคำภาษากฎหมายได้ดีเท่าไรเกรด A ก็จะปรากฏแก่เราได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น
การใช้คำว่า “หา...ไม่” จะใช้ต่อเมื่อเป็นการปฏิเสธข้อเท็จจริงก่อนการสรุปผล ในแต่ละประเด็นมักจะใช้ “หา...ไม่”เพียงครั้งเดียวเท่านั้นเพื่อเป็นการเน้นน้ำหนักความสำคัญประนั้นนั้นก่อนสรุปนั่นเอง
-ตัวอย่างการเขียนตอบ (ตามลิ้งค์ด้านล่างได้เลยครับ มี 2 ลิ้งค์ 2 หน้าครับ หากเขียนไม่ดี หรือเขียนแล้วไม่เข้าใจ ต้องขออภัยนะครับผม)
หน้า 1
http://image.ohozaa.com/view2/xPBEiYTmNv4iAwwt
หน้า 2
http://image.ohozaa.com/view2/xPBEmSERUH9m4fML
เนื้อหาที่สำคัญของแต่ละวิชา
ในหัวข้อนี้เป็นเพียงการสรุปเนื้อหาในส่วนที่สำคัญของแต่ละวิชาเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าอาจมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือจะออกข้อสอบในแต่ละเทอมนอกจากนี้อีกนะครับ โดยสามารถติดตามได้โดยการเข้าเรียนนั่นเอง หรือฟังคำบรรยายย้อนหลังนั่นเอง :D
LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน
- ความหมายของกฎหมายมหาชนกฎหมายมหาชนมีอะไรบ้าง , หน่วยงานทางปกครอง ,นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน, เจ้าหน้าที่
- ความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชน
- การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ
- ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชนและหน่วยงานส่วนต่างๆ
- หลักประโยชน์สาธารณะ
- วิวัฒนาการของกฎหมายมหาชน
LAW1002 หลักกฎหมายเอกชน
- มาตรา 4 การใช้และการตีความตัวบทกฎหมายและการอุดช่องว่างของกฎหมาย
- มาตราที่สำคัญ 4, 15 , 19-25 , 28-30 , 32 , 34 และ 61
LAW1003 นิติกรรมและสัญญา
มาตราที่สำคัญ 149-150 , 155-162 , 164-166 , 168-169 , 172 , 175 , 178-181 , 193/3 , 193/5 , 193/9-193/10 , 193/14-193/15 , 193/30 และ 356-372
LAW2001 ทรัพย์
มาตราที่สำคัญ 144-148 , 1299-1300 , 1308 , 1310-1312 , 1316-1318 , 1329-1330 , 1332 , 1336 , 1349-1350 และ 1357-1361
LAW2002 หนี้
มาตราที่สำคัญ 203-204 , 207 , 213 , 215 , 219 , 221-222 , 224 , 226-227 , 237 , 291-299 และ 303-306
LAW2003 ละเมิด
มาตราที่สำคัญ 420 , 423 , 425-426 , 429-430 , 432-436 , 443-446 และ 448
LAW2004 รัฐธรรมนูญ
- ความหมายของรัฐธรรมนูญและกฎหมายรัฐธรรมนูญ
- ลักษณะของรัฐธรรมนูญ
- วิธีการตรารัฐธรรมนูญ
- รูปแบบของรัฐ
- ระบอบการปกครองแบบรัฐสภา, ประธานาธิบดี , กึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภาและทั้ง 3 ระบอบการปกครองมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- ประวัติรัฐธรรมนูญไทย
LAW2005 ซื้อขาย
มาตราที่สำคัญ 453-454 , 456 , 458-462 , 465-466 , 472-477 , 479 , 483-485 , 491-492 , 494-495 , 499 , 501 , 521 , 523 , 525-526 และ 535
LAW2006 อาญา 1
มาตราที่สำคัญ 4-5 , 18 , 59-62 , 68 , 72 , 80-84 และ 86
LAW2007 อาญา 2
มาตราที่สำคัญ 136-138 , 143-149 , 157 , 161 , 172 , 175 , 217 , 219 , 220 , 225 , 264-265 , 276 , 278 , 282 และ 284
LAW2008 เช่าทรัพย์
มาตราที่สำคัญ 537-538 , 544 , 546-548 , 552-554, 564 , 566-570 , 572-575 , 581-583 , 587 , 591 , 596 , 598-599 , 601 และ 605
LAW2009 ยืม
มาตราที่สำคัญ 643-645 , 653-654 , 659-660 , 672-675 และ 677
LAW2010 ค้ำประกัน
มาตราที่สำคัญ 680-681 , 685 , 687-691 , 693-695 , 698 , 702 , 705 , 709 , 711-712 , 714+152 , 716-721 , 725-726 , 728 , 730-733 , 747 , 756 , 758 , 760 , 764 และ 767-769
LAW2011 ตัวแทน
มาตราที่สำคัญ 798 , 801 , 803 , 805-806 ,810-811 , 815-816 , 819 , 840 , 843 และ 845-846
มาตราในวิชาอื่นที่มักจะออกร่วมกับวิชาตัวแทน 152 , 456 , 572 และ 653
LAW2012 ประกันภัย
มาตราที่สำคัญ 861-863 , 865 , 869 , 870 , 877 , 879 , 887 , 889 , 890-891 และ 895
LAW2013 ตั๋วเงิน
มาตราที่สำคัญ 856 , 904-905 , 914 , 917-918 ,921 , 931 , 940 , 967 , 989 , 998 และ 1007
LAW3001 อาญา 3
มาตราที่สำคัญ 288 , 290-291 , 295 , 297 , 301-304 , 309-310 , 313 , 317-319 , 326 , 328-330 , 334 , 336-341 และ 352
LAW3002 หุ้นส่วน
มาตราที่สำคัญ 1038 , 1050-1052 , 1054 , 1066 , 1068 , 1079-1080 , 1082 , 1088 , 1095 , 1113 , 1129 , 1175 , 1194-1195 และ 1220
LAW3003 ครอบครัว
มาตราที่สำคัญ 1436-1437 , 1439-1440 , 1445 , 1452-1454 , 1469 , 1471 , 1473-1474 , 1476 , 1480 , 1488 , 1490 ,1495 , 1498 , 1514-1517 , 1533 , 1536 , 1546-1547 และ 1557
LAW3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
มาตราที่สำคัญ 8-9 , 11 , 13 , 15-16 , 18-19 , 22(1) และ 24-33
LAW3005 วิธีพิจารณาความแพ่ง 1
มาตราที่สำคัญ 4-4ตรี , 5 , 55 , 57 , 58-59 , 145 , 148 , 176 , 177 , 179 , 198ทวิ และ 200-204
LAW3006 วิธีพิจารณาความอาญา 1
มาตราที่สำคัญ 2(4)(7)(8)(10)-(11) , 3-5 , 15 , 18-19 , 22 , 28-30 , 32-33 , 35-39 , 46-47 , 66 , 68-69 , 78-80 , 82 , 84 , 92 , 120-121 , 126 , 134/1-134/4 และ 135
LAW3007 วิธีพิจารณาความแพ่ง 2
มาตราที่สำคัญ 223ทวิ , 223-226 , 227-228 , 229 , 254-255 และ 264
LAW3008 วิธีพิจารณาความอาญา 2
มาตราที่สำคัญ 158 , 162 , 165-166 , 170 , 173 , 176 , 192 และ 218-219
LAW3009 มรดก
มาตราที่สำคัญ 1599-1601 , 1603-1608 , 1612 ,1615 , 1617-1618 , 1620-1624 , 1627 , 1629-1631 , 1633 , 1635 , 1639 และ 1754
LAW3010 ล้มละลาย
มาตราที่สำคัญ 6 มติพิเศษ พิทักษ์ทรัพย์ , 9-10 , 14 , 22 , 24 , 42 , 45-46 , 52 , 56 , 60-63 , 90/8 ,90/12(4)-(7)(8) , 90/17 , 90/27 , 91 , 96 , 131 และ 135
LAW3011 พยาน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตราที่สำคัญ 84 , 84/1 , 90 , 94 , 104 , 112 , 130 , 177 และ 183
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตราที่สำคัญ 15 , 173/2 , 226 , 230 , 232 และ 237ทวิ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่สำคัญ 437-438, 653 และ 1373
LAW3012 ปกครอง
- การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน , การรวมอำนาจ, การแบ่งอำนาจ, การกระจายอำนาจข้อดีและข้อเสียและความเหมือนหรือแตกต่างของทั้ง3 หลักการ
- คำสั่งทางปกครอง
- การปกครองส่วนท้องถิ่น
- บริการสาธารณะ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542 มาตราที่สำคัญ 9, 42 , 49 , 51-52 และ 72
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539 มาตราที่สำคัญ 5 วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง คำสั่งทางปกครอง กฎ เจ้าหน้า, 12-13 , 15-16 , 27 , 30-32 และ 34-35
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2551 มาตราที่สำคัญ 36, 52-55 , 85 , 88 , 90 และ 96-97
พ.ร.บ.เทศบาลพ.ศ.2496 มาตราที่สำคัญ 50
พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ.2537 มาตราที่สำคัญ 47-47ตรี
LAW4001 ภาษี
มาตราที่สำคัญ 39 , 40(1)-(3)(4)(ก)(ข)(ช) (5)(ก) (7)(8) , 41 , 42(1)(9)(10)(11)(13)(14) , 56-56ทวิ , 66 , 47(1)(ก)(ข)(ค)(ง)(ฉ)(ญ)(ฎ) (2)(6)(7) , 47ทวิ , 57-57ทวิ , 65 , 67, 70 และ 76ทวิ
LAW4002 การว่าความ
เขียนคำฟ้องอาญา, เขียนคำฟ้องแพ่ง, เขียนสัญญา, เขียนคำให้การ/แถลง
LAW4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
- มาตราการรีทอร์ซั่น(Retorsion), รีไพรซัล(Reprisal)
- การตั้งข้อสงวน
- การแทรกแซงที่ชอบด้วยกฎหมาย
- ประเภทของข้อพิพาทระหว่างประเทศ
- องค์กรของรัฐในความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
- ข้อพิพาทดินแดนของรัฐ
- การได้ดินแดน
- ความรับผิดชอบของรัฐ
LAW4004 แรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มรองแรงงานพ.ศ.2541 มาตราที่สำคัญ 17, 30 , 32 , 57 , 61-63 และ 118-122
พ.ร.บ.เงินทดแทนพ.ศ.2537 มาตราที่สำคัญ 5 ประสบอันตราย สูญหาย เจ็บป่วย , 13 ,15-16 , 18 และ 20-21
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตราที่สำคัญ 5 สภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อพิพาทแรงงาน การปิดงาน การนัดหยุดงาน , 13 , 16 , 18 , 20 , 31 และ 123
LAW4005 หลักวิชาชีพนักกฎหมาย
- องค์กรวิชาชีพ
- หน้าที่ของนักกฎหมาย
- ความยุติธรรม
ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 ข้อที่สำคัญ 7 , 12-15 และ 18-19
ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการข้อที่สำคัญ 6, 26 , 29 , 31 และ 41-43
LAW4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
- หลักเกณฑ์การส่งผู้ร้ายข้ามแดน
- สลัดอากาศ
- การฉ้อโกงระหว่างประเทศ
- โจรสลัด
พ.ร.บ.สัญชาติพ.ศ.2555 มาตราที่สำคัญ 5 , 7ทวิ , 10 และ 11 (ในการใช้สอบจะต้องใช้ฉบับอื่นๆประกอบด้วยนะครับ)
พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพ.ศ.2481 มาตราที่สำคัญ 4-11
ประกาศคณะปฎิวัติฉบับ 337 ข้อ 1-3
LAW4007 นิติปรัชญา
- ปรัชญากฎหมายธรรมชาติ
- ทฤษฎีปฏิฐานนิยม
- ทฤษฎีนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา
- การนับถือกฎหมายและการดื้อแพ่งของ
- หลักนิติธรรม
- หลักกฎหมายยุติธรรม
- หลักคุณธรรมในปรัชญากฎหมายไทย
LAW4008 กฎหมายที่ดิน
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตราที่สำคัญ 4ทวิ, 27ตรี ,58-58ทวิ , 59-59ทวิ , 71-72 และ 83
พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497 มาตราที่สำคัญ 8วรรคสอง และ 9
LAW4009 ทรัพย์สินทางปัญญา
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ.2537 มาตราที่สำคัญ 3 วรรณกรรม ศิลปกรรม งานแพร่เสียงแพร่ภาพ ทำซ้ำ การโฆษณา , 6 , 8-11 , 15-18 , 19 , 21-22 , 27-31 และ 32(1)(2)(7)
พ.ร.บ.สิทธิบัตรพ.ศ.2522 มาตราที่สำคัญ 3 สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร การประดิษฐ์ กรรมวิธี แบบผลิตภัณฑ์ , 5-8 , 9(5) , 10-11 , 56-58 , 65ทวิ และ 65ตรี
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534 มาตราที่สำคัญ 4 เครื่องหมาย เครื่องหมายการค้า ผู้ได้รับอนุญาต , 6 , 8 , 10 , 44 และ 46
LAW4010 การค้าระหว่างประเทศ
- Incoterms
- Letter of Credits
- การชำระเงินในทางการค้าระหว่างประเทศโดยไม่ต้องผ่านธนาคาร
- การเรียกเก็บเงินตามตั๋วธนาคาร
พ.ร.บการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตราที่สำคัญ 3 หน่วยการขนส่ง , 8-11 , 12 , 14-17 , 22 , 28 , 39 , 41 , 43-45 , 48 , 51 , 52(1)(9)(10)(13) และ 58-60
การสอบ E-Testing
คือการนำวิชาพื้นฐานที่ได้ลงไว้เทอมนั้นมาลงทะเบียนสอบโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเราสารถเลือกวันและเวลาสอบเองได้ และข้อดีของการสอบ E-Testing ก็คือ รู้เกรดทันทีที่สอบเสร็จและถึงแม้ว่าเราจะสอบ E-Testing ไม่ผ่านเราก็ยังสามารถที่จะสอบในวันเวลาสอบตามปกติที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ใน มร.30 ตามเดิมได้ด้วยแต่ E-Testing จะสอบได้เฉพาะวิชาปรนัยที่มหาวิทยาลัยกำหนด
สำหรับน้องๆ Pre-Degree
การเรียนควบมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลยสำหรับเด็กม.ปลายอย่างพวกเราแต่มันก็หาใช่ยากแต่อย่างใดไม่ การเรียนให้สบายและประสบความสำเร็จสามารถกระทำได้โดยเรียนแบบ “ไม่แบกโลก” อย่าเอาโลกทั้งใบมาไว้ที่เราคนเดียวอย่าเก็บสิ่งต่างๆมาเป็นปัญหาแก่ชีวิตอันจะก่อให้เกิดความเครียดและเป็นอุปสรรคในการเรียนของเราต่อไปอีก
งานที่โรงเรียน ก็ควรแบ่งกับเพื่อนทำ ไม่ใช่ว่าเราจะเอาุทุกอย่าง ต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง งานใดเราถนัดเราก็สามารถทำเอง และนำของเพื่อนมาช่วยทำให้พวกเขา เพราะเมื่อถึงเวลาที่งานใดเราไม่ถนัด เราก็ยังสามารถแบ่งให้เพื่อนเหล่านั้นทำให้เราได้เช่นกัน เป็นการประหยัดเวลา และแบ่งเบาภาระในการวิตกกังวลได้นะครับ
ส่วนในเรื่องการสอบที่โรงเรียน วิชาใดที่เราถนัดเราก็อ่านวิชานั้นให้หนักๆ ส่วนวิชาไม่ถนัดก็ดูแค่คร่าวๆ และแบ่งให้เพื่อนที่ถนัดวิชานั้นๆ ดูเพื่อเตรียมสอบ และเมื่อถึงเวลาก่อนสอบ ก็นำความรู้ที่ได้จากการอ่านมาแบ่งปันกัน โดยการติวนั่น เพราะคนที่อ่านย่อมรู้ว่าจุดใดคุณครูจะออกข้อสอบ และเขาสามารถบอกเราให้ตอบข้อสอบได้ วิธีนี้ช่วยลดความเครียดในการอ่านหนังสือให้เราได้เยอะเลยทีเดียว เพียงเท่านี้เราก็สามารถได้ความรู้ที่จะใช้สอบในห้องเรียนโดยง่ายแล้วครับ ^_^