สงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนที่ 5 : ยุทธวิธีทางการทหาร อาวุธ และการสังหารหมู่โดยนาซี
สงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ ๕: ยุทธวิธีทางการทหาร อาวุธ และการสังหารหมู่โดยนาซี (World War II: Tactics, Weapons, and the Holocaust)
เทคโนโลยีและอุดมการณ์ใหม่ๆ มากมายได้ปรากฏขึ้นในการสู้รบครั้งนี้ ซึ่งทำให้สงครามโลกครั้งที่สองเป็นสงครามที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ วันนี้เราจะมาดูกันว่ายุทธวิธีทางทหารรูปแบบใดบ้างที่ถูกนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง
รถถังแพนเซอร์ ขณะปฏิบัติการในสมรภูมิทะเลทราย
สงครามเบ็ดเสร็จ (Total War)
แนวความคิดเรื่องสงครามเบ็ดเสร็จทำให้พลเมืองต้องเสี่ยงชีวิตในการต่อสู้ด้วย แทนที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ทางทหารอย่างเดียว
การต่อสู้ทางอากาศ (Air Warfare)
ทั้งฝ่ายอักษะและฝ่ายสัมพันธมิตรต่างให้ความสำคัญกับการต่อสู้ทางอากาศในสงครามครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายมีวิธีที่ต่างกันออกไป
กองทัพอากาศของฝ่ายนาซีเยอรมันมีชื่อเรียกว่า หน่วยลุฟวาฟเฟ่ (The Luftwaffe) ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงแรกของสงคราม ในช่วงสองปีแรกของการต่อสู้ หน่วยลุฟวาฟเฟ่ได้ใช้ปฏิบัติการบลิทซ์ครีก * (Blitzkrieg Operation) ในการโจมตีและทำลายขวัญกำลังใจของฝ่ายศัตรู หน่วยพลปืนที่อยู่ในพื้นที่จะได้รับการสนับสนุนจากทัพบกและทัพอากาศ และเข้าโจมตีร่วมกันอย่างเป็นระบบ
สตูก้า เครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิดแห่งกองทัพอากาศเยอรมัน ขณะโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน
เนื่องจากการจู่โจมในรูปแบบนี้ต้องอาศัยความเร็วและการไม่ทันตั้งตัวของศัตรู ปฏิบัติการบลิทซ์ครีก จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ฝ่ายตรงข้ามหวาดกลัว นอกจากนี้ ฝ่ายเยอรมันยังใช้เสียงไซเรนเพื่อเพิ่มความหวาดผวาในหมู่ศัตรูด้วย ปฏิบัติการบลิทซ์ครีก ต้องการให้ศัตรูลนลานจนเกิดข้อผิดพลาด ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันตัวเองลดลง เนื่องจากตกอยู่ในความหวาดกลัวและสับสน ฝ่ายเยอรมันใช้ประโยชน์จากวิธีนี้เมื่อยกทัพเข้ารุกรานหลายพื้นที่ เช่นประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ในปีค.ศ. ๑๙๔๐
ถึงแม้จะประสบความสำเร็จอยู่หลายครั้ง สุดท้ายแล้วหน่วยลุฟวาฟเฟ่กลับไม่สามารถปฏิบัติการตามกลยุทธ์ได้ และขาดแคลนเชื้อเพลิงเพื่อที่จะปฏิบัติการต่อไป สิ่งนี้ทำให้หน่วยล้มเหลว
ยู-โบทของฝ่ายเยอรมัน ** (German U-Boats)
ในขณะเดียวกัน การต่อสู้ทางน้ำได้กลายมาเป็นการคุกคามสำคัญ เนื่องจากกองทัพเรือเยอรมันหรือหน่วย ครีกส์มารีน (Kriegsmarine) ได้นำยู-โบทมาใช้ในการต่อสู้ เรือดำน้ำนี้สร้างความเสียหายต่อเรือของฝ่ายสัมพันทธมิตรได้อย่างมาก และได้จมเรือฝ่ายสัมพันธมิตรลงถึง ๓,๐๐๐ ลำ อาวุธหลักที่ใช้บนเรือยู-โบทคือตอร์ปิโด และการพัฒนาอาวุธชนิดนี้ตลอดช่วงสงคราม ทำให้เรือรบชนิดนี้ยิ่งอันตรายมากขึ้นไปอีก
เรืออู ขณะกำลังลอยลำขึ้นมาจากใต้มหาสมุทร
ค่ายกักกัน (Concentration Camps)
อีกหนึ่งยุทธวิธีที่พรรคเยอรมันนาซีใช้เพื่อกำจัดผู้คนที่ฝ่ายนาซีเชื่อว่าต่ำกว่าคือบรรดาค่ายกักกัน ถึงแม้ว่าค่ายกักกันเหล่านี้จะมีอยู่แล้วตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. ๑๙๓๐ ฝ่ายนาซีได้ขยายค่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้นในช่วงปีแรกๆของสงคราม นักโทษที่อยู่ในค่ายถูกตัดสินว่ามีความผิดโดยไม่ผ่านกระบวนการทางกฎหมายใด ๆ ซึ่งนักโทษเหล่านี้มีทั้งชาวยิว ยิปซี เหล่าพยานพระยะโฮวา (Jehovahs Witnesses) นักโทษทางการเมือง อาชญากร คอมมิวนิสต์ และพวกรักร่วมเพศ รวมไปถึงผู้พิการทางร่างกายและจิตใจด้วย
สภาพความเป็นอยู่ในค่ายกักกันนั้นเลวร้ายมาก และมีนักโทษจำนวนมากที่ต้องเสียชีวิตจากโรคร้ายและอาการขาดสารอาหาร ในขณะเดียวกัน มีหลายคนต้องตกเป็นทาสและตกเป็นตัวทดลองทางการแพทย์ หรือไม่ก็ถูกทรมาน
สภาพความเป็นอยู่ของนักโทษชาวยิวที่ค่ายบูเชนวาร์ด
เมื่อถึงปี ค.ศ. ๑๙๔๒ พรรคนาซีได้จัดการกับชาวยิว โดยรวบรวมพลเมืองชาวยิวทั่วยุโรปมาไว้ในค่ายกักกันและประหารชีวิตหมู่ชาวยิวทั้งหมด ชาวยิวหลายคนที่อยู่ในค่ายกักกันอยู่แล้วถูกส่งไปในห้องรมแก๊ซพิษ การสังหารหมู่นี้รู้จักกันในภายหลังในชื่อ The Holocaust *** (การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซีในสงครามโลกครั้งที่สอง)
การมีอยู่ของค่ายกักกันเหล่านี้ ได้รับการพิสูจน์เมื่อฤดูใบไม้ผลิของ ค.ศ. ๑๙๔๕ เมื่อกองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ค้นพบความจริง ก่อนหน้านั้น คนส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าสิ่งชั่วร้ายเช่นนี้จะมีอยู่จริง ถึงแม้จะมีข่าวลือเกี่ยวกับค่ายกักกันอยู่ก็ตาม
คาดกันว่ามีประชากรกว่า ๑๑ ล้านคนถูกกักตัวอยู่ในค่ายกักกันของฝ่ายนาซี และในจำนวนนั้น กว่าหกล้านคนที่ถูกฆ่าเป็นชาวยิว
ภาพถ่ายของนักบิน "กามิกาเซ่"
การโจมตีกามิกาเซ (Kamikaze Attack)
จักรวรรดิญี่ปุ่นก็ใช้ยุทธวิธีสุดขั้วในสงครามครั้งนี้เช่นกัน การโจมตีแบบกามิกาเซเริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๔๔ นี่เป็นการโจมตีแบบพลีชีพ ที่นักบินจะพยายามจมกองเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
เครื่องบินที่ใช้ในการโจมตีรูปแบบนี้จะติดระเบิดไว้และเติมเชื้อเพลิงไว้เกินกว่าที่จำเป็น เพื่อทำให้การระเบิดสร้างความเสียหายให้ได้มากที่สุด ฝ่ายญี่ปุ่นเห็นว่าการสูญเสียยุทโธปกรณ์และนักบินนั้นคุ้มค่ากับการที่จะสามารถจมเรือของฝ่ายศัตรูได้เป็นจำนวนมาก
การโจมตีในรูปแบบนี้สร้างความเสียหายได้มากที่สุดในสมรภูมิโอกินาวา โดยสามารถทำให้ทหารในกองทัพเรือของสหรัฐฯ เสียชีวิตไปกว่า ๕,๐๐๐ คน ในภาพรวม มีเรือรบของฝ่ายสัมพันธมิตรกว่า ๓,๐๐๐ ลำเสียหายด้วยการโจมตีวิธีนี้
เรือเอกยูกิโอะ เซกิ นำเครื่องบินซีโร่ปักหัวชนเรือบรรทุกเครื่องบินเซนท์โลว์ ซึ่งเสียหายอย่างหนักและจมลงในเวลาต่อมา
ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะคับ ไว้จะหามาลงกันให้อ่านเรื่อยๆนะคับสำหรับคนที่ชื่นชอบประวัติศาตร์แนวนี้
เครดิต สงครามโลก ฉบับแฟนพันธุ์แท้
https://www.facebook.com/WorldWarFanPanTae?fref=ts
ww 2 ตอนที่ 1 : จุดกำเนิด
http://www.soccersuck.com/boards/topic/890341
ww 2 ตอนที่ 2 : ประเทศผู้เข้าร่วมสงคราม
http://www.soccersuck.com/boards/topic/890858/1#22614944
ww 2 ตอนที่ 3.1 : สมรภูมิรบสำคัญ
http://www.soccersuck.com/boards/topic/891618
ww 2 ตอนที่ 3.2 : สมรภูมิรบสำคัญ
http://www.soccersuck.com/boards/topic/892393
ww 2 ตอนที่ 4 : การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น
http://www.soccersuck.com/boards/topic/893062