ศาลสูงสุด UK ฟันธง! หญิงข้ามเพศไม่ใช่ “ผู้หญิง” ตามกฎหมาย
ศาลสูงสุด UK ตัดสินว่า ”ผู้หญิง“ คือเพศหญิงโดยกำเนิดเท่านั้น!

:
1- นี่คือข่าวใหญ่มากกกกในสหราชอาณาจักร (UK) และอาจส่งผลกระทบต่อหญิงข้ามเพศ เมื่อศาลสูงสุดนิยามว่า
“ผู้หญิง” หมายถึง เพศหญิงตามชีววิทยาเท่านั้น
2- คดีนี้ต่อสู้กันนานมาก และทำให้คน UK ทะเลาะกันมาหลายปี แอดจะเล่าคดีนี้ให้ฟังค่ะ แต่ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับกฎหมาย 2 ฉบับที่บังคับใช้ใน UK (อังกฤษ, สกอตแลนด์, เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) ก่อน
—————
พ.ร.บ.การรับรองเพศ 2004
(Gender Recognition Act 2004)
:
3- นี่คือกฎหมายที่เปิดทางให้คน UK เปลี่ยนเพศตามกฎหมายได้ เช่น เปลี่ยนจากชายเป็นหญิง, เปลี่ยนจากหญิงเป็นชาย โดยการยื่นขอ
“ใบรับรองการเปลี่ยนเพศ” (GRC) พอมีใบนี้เพศใหม่ของเราก็จะไปอยู่ในเอกสารราชการทั้งหมด ตั้งแต่สูติบัตร พาสปอร์ต ยันใบสมรส
4- แต่จะขอเปลี่ยนเพศได้ก็มีเงื่อนไขหลายอย่าง เช่น ต้องอายุ 18 ปีขึ้นไป, ใช้ชีวิตในเพศใหม่มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี, คำวินิจฉัยทางการแพทย์ ฯลฯ
5- ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีดราม่าเกี่ยวกับกฎหมายนี้หลายครั้ง เพราะสกอตแลนด์ต้องการแก้กฎหมายให้ขอใบ GRC ง่ายขึ้น เช่น ตัดเงื่อนไขการวินิจฉัยแพทย์ออก, ลดอายุขั้นต่ำเหลือ 16 ปี ทำให้มีหลายฝ่ายคัดค้านอย่างรุนแรง
6- หนึ่งในคนที่ออกมาฟาดจนเป็นข่าวก็คือนักเขียนดัง เจ.เค. โรว์ลิ่ง เพราะเธอมองว่าการแก้กฎหมายนี้อาจเปิดช่องให้ ‘ผู้ชายที่ยังมีร่างกายเป็นชาย’ เข้ามาใช้พื้นที่ปลอดภัยของผู้หญิง และกังวลว่าเยาวชนอาจยังเด็กเกินไปที่จะตัดสินใจเปลี่ยนเพศ
—————
พ.ร.บ.ความเท่าเทียม 2010
(Equality Act 2010)
:
7- นี่คือกฎหมายที่ต้องการส่งเสริมความเท่าเทียม และห้ามการเลือกปฏิบัติในหลายมิติ รวมถึงเพศ อายุ เชื้อชาติ และเพศสภาพ
8- กฎหมายนี้นิยาม
“เพศสภาพ” ว่ารวมถึงคนที่กำลังเปลี่ยนเพศ, ตั้งใจจะเปลี่ยนเพศ หรือเปลี่ยนเพศแล้ว ก็ต้องได้รับความคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติเช่นเดียวกับเพศชาย-เพศหญิง
—————
จุดเริ่มต้นของคดี
:
9- ทีนี้จะเล่าคดีนะคะ… เรื่องนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 2018 เมื่อสกอตแลนด์ออกกฎหมายใหม่ชื่อ
“พ.ร.บ.ตัวแทนตามเพศในคณะกรรมการสาธารณะ" เพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในคณะกรรมการสาธารณะเป็น 50%
10- ทีนี้รัฐบาลสกอตแลนด์ตีความว่า
“ผู้หญิง” ต้องรวมถึงหญิงข้ามเพศที่มีใบ GRC ด้วย โดยยก พ.ร.บ.การรับรองเพศ 2004 มาอ้าง
11- แต่กลุ่มสิทธิสตรี For Women Scotland (FWS) โต้แย้งว่า
“ผู้หญิง” ในโควตา 50% นี้ต้องเป็นเพศหญิงโดยกำเนิดเท่านั้น ถ้ารวมหญิงข้ามเพศด้วย ดีไม่ดีจะไม่มีผู้หญิงโดยกำเนิดอยู่ในโควตานี้เลยสักคน
12- FWS เลยยื่นฟ้องต่อศาลสกอตแลนด์ ผลปรากฏว่าในปี 2022 FWS แพ้ เพราะศาลนิยาม
“ผู้หญิง” ว่าไม่ได้จำกัดที่เพศกำเนิด คำว่าผู้หญิงจึงรวมถึงหญิงข้ามเพศที่มีใบ GRC ด้วย
13- FWS เลยยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลสูงสุดของ UK ในกรุงลอนดอน ขอให้ตีความคำว่า
“ผู้หญิง” (Woman) และ
“เพศ” (Sex) ใน พ.ร.บ.ความเท่าเทียม 2010
—————
คำตัดสินของศาล
:
14- วันที่ 16 เมษายน 2025 ศาลสูงสุดของ UK ตัดสินว่า
“ผู้หญิง” และ “เพศ” ใน พ.ร.บ.ความเท่าเทียม 2010 หมายถึงเพศหญิงทางชีววิทยา หรือเพศที่ติดตัวมาแต่กำเนิดเท่านั้น จึงไม่ครอบคลุมหญิงข้ามเพศแม้จะมีใบ GRC ก็ตาม
15- คำตัดสินนี้จะส่งผลต่อสถานที่ที่ให้บริการโดยแยกตามเพศด้วย เช่น
◾️ หอผู้ป่วยหญิงในโรงพยาบาล
◾️ เรือนจำหญิง
◾️ ศูนย์พักพิงสำหรับผู้หญิงที่ถูกทำร้าย
◾️ สโมสรกีฬาและการแข่งขันกีฬาหญิง
◾️ ห้องน้ำหญิง
◾️ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า
และมีบางแห่งเริ่มพิจารณาปรับนโยบายให้สอดคล้องกับคำตัดสินของศาลแล้ว
—————
ปฏิกิริยาจากฝ่ายที่เห็นด้วย
:
16- เรื่องนี้เป็นข่าวใหญ่มาก และสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมทันที ฝ่ายที่เห็นด้วย เช่น
◾️ เจ.เค. โรว์ลิ่ง ยกย่องว่าเป็นชัยชนะในการปกป้องสิทธิของผู้หญิงและเด็กหญิงทั่วสหราชอาณาจักร
◾️
กลุ่มเลสเบี้ยน LGB Alliance ออกมาเฉลิมฉลองคำตัดสิน ระบุว่านี่เป็นชัยชนะของชีววิทยาและเลสเบี้ยน เนื่องจากที่ผ่านมามีเพศชายโดยกำเนิด พอข้ามเพศมาเป็นหญิงแล้วนิยามตัวเองว่าเป็นเลสเบี้ยน เพราะตนชอบผู้หญิง แต่คำตัดสินของศาลชี้ชัดแล้วว่า
มีแต่เพศหญิงโดยกำเนิดเท่านั้นที่เป็นเลสเบี้ยนได้
—————
ปฏิกิริยาจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย
:
17- ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็แสดงความผิดหวัง และมองว่า UK กำลังเดินถอยหลังลงคลอง
◾️ Amnesty กังวลว่าคำตัดสินนี้จะทำให้หญิงข้ามเพศถูกกีดกัน ถูกลดทอนสิทธิ ถูกเลือกปฏิบัติ และอาจไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวัน
◾️ กลุ่ม TransActual UK บอกว่า หากหญิงข้ามเพศไม่สามารถอยู่ในพื้นที่เฉพาะสำหรับผู้หญิงได้ ก็หมายความว่าเราไม่สามารถมีส่วนร่วมในสังคมได้
18- อย่างไรก็ตาม ศาลขอให้ไม่มองว่าคำตัดสินนี้เป็น
“ชัยชนะของฝ่ายหนึ่งเหนืออีกฝ่าย” และย้ำว่า พ.ร.บ.ความเท่าเทียม 2010 ยังคงคุ้มครองความเท่าเทียมของหญิงข้ามเพศ แต่ไม่ใช่ในฐานะผู้หญิง…แต่ในฐานะผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพศ
Cr.
https://www.facebook.com/share/p/16N7gX8foy/