[RE: อาจารย์วิศวฯ เคยบอก เพราะมีองค์ความรู้มาก ทำให้ตึกสมัยนี้เปราะบางกว่าสมัยก่อน]
เพราะหลักวิศวกรรม ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ไหนๆก็คือเรื่อง Efficiency ครับ
วิทยาศาสตร์ทำให้สิ่งของเกิดได้จริง แต่วิศวกรรมทำให้มันคุ้มค่าพอในการทำ
อย่างสมมติเรื่องสร้างบ้าน วิทยาศาสตร์อาจจะทำให้คุณได้บ้านแข็งแรงกันได้ทุกอย่าง แต่คุณต้องจ่าย 100 ล้าน
วิศวกรรมจะลดส่วนเกินที่ไม่จำเป็นออก กันได้ 8/10 แต่คุณจ่ายแค่ 10 ล้าน มันคือประมาณนี้
บ้านสมัยก่อนก็เช่นกัน เขาออกแบบมาให้ทนอยู่ได้เป็น 20-30 ปี (ไม่นับเรื่องพื้นทรุดนะ อันนี้ศาสตร์พื้นทรุดมันมาตอนหลัง) แผ่นดินไหวผมมองว่าเขาคงเห็นเคสในญปที่แผ่นดินไหวแรงๆในโกเบอะไรพวกนี้แล้วคนตายเป็นร้อยเป็นพัน (หรือหมื่นจำไม่ได้ละ) เขาก็เลยมีเผื่อไว้
แต่ก็อย่างที่วิศวกรหลายๆคนพูด (แม้แต่อาจารย์ชัชฯที่เป็นอาจารย์สอนวิศวะโยธา) คือบ้านเรามันเจอแผ่นดินไหวครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่อะ
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_earthquakes_in_Thailand
คือครั้งนี้มันแรงสุดละมั้ง แรงเฉียดๆครั้งนี้ก็ปี 2532 นู่น หรือถ้าจะเอาแรงกว่าก็นู่นอะจะ 200 ปีแล้วมั้ง
เรื่องการสร้างเพื่อรองรับแผ่นดินไหวก็บังคับในแบบแปลนตั้งแต่ปี 50 แล้ว
ปัญหาของบ้านเราจริงๆคือไม่ใช่เรื่องที่ว่า "ออกแบบเผื่อไว้รึเปล่า" แต่เป็น "สร้างแม่งได้สเปคจริงๆรึเปล่า"
คือแม่งอุบอิ๊บกินกันลดสเปคอะไรพวกนี้ประจำ คอนโดใหม่ๆบ้านใหม่ๆงี้ทำไมอาชีพคนตรวจบ้านมันถึงงอกเงย (เพื่อนผมโยธาบางคนเลิกเป็นวิศวะคุมงานตามไซต์แล้ว ไปรับงานตรวจบ้านแม่งรวยกว่าเยอะ)
ก็เพราะแม่งชุ่ยไง ทั้งช่างทั้งผู้รับเหมา จะแดกอย่างเดียว บางโครงการคุมเข้มจัดๆมันก็ได้คุณภาพ แต่ไอหลายโครงการก็อย่างที่เห็น บางทีแม่งผ่านไปไม่กี่ปีพื้นยังทรุดเลย แผ่นดินไหวถามจริงแม่งไม่ถล่มมาตายก็บุญแล้ว