[RE: (รูปเยอะ) โหห...ยอมใจเลย อากาศแบบนี้ยังมาวิ่งกันอีก]
themasksocccer พิมพ์ว่า:
แฟล็ปแจ็ค ยอดนักผจญภัย พิมพ์ว่า:
themasksocccer พิมพ์ว่า:
มีข้อมูลไหมคะ
ว่าออกไปวิ่งกลางแจ้ง จะเป็นอันตรายกว่าอยู่ในบ้านเฉยๆ
**ในสถานการณ์ฝุ่นปกคลุมทั้งประเทศ**
คนที่ป่วยหายใจเป็นเลือด ส่วนใหญ่ก็อยู่ในอาคารก็เป็นกันได้
แต่กลับคนที่ออกไปทำกิจกรรมถายนอก ออกไปทำงานกลับไม่เป็น
ฝุ่นอาจจะเป็นสาเหตุของมะเร็ง หรือไม่ได้เป็นมะเร็งก็ได้ เราไม่เคยมีข้อสรุปเรื่องนี้ ทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาข้อสรุป เพียงแต่สันนิษฐานว่าเป็นสาเหตุได้
การไปคอมเม้นว่าคนนั้นโง่ หรือไม่โง่คอมเม้นมันอาจจะง่าย แต่มีข้อมูลสนับสนุนไหมคะ
คือสังคมเรามันจะสุดโต่งไปทั้งหมด
อีกฝั่งอ้างว่าอย่าไปรับพลังงานลบ หรือของเสียเข้าร่ายกาย
อีกฝั่งก็บอกว่าร่างกายเรามีกระบวนการขับของเสีย
มันอาจจะถูกทั้งคู่ก็ได้ ถ้ามนุษย์เริ่มหายใจไม่ได้ ออกซิเจ็นน้อยเกินไป ร่างกายจะรู้ตัวเอง ว่าที่ตรงนั้นอยู่ไม่ได้ ต้องหนี ตามธรรมชาติสร้างสรรค์ ให้ร่างกายมนุษย์ปรับตัวได้
คนเหนือ % ป่วยมะเร็งปอดมากที่สุดในประเทศ อันนี้ชัดเจนพอไหมครับ
อยากวิ่งดมฝุ่นก็วิ่งไป แต่อย่าบิดเบือนว่ามันไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ
ไม่ได้เบียวค่ะ ไม่อยากขอคำอนุมาน
ด้วยสถานะที่ ถ้าสภาพแวดล้อมมีฝุ่นปกคลุมบรรยากาศ
การที่อยู่นอกอาคาร กับในอาคาร ส่งผลให้ป่วยมากกว่าจริงหรือไม่
ต่อมาเราสามารถสรุปได้จริงๆใช่ไหม ว่ามะเร็งปอดมีสาเหตุเดียว หรือหลักมาจากฝุ่น
เพราะเขตที่เผาเยอะที่สุด ไม่ใช่ภูมิภาคเหนือนะคะ เป็นภาคตะวันตก แต่โอเคแหละภาคเหนือได้รับผลกระทบมาจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่ถ้าบอกเป็นปัจจัยหลักทำไม ภาคอื่นที่มีฝุ่นเยอะเหมือนกัน เผาเยอะกว่าถึงผลกระทบไม่เท่ากัน
สรุป
1 ในสภาพอากาศเดียวกัน ข้างนอกกับข้างในได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
2 เรายังไม่มีข้อสรุปว่ามะเร็งมาจากสาเหตุใด เหมารวมทั้งหมดคงไม่ได้ เพราะถ้ามันใช่ที่อื่นก็ต้องเป็นด้วยค่ะ
ไม่ได้บอกว่าการรับสารพิษเข้าไปนานๆไม่เป็นอะไร แต่ไม่อยากให้สรุปไปว่าการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเรื่องที่ควรไปด่าเขาโง่ ถ้าจะด่าควรมีข้อมูลที่มั่นใจว่าถูกต้อง คนอื่นทำไม่ถูกต้องมายืนยัน
ตัวอย่างงานวิจัย
Wang, Y., et al. (2021). "Effect of outdoor and indoor particulate matter (PM2.5) on respiratory health in urban China." Science of the Total Environment, 746, 141167.
งานวิจัยนี้พบว่า PM2.5 จากภายนอกอาคารมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนมากกว่า เนื่องจากความเข้มข้นของมลภาวะในอากาศที่สูงขึ้นในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น
Zhang, L., et al. (2019). "Outdoor air pollution and cardiovascular disease: A review of epidemiological studies." Science of the Total Environment, 686, 1284-1297.
การศึกษานี้เน้นที่ผลกระทบจากมลภาวะภายนอกอาคารที่มีต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และแสดงให้เห็นว่า PM2.5 มีผลกระทบมากที่สุดในผู้ที่อยู่กลางแจ้ง