ซุปตาร์ยูโร
Status:
: 0 ใบ
: 0 ใบ
เข้าร่วม: 23 Jun 2009
ตอบ: 9497
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed Jan 15, 2025 09:00
[RE: ไทยควรมี ENTERTAINMENT COMPLEX หรือไม่]
โดยตามข้อมูลที่รัฐบาลนำเสนอ ระบุว่า “THAILAND ENTERTAINMENT COMPLEX สถานบันเทิงครบวงจร” พร้อมอธิบายว่า เป็นนโยบายที่ 7 รัฐบาลจะเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เพิ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Destinations) เช่น สวนน้ำ สวนสนุก ศูนย์การค้า สถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) นำคอนเสิร์ต เทศกาล และการแข่งขันกีฬาระดับโลกมาจัดในประเทศไทย ตามคำแถลงนโยบาย ของ คณะรัฐมนตรีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2567
สถานบันเทิงครบวงจร คืออะไร?
ENTERTAINMENT COMPLEX สถานบันเทิงครบวงจร คือ เขตพัฒนาพิเศษเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวของครอบครัวระดับโลกนำเสนอประสบการณ์หลากหลายรูปแบบ มุ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อสูง
ทำไมประเทศไทยควรมีสถานบันเทิงครบวงจร
เพราะเป็นแนวทางสำคัญ เพื่อยกระดับในการพัฒนาศักยภาพของประเทศ ในหลากหลายมิติ เช่น กระตุ้นเศรษฐกิจ เสริมการท่องเที่ยว การสร้างงาน ที่นานาประเทศเลือกใช้และประสบความสำเร็จอย่างสูง และกำลังจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต เช่น ที่โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น และกลุ่ม UAE
มิติการกระตุ้นเศรษฐกิจ
เกิดการลงทุนจริงเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 119,000 ถึง 238,000 ล้านบาท ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าประเทศเพิ่ม ส่งผลต่อเศรษฐกิจวงกว้าง
มิติการส่งเสริมการท่องเที่ยว
อาจเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5% ถึง 10% ต่อปี กระตุ้นการใช้จ่ายช่วง low season เพิ่ม 13% ทำให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทั้งปี นอกจากนั้นยังเพิ่มการใช้จ่าย 66,043 บาท / คน / ทริป จาก 44,000 บาท/คน/ทริป
มิติการสร้างงาน
สร้างการจ้างงานได้อย่างน้อย 9,000 - 15,300 ตำแหน่ง (เทียบเท่ากับการเพิ่มขึ้นของอัตราการจ้างงานคนไทย 0.03-0.05%)นอกจากนั้นยังพัฒนาศักยภาพแรงงานในประเทศ และการจ้างงานจากธุรกิจต่อเนื่อง รวมทั้งเพิ่มการจ้างงานโดยอ้อม (เช่น งานด้านการออกแบบ) การจ้างงานโดยชักนำ (เช่น การขนส่งสิ่งของ การโดยสาร) การจ้างงานเพิ่มเติมในสถานบันเทิงครบวงจร และธุรกิจโดยรอบรวมไปถึงตำแหน่งระดับบริหารจัดการ
มิติการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ
สร้างรายได้ให้รัฐประมาณ 12,037-39,427 ล้านบาทต่อปี
แบ่งเป็นรายได้ภาษีจากกิจการอื่น ๆ เช่น โรงแรม 5 ดาว สวนสนุก (8,773 - 35,093 ล้านบาทต่อปื) รายได้จากกิจการกาสิโน เช่น ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ภาษีการเล่นพนัน ขั้นต่ำ 3,264 ล้านบาทต่อปี นอกจากนั้นยังมีรายได้จากค่าธรรมเนียมการเข้ากาสิโนอีก ขั้นต่ำ 3,700 ล้านบาทต่อปี
สามารถนำรายได้ไปใช้พัฒนาประเทศ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ระบบดูแลสังคม ระบบการศึกษา และการสร้างสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
องค์ประกอบของสถานบันเทิงครบวงจร
สถานบันเทิงครบวงจรเป็นศูนย์รวมสำหรับการพักผ่อน และความบันเทิง ประกอบด้วยบริการ หลากหลายรูปแบบเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับครอบครัว
โดยสถานบันเทิงครบวงจร เป็นสถานที่ ที่มีองค์ประกอบหลากหลาย
-ห้างสรรพสินค้า สถานที่จัดงานประชุม
-โรงแรม (ระดับ 6 ดาว)
-พื้นที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย และสินค้า OTOP
-สวนสนุก
-สระว่ายน้ำและสวนน้ำ
-สนามกีฬา
-ยอร์ชและครูซซิ่งคลับ
-ร้านอาหาร
-กาสิโน
-ไนต์คลับ
-ผับหรือบาร์
-กิจการอื่น ๆ
การกำกับกิจการกาสิโน
แนวทางสำคัญในการกำกับกิจการกาสิโน
-มีมาตรการกำกับดูแลที่รัดกุมและโปร่งใส
-บริหารโดยบริษัทที่มีประสบการณ์ มีผลงานที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว และมีมาตรฐานในการจัดการที่ดี
-นำรายได้บางส่วนมาฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในพื้นพื้นที่
-จำกัดคุณสมบัติของผู้เข้าใช้บริการ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเยาวชนและกลุ่มเปราะบาง
กรณีศึกษาประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจของสถานบันเทิงครบวงจรโดยนักลงทุนที่มีประสบการณ์ในระดับสากล และได้รับการยอมรับในระดับโลก
กรณีศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้าน
โดยมีการยกความสำเร็จของสถานบันเทิงครบวงจรในประเทศเพื่อนบ้าน พิสูจน์ให้เห็นถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน อาทิ มาเก๊า มีรายได้จากสถานบันเทิงครบวงจร 1.2 ล้านล้านบาทต่อปี, สิงคโปร์ มีรายได้จากสถานบันเทิงครบวงจร 4.3 แสนล้านบาทต่อปี, เกาหลีใต้ มีรายได้จากสถานบันเทิงครบวงจร 3.2 แสนล้านบาทต่อปี, ฟิลิปปินส์ มีรายได้จากสถานบันเทิงครบวงจร 2.2 แสนล้านบาทต่อปี, เวียดนาม มีรายได้จากสถานบันเทิงครบวงจร 1.8 แสนล้านบาทต่อปี เป็นต้น
โดยจากกรณีศึกษา พบว่าขนาดตลาด 54 ล้านล้านบาทในปี 2022 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 7% นอกจากนั้นจำนวน 4 ใน 7 ประเทศที่มีรายได้จากสถานบันเทิงครบวงจรสูงสุดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) สะท้อนถึง แนวโน้มธุรกิจที่แข็งแกร่งในภูมิภาค
ทั้งนี้จากกรณีศึกษาผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ GDP เป็น 1-2% การลงทุนจากต่างประเทศ 3 แสนล้านบาท รายได้ภาษีเพิ่มขึ้น 4.4 แสนล้านบาท จำนวนท่องเที่ยวเติบโต 47% (ช่วงปี 2010-2023) นอกจากนั้นยังมีการจ้างงาน 20,000 ตำแหน่ง เฉพาะในส่วนของ ENTERTAINMENT COMPLEX ยังไม่สามารถสร้างการจ้างงานอื่นในส่วนที่เกี่ยว เช่น งานด้านบริหาร การขนส่งสาธารณะ และอื่นๆอีกมาก