[RE: ถ้าเกิดสงครามโลกครั้งที่3]
สงครามโลกครั้งที่สาม อาจจะไม่เหมือนสงครามทั้ง 2 รอบเดิมที่มหาอำนาจซัดกันโดยตรง แต่จะเป็นสงครามที่มหาอำนาจถูกดึงเข้ามาร่วมในสนามประลองกลาง ซึ่งจุดที่เป็นไปได้มากที่สุดน่าจะเป็นที่ดินแดนตะวันออกกลาง เพราะเป็นพื้นที่ความขัดแย้งที่พร้อมประทุแล้ว เอาจริงๆ คนมองว่าปัญหาของตะวันออกกลางคือ อิสราเอล vs มุสลิม แต่ถ้าใครที่ศึกษาดีๆ ปัญหายิวกับมุสลิมเป็นปัญหาที่เป็นแค่เปลือกที่บรรดาผู้นำของฝ่ายมุสลิมพยายามประโคมมานานแล้ว เพื่อปิดบังปัญหาที่แท้จริงของพื้นที่ นั่นก็คือความขัดแย้งทางเชื้อชาติมาตั้งแต่อดีต ที่โดนกดเอาไว้ด้วยการแก้ปัญหาแบบลวกๆ ของชาวตะวันตกหลังการล่าอาณานิคมในช่วงสงครามโลก ด้วยการขีดเส้นแบ่งบนแผนที่ว่าพื้นที่ตรงนี้คือประเทศนี้ ประเทศนั้น ซึ่งคนในพื้นที่แต่เดิมไม่ได้มีความรู้สึกถึงความเป็น "รัฐชาติ" พวกเขามีเพียงความเข้าใจว่ากลุ่มของพวกเขาเป็นใคร เป็นชาวเคิร์ด เป็นชาวเติร์ก เป็นกลุ่มมุสลิมนิกายซุนนี เป็นกลุ่มมุสลิมนิกายชีอะห์ บลาๆ แต่แน่นอนว่าบรรดาผู้ปกครองดินแดนต่างๆ ในยุคนั้นยินดีกับการแบ่งดินแดนของกลุ่มตะวันตกแบบนี้ เพราะมันจะทำให้ตนเองมีอำนาจเต็มในการปกครองพื้นที่นั้นๆ โดยไม่สนว่าการแบ่งนั้นจะเหมาะสมกับประวัติศาสตร์ พื้นที่ของผู้นับถือศาสนา หรือบรรดาชนเผ่าต่างๆ ในพื้นที่ ที่ไม่ได้รับรู้ถึงการตกลงแบ่งเขตดินแดนนั้น
.
ยกตัวอย่างง่ายๆ ในอดีตจักรวรรดิออตโตมันยังมองดินแดนตะวันออกกลางแบ่งเป็น 3 พื้นที่ใหญ่ๆ
1. พื้นที่เทือกเขาทางตะวันออกสุดลูกหูลูกตายาวไปถึงตอนเหนือของอิรัก-อิหร่านในปัจจุบันคือดินแดนของชาวเคิร์ด
2. พื้นที่ราบทางตะวันตกของเทือกเขาดังกล่าว(ดินแดนของซีเรียและตะวันตกของอิรักปัจจุบัน) คือดินแดนของชาวซุนนี
3. พื้นที่ราบทางใต้ที่แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติสไปบรรจบกันเป็นแม่น้ำชัตต์อัลอาหรับไหลลงสู่อ่าวเปอร์เซีย คือดินแดนของชาวชีอะห์
ซึ่งในตอนที่จักรวรรดิออตโตมันเรืองอำนาจ ชาวเติร์กก็แบ่งการปกครองดินแดนนี้ออกเป็น 3 ส่วนตามความเข้าใจ โดยให้ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโมซุล เมืองแบกแดด และเมืองบัสรา ซึ่งก็เป็นการทำตามๆ กันมาตั้งแต่ในอดีตกาลซึ่งชาวเปอร์เซียก็ทำ สมัยอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้ามายึดครองดินแดนก็ทำ สมัยจักรวรรดิอุมัยยะห์ก็ทำแบบเดียวกัน ซึ่งมันเป็นการปกครองที่จัดการได้ง่ายและมีการต่อต้านน้อยที่สุด แต่พอตะวันตกเข้ามานำโดยสหราชอาณาจักรเข้ามา ดันมองแบบเริ่มต้นว่านี่คือผืนดินผืนใหญ่หนึ่งผืนแล้วก็ทำการแบ่งเป็นแบบที่เห็นใกล้เคียงกับในปัจจุบัน คนซวยสุดคือ "อิรัก" เพราะพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรมาคือแม่งรวมมากรูครบเลยจ้า ทั้งพื้นที่ของชาวเคิร์ดทางเหนือและตะวันออก ซุนนีทางตะวันตก และชีอะห์ทางใต้ ในสมัยซัดดัม ฮุสเซ็นเรืองอำนาจ(ซัดดัมเป็นคนจากตระกูลชาวซุนนี) ก็พยายามกวาดล้างชาวเคิร์ดและชาวชีอะห์เป็นระยะ
.
ต่อมาปัญหาที่เกิดจากการแบ่งดินแดนให้กับบรรดาชาวอาหรับเผ่าต่างๆ ที่ช่วยสหราชอาณาจักรทำสงครามกับจักรวรรดิออตโตมันในช่วงสงครามโลก โดยหลักๆ มันคือการเกิดของประเทศซาอุดิอาระเบียและจอร์แดน(อาณาจักรฮัชไมต์) ซึ่งเอาจริงๆ เผ่าซาอูดและเผ่าฮัชไมต์เป็นศัตรูคู่แค้นกันมานาน ทั้งคู่มีถิ่นฐานอยู่แถวเมกกะ แต่เผ่าฮัชไมต์ต้องย้ายไปอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศจอร์แดนในปัจจุบันพ่วงด้วยการโยกย้ายของชาวปาเลสไตน์จำนวนมากที่หนีสงครามจากอิสราเอลเข้ามา ซึ่งทำให้ปัจจุบันชาวปาเลสไตน์คือประชากรส่วนใหญ่ของจอร์แดน และคนพวกนี้ก็ไม่มองว่ากษัตริย์จอร์แดนเป็นผู้นำของตน และพร้อมจะแยกตัวหรือก่อตั้งกองกำลังของตัวเองทันทีถ้าถูกขัดใจ
.
เลบานอนก็หนัก เพราะเดิมเลบานอนเป็นเพียงแค่ดินแดนหนึ่งของซีเรีย แต่ฝรั่งเศสขอตัดแบ่งเป็นประเทศให้กับชาวอาหรับที่นับถือศาสนาคริสต์ แต่ความซวยคือชาวมุสลิมดันปั๊มลูกรัวๆ ทั้งซุนนี ชีอะห์ จนประชากรมุสลิมเติบโตแซงหน้าชาวคริสเตียน ยังไม่รวมพวกชาวปาเลสไตน์ที่หนีสงครามเข้ามาขอร่วมปั๊มลูกผสมพันธุ์กับมุสลิมจนมั่วไปหมด ทุกวันนี้เลบานอนไม่กล้าจะทำการสำรวจสำมะโนประชากรด้วยซ้ำ
.
ปัญหาการแข่งขันการเป็นผู้นำโลกมุสลิมระหว่างชาวชีอะห์ที่นำโดยอิหร่าน และชาวซุนนีที่นำโดยซาอุดิอาระเบีย แน่นอนว่าซาอุดิอาระเบียนั้นร่ำรวยกว่าอิหร่าน มีอุตสาหกรรมน้ำมันที่พัฒนามากกว่า แต่อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์และประชากรที่มากกว่าซาอุดิอาระเบียเกือบ 3 เท่า นั่นทำให้ซาอุดิอาระเบียไม่เคยมั่นใจว่าตนเองจะสามารถเอาชนะอิหร่านได้จริงๆ ยิ่งพอการล่มสลายของซัดดัม ฮุสเซ็นในอิรัก ซึ่งเป็นเสมือนดินแดนกันชนระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอิหร่าน ทำให้มีการเรียกร้องถึงขั้นอยากให้ประเทศของตนมีอาวุธนิวเคลียร์เพื่อคานอำนาจกับอิหร่านด้วยซ้ำ
.
ปัญหาอิสราเอลกับปาเลสไตน์นี่ต่างฝ่ายต่างก็อ้างว่าตนอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมาก่อนจนกระทั่งการเข่นฆ่าชาวยิวในสงครามโลกครั้งที่สองกระตุ้นให้เกิดการอพยพกลับสู่ดินแดนที่ตนได้จากลามานานซึ่งสหราชอาณาจักรก็แก้ปัญหาด้วยการตัดแบ่งพื้นที่ให้ชาวยิวได้อพยพท่ามกลางการคัดค้านจากบรรดาชาวอาหรับ จริงๆ การคัดค้านของชาวอาหรับก็ไม่แน่ใจว่าเกิดจากการไม่ต้อนรับชาวยิวเข้ามาในพื้นที่ หรือจริงๆ แล้วคือพวกเขาไม่ต้อนรับชาวปาเลสไตน์ที่จะทำการอพยพหนีออกจากจากพื้นที่ครั้งใหญ่ และกระจัดกระจายเข้าไปในดินแดนที่เป็นของชาวอาหรับ เพราะชาวอาหรับก็ไม่เคยมองว่าชาวปาเลสไตน์เป็นพวกเดียวกับตนอยู่แล้วตั้งแต่แรก ประเทศอาหรับส่วนใหญ่ไม่เคยมีแนวคิดจะให้สัญชาติแก่ชาวปาเลสไตน์ที่อพยพเลยแม้แต่น้อยซึ่งชาวปาเลสไตน์รู้ซึ้งดีว่าไม่ว่าจะไปอยู่ประเทศไหน พวกเขาก็มีสถานะแค่ "ผู้อพยพ" โดยเฉพาะ 3 ชาติใหญ่รอบดินแดนอิสราเอลในปัจจุบันอย่าง อียิปต์ จอร์แดน และซีเรีย ลึกๆ แล้วทั้ง 3 ชาติรู้สึกมั่นคงกว่ากับการมีอยู่ของอิสราเอล เพราะอิสราเอลเป็นเสมือนกันชนระหว่างทั้ง 3 ชาติ และเป็นเหมือนแส้ที่ใช้เฆี่ยนตีชาวปาเลสไตน์ที่ไม่ว่าจะมีอยู่หรือสูญพันธุ์ไปทั้ง 3 ชาตินี้ก็ไม่ใส่ใจนัก
อียิปต์กำลังแฮปปี้กับการมีอยู่ของคาบสมุทรไซนายซึ่งเป็นเสมือนพื้นที่กันชนของตัวเองกับปัญหาในตะวันออกกลาง จอร์แดนไม่อยากให้ปาเลสไตน์รวมตัวเป็นชาติหนึ่งเดียวได้ เพราะถ้าทำได้ตนก็จะมีปัญหาตามมาเพราะประชากรส่วนใหญ่ของจอร์แดนในปัจจุบันเป็นชาวปาเลสไตน์อพยพ ส่วนซีเรียมองว่าเลบานอนคือดินแดนของตัวเองมาตลอดพวกเขาต้องการดินแดนที่ราบสูงโกลันเพื่อความได้เปรียบในเชิงยุทธศาสตร์เพื่อจะได้รุกรบเพื่อยึดเอาดินแดนเลบานอนกลับคืนมาแต่ดันโดนอิสราเอลชิงตัดหน้ายึดไปก่อน ถ้าอิสราเอลหายไปดินแดนแห่งนี้ก็จะถูกอ้างสิทธิ์โดยชาวปาเลสไตน์
.
ยังไม่รวมชาวตุรกีที่ไม่เคยคิดว่าตนเองคือพวกเดียวกับชาวอาหรับ เช่นเดียวกับที่ชาวยุโรปก็ไม่เคยมองว่าชาวเติร์กเป็นส่วนหนึ่งของยุโรปด้วยภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ และศาสนา เช่นเดียวกับรัสเซียที่มองว่าตุรกีเป็นศัตรูมาตั้งแต่อดีตกาล ถึงขึ้นที่ว่าซาร์ปีเตอร์มหาราช เขียนพินัยกรรมถึงลูกหลานของตนว่าวันข้างหน้าให้หาทางยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลมาเป็นของตัวเองให้ได้ ซึ่งลึกๆ แล้วเชื่อว่าชาวรัสเซียก็ยังมองเป้าหมายนี้อยู่ เพราะตุรกีครอบครองดินแดนที่จะเป็นสะพานเชื่อมรัสเซียเข้ากับทะเลเปิด(ที่เป็นน้ำอุ่นตลอดปี) ซึ่งสวนทางกับยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่ไม่ต้องการให้กองเรือของรัสเซียออกประตูนี้ไม่ว่าจะเวลาไหนก็ช่าง
.
ดังนั้นมันจึงมีกลุ่มที่พยายามจะเบ่งกล้ามเพื่อทำการรวบรวมดินแดนทั้งหมดให้เป็นหนึ่งภายใต้การปกครองเดียว ไม่ว่าจะเป็น "การสถาปนารัฐคอลีฟะห์" ของนักรบญิฮาดชาวซุนนี, อาณาจักรเกรทยิว(ผมจำชื่อไม่ได้ละ แต่มันจะเป็นอาร์มติดแขนเสื้อทหารอิสราเอล แผนที่ที่ระบุว่าจะเป็นดินแดนขนาดใหญ่กินพื้นที่ของอิรักไปยันอ่าวเปอร์เซีย), เคิร์ดดิสถาน, ดินแดนอาหรับทังหมดที่ถูกปกครองโดยชาวชีอะห์นำโดยอิหร่าน ซึ่งแต่ละฝ่ายก็พยายามจะหา backup เป็นชาติมหาอำนาจที่จะช่วยให้ตนเองบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยบรรดาผู้นำชาติอาหรับมักจะเสนอแลกกับผลประโยชน์ต่างๆ เหนือดินแดนดังกล่าว อาจจะเป็นทรัพยากร ดินแดน เส้นทางขนส่งทรัพยากรสำคัญ ความร่วมมือ หรือการตัดความร่วมมือกับใคร ปัญหาก็คือชาวอาหรับทุกฝ่ายมองแค่เป้าหมายของตนเอง พร้อมจะร่วมมือถ้ามันช่วยให้เป้าหมายของตัวเองบรรลุผลได้ แต่ถ้าได้ตามต้องการแล้วก็จะขอแยกตัวออกไปทันที ไม่ขอร่วมมือต่อ และพร้อมจะเป็นศัตรูทันทีถ้าถูกขัดใจ และวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวอาหรับคือการแสดงความเกลียดชังอย่างเปิดเผยถ้าตนไม่ถูกใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่วัฒนธรรมของชนชาติอื่นๆ ไม่นิยมทำกัน มันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้การปลุกเร้ากระแสสังคมที่ไม่ได้รับการเข้าถึงสื่ออยากหลากหลายได้ง่าย และสามารถทำเรื่องให้ลุกลามบานปลายได้ง่าย
.
และเมื่อความเกลียดชัง+ปัญหาของกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่+ผลประโยชน์ทับซ้อนของบรรดาชาติมหาอำนาจไหลไปถึงจุดอิ่มตัว คำถามของผมก็คือ สถานการณ์แบบนี้มันต่างจากตอนเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ยังไง ไม่ต่างเลย เราแค่กำลังรอเวลาให้ กัฟรีโล ปรินซีปคนใหม่ลั่นไกปืนใส่ปัญหาใดปัญหาหนึ่งในเรื่องข้างบนนี้เท่านั้นเอง
อำนาจ ความเชื่อ ความรัก คือ 3 สิ่งที่ตรรกะมนุษย์ไม่สามารถอธิบายได้ ดังนั้นอย่าถามว่าทำไมกับเรื่องพวกนี้