[RE: สวัสดีปีใหม่พร้อมหมายศาล ครับ]
Spoil
Coachkeyboard พิมพ์ว่า:
anutarap พิมพ์ว่า:
ลองตรวจสอบดีๆนะครับ ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686
เจ้าหนี้ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันก่อนใช้สิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ และหากเจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากดอกเบี้ยแบะค่าสินไหมทดแทนตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนด
นับจากวันที่พี่สาวท่านผิดนัด เจ้าหนี้ต้องแจ้งมาที่ท่านซึ่งเป็น 'ผู้ค้ำ' เป็นลายลักษณ์อักษร
ถ้าเลย 60 วันแล้ว เค้าจะทวงท่านในฐานะ 'ผู้ค้ำ' ได้เฉพาะเงินต้นและดอกเบี้ยในระหว่าง 60 วันเท่านั้น จะมาทวงดอกหรือค่าปรับอื่นๆ หลังจากนั้นไม่ได้
ส่วนพี่สาวท่านโดนเต็มทั้งต้นและดอกนับจากวันที่ผิดนัดชำระ อายุความ 10 ปี
ถ้าทำหนังสือทวงหลัง 60 วันนับจากวันที่ผิดนัดชำระไปแล้ว ตอนไกล่เกลี่ยหรือตกลงชำระ ต้องไม่มีดอกมาเกี่ยวข้องครับ และยอดไม่ถึง 1 ล้าน ฟ้องล้มละลายไม่ได้ ท่านจะได้เปรียบ สามารถเจรจาผ่อนชำระยอดน้อยๆหรือผ่อนนานๆ ได้
แต่ถ้าเจ้าหนี้ทวงภายใน 60 วัน เจ้าหนี้จะได้เปรียบมาก เพราะเรียกจากเราได้เต็มๆ แบบนั้นก็ต้องพยายามเจรจาให้ดอกต่ำที่สุดครับ แต่ต้องรับผิดชอบยอดเงินและดอกเบี้ยเต็มๆครับ
สอบถามเพิ่มเติมครับท่าน
ถ้าหมดอายุความ คดีมันจะไปยังไงต่อครับ
เอาตามจริงต้องรอทนายมาตอบนะครับ
อันนี้ขอตอบตามความเข้าใจของผม คือ ถ้าเจ้าหนี้ยื่นฟ้องศาลให้มีคำพิพากษาก่อนคดีหมดอายุความ เมื่อพิพากษาแล้วก็จะมียอดเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นยอดเงินที่ต้องชำระที่แน่นอน เจ้าหนี้ก็จะต้องสืบทรัพย์และแจ้งพนักงานบังคับคดีให้ยึดทรัพย์ตามยอดเงินต้นและดอกเบี้ยคงค้างภายใน 10 ปี นับตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด พอครบ 10 ปี คดีถึงที่สุด ก็บังคับอะไรไม่ได้แล้ว
เว้นแต่ลูกหนี้จะไปจ่ายยอดหนี้ดังกล่าวเอง ตามนี้ครับ
"คดีแพ่งขาดอายุความจึงไม่ทำให้หนี้ระงับ กล่าวคือ แม้หนี้จะขาดอายุความแล้ว แต่ถ้ายังไม่ได้ชำระหนี้ ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าใด ก็ยังคงเป็นหนี้อยู่ตลอด ดังนั้น หากลูกหนี้มาชำระนี้หลังจากหนี้ขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว และจะเรียกเงินคืนภายหลัง โดยอ้างว่าหนี้ขาดอายุความไม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/28 “การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้น ไม่ว่ามากน้อยเพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้ แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม”
อ้างอิง
https://www.legardy.com/blogs/limitation-of-civil-cases