สัญญาณอันตราย เบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบเสี่ยงตาบอดถาวร
สัญญาณอันตราย "เบาหวานขึ้นจอตา" ภัยเงียบเสี่ยงตาบอดถาวร
Cr. leungchopan
"เบาหวานขึ้นจอตา" ภัยเงียบจากโรคเบาหวาน 24-31% ของผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนเสี่ยงตาบอดถาวร หมอชี้ตรวจเร็ว รักษาเร็ว ชะลอการสูญเสียการมองเห็นได้ คนไทยวัยทำงานควรตรวจเช็คสุขภาพตาเป็นประจำ
Cr. leungchopan
นายแพทย์ธนาพงษ์ สมกิจรุ่งโรจน์ จักษุแพทย์ด้านจอตาและม่านตาอักเสบ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่า 1 ใน 4 ของผู้ป่วยเบาหวาน มีภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา มีโอกาสเกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน และอาจเกิดกับตาข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
ผู้ป่วยบางรายอาจไม่รู้สึกเจ็บหรือปวดบริเวณดวงตา และหากดูจากภายนอกก็ไม่สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติของดวงตาได้ ด้วยเหตุนี้ โรคทางสายตาจึงถือเป็นภัยเงียบ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้าใจว่าการมองเห็นไม่ชัด เป็นผลจากค่าสายตาที่เปลี่ยนไป สถานการณ์ภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตาในประเทศไทยจึงน่าเป็นห่วง
โดยภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Macular Edema หรือ DME) เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง ทำให้เส้นเลือดที่อยู่ในชั้นจอประสาทตามีความผิดปกติ ส่งผลให้จุดรับภาพจอตาบวม โรคนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ จากสถิติพบว่า ปัจจุบันในประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคนต่อปี และปัจจุบันมีคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปที่เป็นโรคเบาหวานถึง 6.9 ล้านคน โดยคนไทยอายุ 30 - 60 ปี มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานถึง 12%
ที่น่าวิตกกว่านั้นคือ โรคเบาหวานในทุกอายุ มีโอกาสพัฒนาเป็นภาวะจุดรับภาพชัดบวม จากเบาหวานขึ้นจอตา (DME) เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักไม่รู้ตัวว่ามีภาวะดังกล่าว เนื่องจากอาการมักไม่แสดงชัดเจนในช่วงแรก ดังนั้น การตรวจคัดกรองและการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาเป็นโรค DME อีกทั้งยังช่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้
Cr. leungchopan
การรักษาภาวะเบาหวานขึ้นจอตา
นายแพทย์ธนาพงษ์ กล่าวว่า เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ทางการรักษาหลักของโรคทางจอประสาทตา รวมถึงภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตาจะใช้เลเซอร์ ซึ่งช่วยชะลอโรคได้ แต่ไม่ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นมากนัก ต่อมาพัฒนาเป็นยาฉีดเข้าน้ำวุ้นตาที่ยับยั้ง VEGF (Anti-VEGF) ช่วยลดการงอกของเส้นเลือดที่จอประสาทตา ทำให้การมองเห็นดีขึ้น แต่ต้องฉีดบ่อยทุก 1-2 เดือน สร้างภาระให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ห่างไกลโรงพยาบาลหรือต่างจังหวัด
Cr. thansettakij.com
ปัจจุบัน ยาที่ฉีดเข้าไปในน้ำวุ้นลูกตาได้พัฒนามากขึ้น มีนวัตกรรมใหม่ที่ยับยั้งสองกลไกของการเกิดโรค คือ ยับยั้งทั้ง VEGF และ Ang-2 (Anti Ang-2/VEGF) ช่วยทั้งลดการงอกและการรั่วของเส้นเลือด ลดการอักเสบ และเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือด ออกฤทธิ์ได้นานขึ้น จากงานวิจัยพบว่าประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยฉีดยาที่ยับยั้งสองกลไก (Anti Ang-2/VEGF) เพียงหนึ่งครั้งใน 3 เดือน และประมาณร้อยละ 60 ฉีดเพียงหนึ่งครั้งใน 4 เดือน คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นกว่าเดิม และจากการวิจัยทางคลินิก ในผู้ป่วยกว่า 3,200 ราย และการรักษาจริงกว่า 4,000,000 เข็มทั่วโลก ไม่พบผลข้างเคียงที่แตกต่างจากยาเดิม
นอกจากนี้ยังพบว่า
ในผู้ป่วยที่มีภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา หากไม่ได้รับการรักษา 20-30% จะสูญเสียการมองเห็น การวินิจฉัยที่เร็วและเริ่มการรักษาทันทีจึงเป็นสิ่งสำคัญ
Cr. leungchopan
ปรับพฤติกรรมปัจจัยที่เป็นเสี่ยง
ควรควบคุมโรคประจำตัวให้ดี
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
งดการสูบบุหรี่
ต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องตามการนัดของแพทย์
Cr. thansettakij.com
นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรหมั่นตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อการวินิจฉัยที่เร็วและเริ่มการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดการสูญเสียการมองเห็น เพราะการมองเห็นที่ชัดเจนเป็นส่วนสำคัญยิ่งกับคุณภาพชีวิต
อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอาการดังกล่าวควรรับคำปรึกษาจากจักษุแพทย์ เพื่อเลี่ยงอาการรุนแรงของโรคซึ่งสามารถนำไปสู่การตาบอดถาวรโดยไม่รู้ตัว หากทราบว่าเป็นโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา รวมถึงภาวะจุดรับภาพชัดบวมจากเบาหวานขึ้นจอตา การรักษาด้วยนวัตกรรมใหม่ที่ยับยั้งสองกลไกของการเกิดโรค จะช่วยลดภาระให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ต้องมาโรงพยาบาลบ่อยๆทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแลดีขึ้นกว่าเดิม
Cr. leungchopan
ที่มา: https://www.thansettakij.com/health/wellbeing/612058, https://workpointtoday.com/news-745832-2
############################################################
คำแนะนำการป้องกันโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
Cr. leungchopan
โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน หากดูแลสุขภาพและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเหมาะสม จะสามารถลดความเสี่ยงได้ การป้องกันที่ดีเริ่มต้นจากการดูแลตัวเองทุกวัน ดังนี้
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม
ใช้ยาตามแพทย์สั่งและตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงหรือไขมันทรานส์ เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม หรือของทอด
รักษาความดันโลหิตและไขมันในเลือด
วัดความดันโลหิตและระดับไขมันเป็นประจำ เพื่อป้องกันการทำลายเส้นเลือดในจอประสาทตา
ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ หรือปั่นจักรยาน
เลิกสูบบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์
การสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์ส่งผลเสียต่อหลอดเลือด และอาจทำให้ความเสี่ยงโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเพิ่มขึ้น
ตรวจตาอย่างสม่ำเสมอ
ผู้ป่วยเบาหวานควรตรวจตากับจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้แพทย์ตรวจหาความผิดปกติในระยะเริ่มต้น
รับมือกับความเครียด
ความเครียดอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ลองฝึกการผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิหรือโยคะ
สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) รายงานจำนวผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทย ช่วงอายุ 20-79 ปี มีมากถึง 8.3% ของประชาการ และจำนวนมากกว่าครึ่งไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน
ซึ่งโรคเบาหวาน คือภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลง หรือการที่อวัยวะของร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน จนเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้มีน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง อาจสูญเสียอวัยวะที่สำคัญ หรือตาบอดเนื่องจากภาวะ เบาหวานขึ้นตาได้
Cr. leungchopan
อ้างอิง: https://www.bnhhospital.com/th/article, https://www.dmthai.org/new