BLOG BOARD_B
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Email: sale@soccersuck.com
ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออนไลน์
นักเตะท้ายซอย
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 15 Mar 2020
ตอบ: 1030
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Oct 18, 2024 14:02
ถามเรื่องรถไฟความเร็วสุง3สนามบินกับ 20บาทตลอดสาย
1.3สนามบินเห็นว่าจะแก้สัญญา เพราะ cp ดึงไม่ทำมาตั้ง5ปี(คิดว่ารู้ ถ้าทำน่าจะไม่กำไร)
\โดยอ้างว่า ไม่ส่งมอบหน้างานให้นี้คือตรงไหนครับ
2.20บาทตลอดสายนี้คือซื้อกลับทุกสายทุกสีใช่มั้ย แล้วอันนี้คือจะอุ้ม bts ใช่มั้ยคนับ ถามผู้ติดตามทีครับ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออนไลน์
แขวนสตั๊ด
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 30 Mar 2009
ตอบ: 5912
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Oct 18, 2024 14:08
[RE: ถามเรื่องรถไฟความเร็วสุง3สนามบินกับ 20บาทตลอดสาย]
ตามครับ เสียดายโอกาสรถไฟ 3 สนามบินจริงๆ อย่างอู่ตะเภาช่วงก่อนโควิดก็ดูกำลังจะรุ่งเลย มีบินตรงจาก ชม หลายเที่ยว
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
แข้งบุนเดสลีกา
Status: INVU https://www.youtube.com/watch?v=k0Kg8gYC3R0
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 08 Dec 2007
ตอบ: 11772
ที่อยู่: เชียงใหม่
โพสเมื่อ: Fri Oct 18, 2024 14:11
[RE: ถามเรื่องรถไฟความเร็วสุง3สนามบินกับ 20บาทตลอดสาย]
ข้อ 2 รองนายกฯ ควบ คมนาคม บอกไว้ตามข่าวนี้ ครอบคลุมรถไฟฟ้าใน กทม. (รวมถึงข่าวเก็บเงินภาษีรถติด และตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน มาซื้อคืนสัมปทานด้วย)
https://www.prachachat.net/general/news-1675423

คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน ก.ย. 2568

ข้อ 1 มีแก้สัญญา แต่เพิ่มเติมเรื่องส่งมอบงาน และหลักทรัพย์ค้ำประกันของกลุ่มบริษัทร่วมทุน เปลี่ยนจากจ่ายงวดเดียวเป็นแบ่งจ่ายอีก 6 งวด
อ้างอิงจาก:
เงื่อนไขใหม่สรุปล่าสุด ค่าสิทธิ์จำนวน 10,671.09 ล้านบาท แบ่งจ่าย 7 งวด งวดละเท่าๆ กัน (งวดละ 1,524 ล้านบาท) ซึ่งก่อนหน้านี้ ซี.พี.ชำระไปแล้ว วงเงิน 1,067.10 ล้านบาท ดังนั้น หลังแก้ไขสัญญา ซี.พี.จะต้องจ่ายเพิ่มอีก 456.9 ล้านบาทเพื่อให้ครบงวดแรก และวางหนังสือค้ำประกันที่เหลืออีก 9,147 ล้านบาท โดยวางเป็นหลักประกันไว้ 6 ใบ ใบละประมาณ 1,524 ล้านบาท

สรุปแพกเกจการเงิน ซี.พี.ลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

1. หลักประกันสัญญา วงเงิน 4,500 ล้านบาท ตลอดสัญญา 50 ปี
2. หนังสือค้ำประกัน ผู้ถือหุ้น วงเงิน 160,000 ล้าน ตลอดสัญญา 50 ปี
3. หนังสือค้ำประกันค่าก่อสร้าง วงเงิน 120,000 ล้านบาท
4. หนังสือค้ำประกันค่างานระบบ วงเงิน 16,000 ล้านบาท
5. หนังสือค้ำประกันคุณภาพเดินรถ วงเงิน 750 ล้านบาท ระยะเวลา 10 ปี
6. หนังสือค้ำประกัน ค่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) รวมกับชำระงวดที่ 1 ที่เหลือ วงเงิน 9,147 ล้านบาท

ล่าสุด ซี.พี.ประเมินจำนวนผู้โดยสารว่าจะเหลือประมาณ 30% จากที่คาดการณ์ไว้ โดยจะเห็นได้จากผู้โดยสารแอร์พอร์ตลิงก์ วันที่ประมูลมีมากกว่า 8 หมื่นคนต่อวัน และลดลงอย่างมากหลังโควิด ปัจจุบันผู้โดยสารยังอยู่ที่ 7 หมื่นคนต่อวันยังไม่เท่าเดิม แม้ประชาชนจะกลับมาใช้ชีวิต เหมือนเดิมแล้วก็ตาม และตัวเลขนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะจากจีนยังไม่กลับมานั่นเอง  

https://mgronline.com/business/detail/9670000086250
แก้ไขล่าสุดโดย pepino เมื่อ Fri Oct 18, 2024 14:12, ทั้งหมด 1 ครั้ง
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
แข้งบุนเดสลีกา
Status: INVU https://www.youtube.com/watch?v=k0Kg8gYC3R0
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 08 Dec 2007
ตอบ: 11772
ที่อยู่: เชียงใหม่
โพสเมื่อ: Fri Oct 18, 2024 14:13
[RE: ถามเรื่องรถไฟความเร็วสุง3สนามบินกับ 20บาทตลอดสาย]
Aprilz พิมพ์ว่า:
ตามครับ เสียดายโอกาสรถไฟ 3 สนามบินจริงๆ อย่างอู่ตะเภาช่วงก่อนโควิดก็ดูกำลังจะรุ่งเลย มีบินตรงจาก ชม หลายเที่ยว  

เกือบจะไม่ได้แก้สัญญาด้วยครับ ถ้าไม่อ้างเหตุสุดวิสัยอย่าง โควิด และนักท่องเที่ยวจีนลดฮวบ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ค.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 15 Sep 2022
ตอบ: 2608
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Oct 18, 2024 14:28
[RE: ถามเรื่องรถไฟความเร็วสุง3สนามบินกับ 20บาทตลอดสาย]
1. การดำเนินการในพื้นที่โครงการเกี่ยวกับรถไฟ ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา (นอกเมือง) ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด โดยที่ผ่านมา ภายหลังจากเอกชนคู่สัญญาได้รับเอกสารการส่งมอบพื้นที่ จาก รฟท. เมื่อ 15 ต.ค. 2564 ได้จัดทำแผนร่วมกันสำหรับลงสำรวจพื้นที่

และใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบข้อมูลที่มีจำนวนมากก่อนลงนามในเอกสารการตรวจร่วม และจัดทำบันทึกข้อตกลงที่เอกชน คู่สัญญาตกลงและยินยอมรับมอบพื้นที่ เมื่อวันที่ 7 ม.ย. 2567

“ทำให้การส่งมอบพื้นที่ล่าช้ากว่า แผนที่กำหนดไว้ตามสัญญาร่วมลงทุนเป็นระยะเวลา 2 ปี 8 เดือน (24 ต.ค. 2564 - 7 ม.ย. 2567)”

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นปัญหา “การเวนคืนบริเวณหมู่บ้านประชาสุข 6” ที่ รฟท. ยังไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายในการรื้อถอนได้สำเร็จ

และปัญหาเอกชนคู่สัญญาของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก มีการปรับเปลี่ยนแผนแม่บท ทำให้ตำแหน่งสถานีและแนวเส้นทางของ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปลี่ยนแปลงไป

2. การดำเนินการในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (พื้นที่มักกะสันและ ศรีราชา) ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด โดยที่ผ่านมา รฟท. ส่งมอบพื้นที่ เมื่อ 15 ต.ค. 2564 และ เอกชนคู่สัญญาตกลงและยินยอมรับมอบพื้นที่ เมื่อ 7 ม.ย. 2567

ทำให้การส่งมอบพื้นที่เสร็จสิ้น และสมบูรณ์ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี 8 เดือน (24 ต.ค. 2564 - 7 ม.ย. 2567) ยกเว้นการจัดหาพื้นที่ทดแทนพื้นที่ส่วนที่เป็นลำรางสาธารณประโยชน์

“โดยต้องให้ได้ข้อสรุปก่อนการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน ซึ่ง รฟท. อยู่ระหว่างการเจรจากับเอกชนคู่สัญญา โดยเบื้องต้น จะพิจารณาพื้นที่ที่ติดกับพื้นที่ TOD เป็นพื้นที่ทดแทน”

ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากเอกชนคู่สัญญา พบว่า ในโฉนดที่ดินมีการระบุลำรางสาธารณประโยชน์ จำนวน 2 ลำราง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่ให้เต็มศักยภาพ และการดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวอาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย

โดยมีสาเหตุจาก รฟท. ตรวจสอบพื้นที่จากผังกรรมสิทธิ์ ที่อ้างอิงจากพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งไม่มีข้อมูล ครอบคลุมถึงทางสาธารณประโยชน์ หรือลำรางสาธารณประโยชน์

เทียบเท่ากับโฉนดที่ดินที่เป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนที่จะออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal : RFP)

ประกอบกับการศึกษาเกี่ยวกับการใช้พื้นที่และความพร้อมของพื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินโครงการฯ ในรายงาน ผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ (ฉบับสมบูรณ์) ยังไม่ครอบคลุมเรื่องกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ TOD

นอกจากนี้ เอกชนคู่สัญญาได้ร้องขอให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพ “บึงเสือดำ” ซึ่งอยู่ภายใน พื้นที่มักกะสัน และเป็นพื้นที่รองรับน้ำและเก็บกักน้ำฝน โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบ และรับทราบแนวทางการพัฒนาพื้นที่เก็บกักนํ้าทดแทนบึงเสือดําแล้ว

>>> ตามรายงาน สตง. พื้นที่เพิ่งถูกยินยอมรับมอบเมื่อ 7 ม.ย. 2567 นี้เอง
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel