เห้งเจียหรือหงอคง? (เรื่องน่าสนใจ[มั้ง])
ตอนนี้เห็นเกมส์หงอคงมาแรง มีหลายคนรู้แล้ว/ไม่รู้/อยากรู้/สับสันว่า สรุปแล้วชื่อของตัวเอก เห้งเจียหรือหงอคงกันแน่
คือถูกทั้งสองชื่อครับ
ซึงหงอคง เป็นชื่อแรกที่ตั้งโดยนักพรตโผเถโจ๊ซือที่เป็นอาจารย์สอนวิชาต่างๆให้
ส่วนซึงเห้งเจียหรือเห้งเจียนั้น พระถังซัมจั้งเป็นผู้ตั้งให้เป็นฉายาทางธรรม
จบ
อ่อ จบเร็วไปไหนๆก็ตั้งกระทู้แล้ว มาดูชื่อต่างๆที่บางคนยังสับสนๆกันอยู่
เรื่องจากชื่อเรื่อง ไซอิ๋ว
ไซ แปลว่า ทิศตะวันตก / อิ๋ว แปลว่า การเดินทาง
ก็ตรงๆตามชื่อเลย เรื่องไซอิ๋ว คือการเดินทางไปทิศตะวันตกของพระถังเพื่อจะต่อไปที่อินเดีย(ไปขอพระไตรปิฏก)
แต่นั้น ไซอิ๋ว เป็นสำเนียง แต้จิ๋ว(หมิ่นหนาน) ที่เป็นคนจีนส่วนใหญ่ในไทย
แต่จีนกลางออกเสียงว่า ซีโหย่ว ซี=ตะวันตก / โหยว=การเดินทาง
ถ้าเป็นที่ฮ่องกงที่พูดกวางตุ้งจะออกเสียงว่า ไซเหยา
มาดูมั้งกี้คิงตัวเอกของเรื่อง
หงอคงหรือเห้งเจียเป็นสำเนียงแต้จิ๋ว
เห้งเจียในสำเนียงอื่นๆ
จีนกลาง = สิงเจ่อ
กวางตุ้ง = ฮั่งเจ่
ฮกเกี้ยน = หั่งจา
หงอคงในสำเนียงอื่นๆ
จีนกลาง = อู้คง (ออกเสียง อ. เกือบจะเป็น ว.) เกมเขียนภาษาอังกฤษว่า WUKONG ตามภาษาจีนกลาง

กวางตุ้ง = หึฮง
ฮกเกี้ยน = โหง่วค้ง
ญี่ปุ่น = โก้ะคือ (โกคูแบบคนไทยอ่านใน DB)
ส่วนพระถังซัมจัง จีนกลางคือ ถังเฉวียนจั้ง
Fact จีนยุคราชวงศ์ถังในเรื่องราวของไซอิ๋วเป็นจีนยุคกลาง สำเนียงภาษาตอนนั้นจะไม่เหมือนจีนกลางตอนนี้เลย
สำเนียงจะออกเป็นจีนตอนใต้ในตอนนี้เช่นสำเนียงฮกเกี้ยน/แต้จิ๋ว/กวางตุ้งมากกว่า
มีบางคนคล้ายภาษาไทยด้วยเช่นการนับเลย
เลข 3 จีนกลางตอนนี้ = ซ๊าน / จีนยุคกลาง = ซาม คล้ายกับ สาม ในภาษาไทย
เลข 4 จีนกลางตอนนี้ = ซื่อ / จีนยุคกลาง = ซี่ คล้ายกับ สี่ ในภาษาไทย
เลข 8 จีนกลางตอนนี้ = ป๊า / จีนยุคกลาง = แป๊ด คล้ายกับ แปด ในภาษาไทย
สำเนียงจีนกลางตอนนี้ยึดเอาสำเนียงปักกิ่งเป็นหลัก ซึ่งปักกิ่งเป็นเมืองหลวงที่แมนจูครองมา 200 กว่าปี
สำเนียงของเมืองหลวงเลยออกไปทางแมนจูเยอะ ส่วนคนทางใต้ยังคงสำเนียงตั้งเดิมแต่โบราณมา
เพราะฉะนั้นคนในยุคถัง คงเรียก ไซอิ๋ว / เห้งเจีย / หงอคง / ซัมจั้ง แบบนี้มากกว่าเรียกแบบจีนกลางในปัจจุบัน