[RE: ถ้าเราทำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย แล้ววันนึงเกิดเจอโรค เบิกค่ารักษาไปหลายล้าน....เบี้ยประกันจะสูงขึ้นมากมั้ยครับถ้าจะทำต่อ]
Mi-Ha พิมพ์ว่า:
Spoil
James Bourne พิมพ์ว่า:
จขกท.น่าจะเข้าใจสับสนบางอย่างอยู่ครับ จากเนื้อหาที่พิมพ์มา
ผมขอแก้ความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกันก่อน ไม่งั้นจะคุยกันไม่รู้เรื่องครับ
1. ประกันโรคร้ายแรง คือ
ประกันประเภท เจอ-จ่าย-จบ
ไม่ใช่ประกันสำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาล
ทำเพื่อให้เราได้เงินชดเชย เวลาที่เราตรวจเจอโรคร้ายแรงตามที่กำหนดไว้
ซึ่งจะมีกี่สิบโรคก็แล้วแต่ ดูรายละเอียดในแบบประกันอีกที
ไม่ได้ครอบคลุมทุกๆ โรค คัดมาเฉพาะโรคร้ายแรง
ประกันตัวนี้ จ่ายเบี้ยรายปี เป็นเบี้ยทิ้ง ต้องมีประกันชีวิตเป็นกรมธรรม์หลัก 1 ตัว
แล้วทำประกันตัวนี้เสริมเข้าไป เป็นกรมธรรม์เสริม
เบี้ยประกันจะปรับเพิ่มขึ้น (แพงขึ้นนั่นแหละ) ทุกๆ อายุที่ลงท้ายเลข 1 และ 6
เช่น 41-46-51-56
เวลาตรวจเจอว่าเป็นโรคร้ายแรง และตรงตามเงื่อนไข เช่น เกินระยะเวลารอคอยไปแล้ว
เราจะได้เงินก้อนมา แล้วจะเอาเงินก้อนไปจ่ายค่ารักษา ไปทำอะไรก็ตาม
พอได้เงินมาแล้ว ถือว่าสัญญาจบ
ไม่รับประกันต่อ แล้วเราก็ไม่ต้องส่งเบี้ยประกันส่วนของประกันโรคร้ายแรงต่อ
เขาถึงเรียกว่า เจอ-จ่าย-จบ
และส่วนใหญ่ ถ้าเราจะขอทำใหม่อีกรอบ เขามักไม่รับประกันต่อแล้วครับ
ยกเว้นบางแผนประกัน เช่นของเอไอเอจะมีตัว AIA Multi-Pay CI
2. ประกันที่จ่ายค่ารักษาพยาบาล คือประกันสุขภาพ
อันนี้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ตามจริงที่เกิดขึ้นจากการแอดมิท และขึ้นกับวงเงินที่เราทำไว้ เช่นปีละ 5-10-15-25 ล้าน
ประกันแบบนี้ ทำผูกกับประกันชีวิตเหมือนกัน จ่ายเบี้ยทิ้งรายปี เบี้ยแพงขึ้นตามอายุลงท้าย 1 และ 6 เหมือนกัน
และที่สำคัญ ถ้าส่งเบี้ยต่อเนื่อง ไม่ขาดตอนทุกปี และเป็นประกันแบบที่พ่วงกับประกันชีวิต
ตอนทำไม่โกหกปิดบังประวัติสุขภาพ เคลียร์ทุกอย่าง
ไม่ว่าท่านจะเคลมกี่ล้าน ก็ตาม ประกันเขาจะไม่ยกเลิกของท่านแน่นอน
ถ้ายกเลิก ท่านไปฟ้อง คปภ.ได้เลย เขาจัดการให้
ประกันสุขภาพที่อาจจะมีสิทธิโดนยกเลิกได้เวลาเคลมเยอะๆ
คือประกันสุขภาพประเภทที่ทำเดี่ยวๆ ไม่ได้ผูกไว้กับประกันชีวิต
.
.
ทีนี้มาตอบคำถามที่ท่านถาม
คือ ถ้าท่านทำประกัน ไม่ว่าจะประกันสุขภาพ หรือโรคร้ายแรง ท่านควรจ่ายเบี้ยต่อเนื่องให้มันคุ้มครองไปต่อเนื่อง
ถ้าทำประกันสุขภาพ เคยเคลมแล้ว แล้วไม่ส่งต่อ แล้วจะมาทำภายหลัง
หลักการก็คือ ตรวจสุขภาพใหม่ ดูประวัติใหม่อีกที ถ้ามีประวัติเจ็บป่วย เคยรักษาอะไร ประกันอาจจะไม่รับ หรือรับแต่ไม่คุ้มครองโรคนั้นๆ
แต่ถ้าท่านทำตั้งแต่ตอนที่ยังไม่เป็นอะไร ทำต่อเนื่องไม่ขาด มันจะยังคุ้มครองหมด ไม่ยกเว้นครับ
ขอบคุณครับ ผมใช้คำสับสนไปเอง ต้องขออภัยด้วยนะครับ
ขอสอบถามเพิ่มเติม
แบบนี้แปลว่าถ้าเราทำประกันสุขภาพเหมาจ่าย (วงเงินสัก 20 ล้านบาท)
และทำประกันชีวิตคลอบคลุมไปด้วยที่กล่าวมา
จ่ายเบี้ยตลอดไม่เคยขาด แต่วันนึงไปเจอโรคนึงที่ต้องผ่าตัดใหญ่ ค่าใช้จ่ายสมมุติ 4 ล้านบาท ประกันคลอบคลุมหมดแบบนี้ พอผ่าตัดเสร็จ หายดี เราก็สามารถจ่ายเบี้ยประกันต่อได้ใช่มั้ยครับ และคลอบคลุมประกันสุขภาพเหมาจ่ายเหมือนเดิม หรือมันจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมั้ยครับ เช่นเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นมากๆ หรือมีเงื่อนไขใดๆมั้ยที่ประกันอาจมีสิทธิ์ไม่ต่อให้เราครับ
ความหมายของผมคือ ผมอยากทำประกันสุขภาพเหมาจ่าย วงเงินสัก 20 ล้าน สมมุติ
แล้วก็พ่วงประกันชีวิตด้วยแบบที่ท่านบอกมา
ถ้าสมมุติผมตอนอายุสัก 60 เจอโรคบางอย่างที่ต้องผ่าตัดใหญ่ ค่าใช้จ่ายสัก 4 ล้านแบบนี้ ประกันเบิกได้หมด
พอผ่าตัดหายดีแล้ว ผมยังอยากส่งเบี้ยประกันสุขภาพ กับประกันชีวิตต่อได้ใช่มั้ย และยังคลอบคลุมประกันสุขภาพเหมือนเดิม หรือส่วนใหญ่มันจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมั้ยครับ หลังจากเราเคยเบิกค่ารักษาก้อนใหญ่ไปครั้งนึงแล้ว
ต่อได้ครับ
ไม่มีเงื่อนไขอะไรเพิ่มเติม
คุ้มครองต่อครับ ไม่มีผลอะไรครับ
ไม่เพิ่มเบี้ยครับ
บริษัทประกันชีวิตใหญ่ๆ จะเพิ่มเบี้ยประกันสุขภาพ ต่อเมื่อ ทั้งพอร์ตของประกันตัวนั้นมีค่าใช้จ่ายในการเคลมสูงขึ้นทั้งภาพรวมครับ
แล้วเวลาจะเพิ่มเบี้ยประกัน ต้องขออนุมัติจากคปภ.ก่อนเท่านั้น ไม่มีสิทธิอยู่ๆ จะเพิ่มเองได้
และตอนเพิ่มเบี้ย จะเพิ่มทั้งพอร์ตครับ ไม่ใช่เพิ่มรายคนครับ
ยกตัวอย่าง เช่น ประกันสุขภาพของเด็ก
สมมติ ก่อนนี้ เด็กอายุ 1-5 ขวบ เบี้ย 3-4 หมื่น
ภายหลัง มีโรคเด็กเกิดขึ้นใหม่ๆ ระบาดมากขึ้น เช่น โรคมือปากเท้า โรค RSV
ทำให้มียอดเคลมในประกันเด็กสูงขึ้น เขาก็จะคำนวณดูทั้งพอร์ต แล้วเห็นว่าควรปรับเพิ่มเบี้ย
ก็ขออนุมัติจากคปภ. พอคปภ.พิจารณาตัวเลขแล้วสมเหตุสมผล ก็ทำหนังสือแจ้ง ปรับเพิ่มทั้งพอร์ตครับ
ไม่ได้มาเพิ่มรายคน
ปล ท่านทำประกัน 20 ล้านบาท เคลม 4 ล้าน นี่ยังไม่ถือว่าเยอะหรอกครับ
อีกอย่างประกันแบบเหมาจ่าย มักจะให้วงเงินเบิ้ล กรณีป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่น เป็นมะเร็ง จากเบิกได้ปีละ 20 ล้าน เพิ่มให้เป็นปีละ 40 ล้าน และให้เบิกได้ต่อเนื่อง
อย่างของ AIA ให้เบิกได้สองเท่าได้ต่อเนื่องสามปีกรมธรรม์ (หลังจากนั้นก็กลับมาวงเงินเท่าเดิม)