บทความจาก ไซม่อน จอนสัน กับ เลียม ทรูมี่
ทำไม เชลซี ถึงเชื่อว่าการใช้จ่าย 900 ล้านปอนด์ของพวกเขานั้นอยู่ภายใต้กฎ FFP
- สำหรับตลาดซื้อขายนักเตะรอบที่สาม การใช้จ่ายของ เชลซี ถูกพูดถึงในวงการฟุตบอล
- ดีลมูลค่า 115 ลป สำหรับ ไคเซโด้ ทำให้ เอ็นโซ่ ครองสถิติค่าตัวของอังกฤษเป็นเวลาเพียงหกเดือน
- หลังจากที่เขาย้ายไป เชลซี ด้วยเงิน 106 ลป
- ลิเวอร์พูล ตอนนี้ดูเหมือนว่าจะขาดเป้าหมายรองในแดนกลาง
- หลังจากที่ ลาเวีย ของ เซาแธมป์ตัน ยังเลือก เชลซี ในการย้ายที่มีมูลค่า 50 ลปบวกแอดออน
- นั่นหมายถึง Boehly และ Clearlake ได้ทุ่มเงิน 300 ล้านปอนด์ในค่าตัวกองกลางเพียงอย่างเดียวในปี 2023
- เมื่อมีข้อตกลงสำหรับ อูโกชุควู และ ซานโตส รวมอยู่ด้วย
- ผู้รักษาประตูคนใหม่ควรเข้ามาแทนที่การปล่อยยืม เกปา ไป มาดริด
- และสโมสรต้องการเพิ่มตัวรุกอีกสองคน
- และทั้งหมดนี้โดยที่ยังไม่มีรายได้จากสปอนเซอร์เสื้อ หรือการเข้าร่วม UCL ในปี 2023-24
- ไม่มีสโมสรอื่นใดในโลกดำเนินการในลักษณะนี้
- และมันก็ยุติธรรมที่จะบอกว่าแนวทางของ เชลซี นั้นดูน่าอึดอัดใจ
- มีเสียงกระหึ่มขึ้นเรื่อยๆ ของสโมสรคู่แข่งที่บ่นกับพรีเมียร์ลีกเกี่ยวกับการใช้จ่ายของพวกเขา
- การแสดงถึงความไม่เชื่อว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะเป็นไปตามกฎข้อบังคับ FFP ของยูฟ่า
- ซึ่งให้สโมสรขาดทุนได้ประมาณ 77 ล้านปอนด์ ในช่วงระยะเวลาสามปี
- ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้วพวกเขาถูกจัดให้อยู่ในรายการเฝ้าดู FFP โดยยูฟ่า
- เนื่องจากขนาดของการขาดทุน
- แต่ เชลซี เชื่อว่าพวกเขามีกลยุทธ์ที่จะทำให้พวกเขาอยู่ฝั่งที่ถูกต้องของการควบคุมทางการเงิน
- The Athletic จะพยายามอธิบายคุณ
1.ค่าตัวที่เกินจริง
- อุปสรรคใหญ่ในการทำความเข้าใจว่า เชลซี กำลังทำอะไรอยู่คือวิธีที่คนส่วนใหญ่คิดเกี่ยวกับธุรกรรมฟุตบอล
- กล่าวคือ สนใจไปที่ ค่าตัว เกือบทั้งหมด
- ซึ่งไม่ใช่วิธีที่สโมสรฟุตบอลส่วนใหญ่คิด และไม่ใช่ เชลซี แน่นอน
นี่คือตัวอย่าง
- สโมสร A เซ็นสัญญากับผู้เล่นด้วยค่าตัว 50 ล้านปอนด์ และให้สัญญา 5 ปีมูลค่า 100,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์แก่เขา
- สโมสร B เซ็นสัญญากับผู้เล่นฟรีและตกลงที่จะจ่ายเงินให้เขาประมาณ 400,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์
- นักเตะคนไหนที่คุณคิดว่าแพงกว่ากันเมื่อเทียบรายปี?
- หากคำตอบของคุณคือการเซ็นสัญญากับ สโมสร B แสดงว่าคุณมาถูกทางแล้ว
- ค่าจ้างรายสัปดาห์ 400,000 ปอนด์เท่ากับเงินเดือนต่อปีที่มากกว่า 20 ล้านปอนด์เล็กน้อย
- ในขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมของค่าตัว 50 ล้านปอนด์ ตัดจำหน่ายสำหรับสัญญา 5 ปีกับเงินเดือน 100,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ในบัญชีอยู่ที่ประมาณ 15 ล้านปอนด์
* อันนี้ผมขออธิบายเพิ่มเองนะ เผื่อคนไม่เข้าใจ *
- สโมสร B เซ็นฟรี แต่ค่าเหนื่อยสัปดาห์ละ 400K = 20.8 ลป ต่อปี
- สโมสร A ซื้อ ตัว 50 ลป เซ็น 5 ปี เวลาลงบัญชีรายจ่ายจะหารตามอายุสัญญา
- 50 หาร 5 = ลงบัญชีปีละ 10 ลป ไปอีก 5 ปี
- ค่าเหนื่อยสัปดาห์ละ 100K = 5.2 ลป ต่อปี มารวมการลงบัญชีค่าตัวต่อปีอีก 10 ลป
- เท่ากับว่าสโมสร A มีรายจ่ายในตัวนักเตะคนนี้ที่ลงบัญชีเป็น ปีละ 10 + 5.2 = 15.2 ลป ต่อปี ครับ
- เพราะงั้นในบทความถึงบอกว่า สโมสร B เซ็นนักเตะมาแพงกว่า เพราะคิดจากค่าใช้จ่ายรายปีครับ
* ถัดจากนี้คือไปต่อกับบทความนะ *
- เมื่อพิจารณาจากบริบทนี้ เป็นไปได้มากว่าการซื้อนักเตะที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ จริงๆ แล้วอาจเป็นการย้ายของ ฮาลันด์ ไป แมนซิตี้ ในช่วงซัมเมอร์ปี 2022
- เมื่อมีการเพิ่มเงินเดือนจำนวนมาก โบนัสการเซ็นสัญญา และ ค่าธรรมเนียมเอเย่นต์
- ถึงค่าตัวจะราคาถูกแค่ 51 ล้านปอนด์จาก ดอร์ทมุนด์
- มีการพูดถึงอย่างกว้างขวางว่า เชลซี ใช้ประโยชน์จากขีดจำกัดทางกฎหมายของการตัดจำหน่าย ( เซ็นสัญญายาว เพื่อหารหลายๆปี นั่นแหละ )
- เพื่อให้เงินใช้จ่ายของพวกเขาดำเนินต่อไปได้ การเซ็นสัญญาในเดือนมกราคมทั้งหมดของพวกเขาเซ็น 7-8 ปี ทำให้ต้นทุนบัญชีรายปีของพวกเขาลดลง
- ยูฟ่า ตัดสินว่าตั้งแต่ฤดูร้อนนี้เป็นต้นไป ค่าตัวจะตัดจำหน่ายได้ไม่เกิน 5 ปีเท่านั้นโดยไม่คำนึงถึงอายุสัญญา
- และพรีเมียร์ลีกมีแนวโน้มที่จะดำเนินการตามความเหมาะสมไม่ช้าก็เร็ว
- แต่ถึงแม้จะปิด “ช่องโหว่ของ FFP” เหล่านี้แล้ว ค่าตัดจำหน่ายยังคงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการช่วยเพิ่มกำลังการใช้จ่ายของ เชลซี
- และพวกเขาใช้กฎนี้แล้วได้ผลดีก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงกฎ
- ยิ่งไปกว่านั้น เชลซี จะไม่ได้เล่นในรายการยุโรปในฤดูกาลนี้ ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะอยู่ในกฎของ ยูฟ่า ในตอนนี้
- แน่นอนว่าพวกเขาหวังว่าพวกเขาจะกลับมาถ้วยยุโรปในฤดูกาลหน้า
- แต่พรีเมียร์ลีกให้เวลามากขึ้น ดังนั้น เชลซี จึงมีเวลามากขึ้นในการแก้ปัญหา ( อธิบายง่ายๆก็ พรีเมียร์ลีก ยังไม่แก้กฎเป็น 5 ปี เชลซี เลยมีโอกาสเซ็นยาวหารเยอะเพิ่มอีก 1 ปี เพื่อแก้ปัญหาของทีม )
- ดังนั้นพวกเขาจึงเชื่อว่าพวกเขาไม่เป็นไร ส่วนคนอื่นไม่แน่ใจ
2. เชลซี ขายออกด้วย ไม่ใช่แค่ซื้อ แต่มันเพียงพอหรือไม่ ?
- Boehly และ Clearlake สร้างรายได้มากกว่า 250 ล้านปอนด์จากการขายผู้เล่นในช่วง 3 ตลาดซื้อขายที่ผ่านมา
- มีการทำเงินประมาณ 200 ล้านปอนด์ในช่วงซัมเมอร์นี้ โดยหลักๆ ได้จากการขาย ฮาแวทย์ , เมาท์ , โควาซิส และ คูลิบาลี่ กับ เมนดี้ ไปสโมสรในซาอุดีอาระเบียโปรลีก
- ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้ใกล้เคียงกับความสมดุลของค่าตัวที่ซื้อนักเตะของ เชลซี
- แต่สำหรับจุดประสงค์ทางบัญชี ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น
- ค่าตัวจากการขายผู้เล่นจะลงบัญชีเต็มจำนวนในบัญชีทันที ลบด้วยค่าตัดจำหน่ายที่เหลืออยู่ของผู้เล่น
* อันนี้ผมขออธิบายเพิ่มเองนะ เผื่อคนไม่เข้าใจ *
- สมมุติ เชลซี ซื้อ นาย A 50 ลป เซ็น 5 ปี = ลงบัญชีรายปี 10 ลป ไปอีก 5 ปี
- ใช้ไป 3 ปี เหลือสัญญา 2 ปี อาร์เซนอล มาซื้อไป 50 ลป
- ตอนลงบัญชีจะเอาค่าตัว 50 ลป มาลบ การลงบัญชีรายปีที่เหลืออยู่ ในที่นี้คือ เหลือสัญญา 2 ปี = 10 ลป 2 ปี = 20 ลป
- เท่ากับว่า เชลซี ได้กำไรจากการขายนี้ 50 - 20 = 30 ลป ครับ
- ส่วนตัวเด็กปั้น ไม่มีค่าตัวตอนซื้อมา เพราะปั้นเอง เงินค่าตัวที่ขายได้ จะลงบัญชีเต็มๆเลย
- ตลาดนี้ เชลซี เลยเน้นขายเด็กปั้นเยอะเลย เพื่อเอาเงินเข้าบัญชีเต็มๆนี่แหละครับ
* ถัดจากนี้คือไปต่อกับบทความนะ *
- ข่าวดีสำหรับ โบลี่ย์ และ เคลียร์เลค คือผู้เล่นส่วนใหญ่ที่พวกเขาขายในตลาดนี้
- อยู่ที่สโมสรนานพอที่จะมีมูลค่าทางบัญชีที่เหลืออยู่ค่อนข้างน้อย ( สัญญาเหลือน้อย การลงบัญชีรายปีที่เหลืออยู่เลยน้อย พอเอามาลบจากค่าตัวเลยได้กำไรเยอะ )
- หรือเป็นผู้ที่มาจากอคาเดมี่ของสโมสร ซึ่งจะได้กำไรเต็มๆเมื่อขาย
- ฮาแวทย์ , เมาท์ , โควาซิช แค่ 3 คนนี้ก็ทำกำไรในทางบัญชีให้กับ เชลซี ได้เกือบ 100 ล้านปอนด์
- ในทางทฤษฎีนั้นทำให้ เชลซี สามารถใช้เงินได้มากถึง 500 ล้านปอนด์ในค่าตัวนักเตะที่เซ็นสัญญา 5 ปี โดยไม่ต้องให้สโมสรติดลบจากการซื้อขายผู้เล่นในทางบัญชีเลย
- แน่นอนว่ารายได้จะต้องเข้ามาอย่างสม่ำเสมอในช่วงห้าปีเพื่อให้ ชำระ ค่าตัวเท่าเข้ามาได้ตลอดสัญญา 5 ปี
* ขอแวะอธิบายเพิ่ม เผื่อคนไม่เข้าใจ *
- อธิบายง่ายๆ ขาย โควา ไค เมาท์ ในทางบัญชี เชลซี บวกไป 100 ล้านปอนด์
- เลยทำให้สามารถซื้อนักเตะ 500 ล้านปอนด์ ที่เซ็นสัญญา 5 ปี ( ก็ 500 หาร 5 เท่ากับลงบัญชี ปีละ 100 ล้าน ไปอีก 5 ปี รายจ่ายรายปีเลยพอดีเท่ากับที่ได้กำไรจากการขาย 3 คนนั้นมา ) ได้โดยไม่ติดดัวแดง
- อันนี้เขาเปรียบเปรยเฉยๆนะ ทำจริงไม่ได้หรอก ปีนี้ลงบัญชีได้ 100 ล้านจริง แต่อีก 4 ปีข้างหน้าก็ต้องหากำไรมาลงบัญชีอีกปีละ 100 ล้านไปเรื่อยๆ ซึ่งลำบากตายห่าเลย
* ถัดจากนี้คือไปต่อกับบทความนะ *
- เห็นได้ชัดว่าสโมสรใหญ่ๆ มีพื้นที่มากกว่าในการสู้รบในตลาดซื้อขายนักเตะโดยไม่ทำผิดกฏของ FFP
- และข้อจำกัดเองก็คลายลง ตั้งแต่ฤดูกาล 2023-24 เป็นต้นไป
- สโมสรที่ได้รับการตัดสินว่ามีสุขภาพทางการเงินที่ดีอาจได้รับอนุญาตให้ขาดทุนได้มากถึง 77 ลป ( 90 ล้านยูโร ) ในช่วงระยะเวลาตรวจสอบสามปี
- ซึ่งเพิ่มเป็นสามเท่าของวงเงินเดิมที่ 25 ลป ( 30 ล้านยูโร )
- เนื่องจากบัญชีของสโมสรจะได้รับการเผยแพร่เกือบหนึ่งปีหลังจากดีลที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้น
- ปัจจุบันยังเร็วเกินไปที่จะรู้ว่าการใช้จ่ายในปัจจุบันของ เชลซี จะทำให้พวกเขาขาดทุนหรือกำไร
- แต่ในแง่ของการแตะตัวเลขขาดทุนเกิน 77 ล้านปอนด์ในรอบ 3 ปี
- เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงว่าบัญชีของปีที่แล้วชี้ให้เห็นว่า เชลซี ขาดทุน 121 ล้านปอนด์
- ฤดูกาลก่อนหน้านั้นขาดทุน 156 ล้านปอนด์ ซึ่งมากเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก
- ดังนั้นสโมสรจะต้องเริ่มสร้างกำไรในเร็วๆ นี้ ไม่ว่าจะเป็นการขายนักเตะที่เพิ่มขึ้น ข้อตกลงการค้าที่ดีขึ้น หรือผลตอบแทน สู่แชมเปียนส์ลีก ( ซึ่งคาดว่าจะทำเงินได้ประมาณ 3-4 ล้านปอนด์ต่อ 1 เกมเหย้า )
4. บิลค่าเหนื่อยที่ลดลง
- ในระหว่างการตรวจสอบสถานะทางการเงินก่อนการเทคโอเวอร์เมื่อปีที่แล้ว Boehly และ Clearlake ระบุว่า Roman Abramovich จ่ายเงินอย่างมีความสุขในสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็น " เบี้ยประกันภัยของ Chelsea " ในแง่ของเงินเดือนผู้เล่น
- ค่าจ้างพื้นฐานนั้นสูงกว่าอัตราตลาด โดยแทบไม่มีสิ่งใดเชื่อมโยงกับสิ่งจูงใจตามผลงาน เช่น การเข้าร่วม UCL
- การเปลี่ยนแปลงของทีมจำนวนมหาศาลที่ สแตมฟอร์ด บริดจ์ ในปีที่ผ่านมานั้นมีความสำคัญพอๆ กับการลดมูลค่าสัญญาของนักเตะ
- Boehly และ Clearlake มุ่งมั่นที่จะลดภาระผูกพันด้านเงินเดือนค่าเหนื่อยของสโมสรให้อยู่ในระดับตลาด
- และพวกเขาตระหนักดีว่าความคาดหวังด้านรายได้ของนักฟุตบอลมักจะเพิ่มขึ้นเมื่อพวกเขาอายุมากขึ้น
- นับตั้งแต่การปรับโครงสร้างการดำเนินงานฟุตบอลโดยมี ลอเรนซ์ สจ๊วร์ต และ พอล วินสแตนลีย์ ผู้อำนวยการกีฬาร่วมกันเมื่อต้นปี 2023
- เชลซี ได้ให้ความสำคัญกับผู้เล่นอายุ 23 ปีหรือต่ำกว่านั้น โดย เอ็นคุนคู , ดิซาซี่ และ ซานเชส เท่านั้นที่เป็นข้อยกเว้น
- ผู้เล่นอายุน้อยมีแนวโน้มที่จะคล้อยตามฐานเงินเดือนที่ต่ำลงด้วยสิ่งจูงใจด้านผลงาน ซึ่งเปิดโอกาสให้ เชลซี เริ่มต้นด้วยค่าเหนื่อยในระดับที่เหมาะสมกว่า
- และให้รางวัลแก่ผู้เล่นที่ทำผลงานได้ดีที่สุดด้วยการจ่ายเงินโบนัสที่เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
- เกือบจะแน่ใจว่า ลาเวีย จะได้รับค่าจ้างจาก เชลซี ต่ำกว่า วอร์ด-พราวส์ อดีตเพื่อนร่วมทีม เซาแธมป์ตัน ที่ย้ายไป เวสต์แฮม
- เชลซี ยังคงมุ่งมั่นต่อสัญญาที่ยาวขึ้นแม้ว่าผลประโยชน์จากค่าตัดจำหน่ายจะลดลงก็ตาม
- Boehly และ Clearlake เชื่อว่าพวกเขาให้ความปลอดภัยที่มากขึ้นแก่ผู้เล่นและสโมสรได้รับการคุ้มครองมากขึ้นตามมูลค่าทรัพย์สินของพวกเขา
- หวังว่าเงินเดือนที่ต่ำลงทั่วกระดานจะหมายถึงผู้เล่นที่ผิดหวังที่ เชลซี จะถูกปล่อยออกไปได้ไม่ยาก
- โดย ลูกากู และ ซีเยค สองคนสุดท้ายที่ได้รับค่าจ้างอย่างฟุ่มเฟือยในยุค อับราโมวิช
- พวกเขายังคงมีคนที่ได้รับค่าเหนื่อยสูงอยู่บ้าง เช่น สเตอริ่ง และ เอ็นคุนคู
- แต่โดยรวมแล้ว Boehly และ Clearlake เชื่อว่าพวกเขาช่วยประหยัดเงินค่าเหนื่อยรายปีสำหรับทีมชุดใหญ่ได้หลายสิบล้านปอนด์
- ซึ่งเป็นเงินที่พวกเขานำมาใช้ใหม่เพื่อใช้จ่ายในค่าซื้อตัวได้
5. กลยุทธ์ของ เชลซี ไม่ได้ปราศจากความเสี่ยง
- Boehly และ Clearlake ได้สร้างทีมของ Chelsea ขึ้นมาใหม่โดยพื้นฐานแล้วเป็นพอร์ตการลงทุน
- คอลเลกชั่นของนักฟุตบอลอายุน้อยที่มีพรสวรรค์ที่มุ่งมั่นใน Stamford Bridge ในช่วงปีที่ดีที่สุดของพวกเขา
- แต่มูลค่าการซื้อขายของนักเตะ อาจลดลงและเพิ่มขึ้นโดยขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ ตามพัฒนาการของแต่ละคน
- ไม่ใช่การเซ็นสัญญาทั้งหมดที่จะประสบความสำเร็จ
- แต่การระบุนักเตะที่มีความสามารถและทักษะการพัฒนาของ ทีมงานที่นำโดย สจ๊วต และ วินสแตนลี่ย์ ได้รับการสนับสนุนเพื่อให้แน่ใจว่าความสำเร็จจะมีมากกว่าความล้มเหลว
- หากไม่เป็นเช่นนั้น เชลซี น่าจะทำผลงานในสนามได้ต่ำกว่าปกติ และค่าตัวที่ตัดจำหน่ายเหล่านี้จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะจำกัดทางเลือกในการแก้ไขเส้นทางในอนาคต
- หนึ่งในทีมที่เก่าแก่ที่สุดในพรีเมียร์ลีกถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นทีมที่อายุน้อยที่สุดโดยเจ้าของทีมที่พยายามทำบางอย่างที่คล้ายกับรูปแบบการสรรหานักเตะของ โมนาโก , RB ไลป์ซิก และ ไบรท์ตัน
- เชลซี ต้องสร้างความสมดุลให้กับความต้องการทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนานักเตะพรสวรรค์รุ่นเยาว์ที่พวกเขารวบรวมไว้เพื่อตัวเองและเพื่อผู้อื่น
- ความเสี่ยงนี้ไม่เคยมีใครเดินหรือพยายามแม้แต่จะลอง
- คุณสามารถชนะพรีเมียร์ลีกหรือแชมเปียนส์ลีกด้วยผู้เล่นอายุน้อยได้หรือไม่ ?
- การรวมตัวกันของผู้เล่นส่วนใหญ่ในกลุ่มอายุเดียวกันจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนารูปแบบห้องแต่งตัวที่สร้างสรรค์ขึ้นจากการผสมผสานระหว่างเยาวชนและนักเตะมากประสบการณ์ที่ดีที่สุดหรือไม่ ?
- Boehly และ Clearlake กำลังเดิมพันกับคำตอบของคำถามเหล่านี้
- และแนวทางของพวกเขาในการซื้อขายนักเตะและการสร้างทีมทำให้ Chelsea อยู่บนเส้นทางสู่ความสำเร็จด้านกีฬาที่ยั่งยืนรวมถึงการเติบโตทางการเงินหรือไม่
- ทุกคนในวงการฟุตบอลจะเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
สรุปสั้นๆโดยผมเอง
- ไอ้การเซ็นยาว หารหลายๆปี ( เขาเรียก ค่าตัดจำหน่าย ) ทำให้ เงินรายจ่าย กระจายไปหลายปี และ รายจ่ายรายปีน้อยลง เลยมีเพดานให้ใช้เงินได้มากขึ้น
- อันนี้เป็นจุดสำคัญที่ช่วย เชลซี ซึ่ง พรีเมียร์ลีค มันยังไม่แก้ตาม ยูฟ่า ที่ลิมิต 5 ปี
- ทำให้ เชลซี ยังใช้เงินเยอะๆได้เหมือนเดิม เพราะปีนี้ไม่ได้ไป ยูฟ่า
- แต่มันก็มีความเสี่ยงเพราะ มันจะเป็นดินพอกหางหมู รายจ่ายก้อนใหญ่ในบัญชีรออยู่อีก 7 - 8 ปี
- เพราะงั้น ตัวที่ซื้อเข้ามา ต้องทำผลงานได้ดีตามที่คาดหวัง เชลซี ถึงจะรอด
- แปลง่ายๆก็ ตัวที่ทุ่มซื้อมาในช่วงนี้จะต้องโหดพอที่จะแบกทีมได้ ปีถัดๆไปจากนี้จะได้ไม่ต้องลงทุนเยอะแล้ว
- ถ้าในอนาคตไม่ต้องลงทุนเยอะแล้ว ก็จะโอเคขึ้น ไอ้ท็อดด์ ก็จะไปลงทุนดูดเด็กมาปั้นขายทำเงินอย่างเดียว
- อีกข้อก็ เชลซี ลดเพดานเงินเดือนลง โดยการเซ็นค่าเหนื่อยต้นน้อยๆ เพ่มในส่วนของโบนัสตามผลงานในสนามแทน
- เป็นอีกเหตุผลที่เลือกดาวรุ่ง เพราะไม่ค่อยเรียกร้องเงินเดือนสูง เหมือนตัวอายุเยอะที่มองความมั่นคงเป็นหลัก
- การปล่อยตัวค่าเหนื่อยแพงออกไปทำให้ เชลซี ลดเพดานค่าเหนื่อยได้เยอะ
- แต่ยังมีความเสี่ยงที่จะผิด FFP ยูฟ่า อยู่ ถ้าปีหน้าได้ไป UCL เขาจะมีตรวจย้อนหลัง 3 ปีล่าสุดเหมือนกัน
- ห้ามขาดทุนรวมเกิน 77 ล้านปอนด์ ( 90 ล้านยุโร )
- เพราะงั้นปีนี้ เชลซี ก็ต้องเร่งหาเงินเหมือนกัน ไม่ว่าจะทางไหน
- จบ อันไหนแปลผิดแก้ให้ด้วยนะ เยอะเกิน ผมมึนๆงงๆละ