BLOG BOARD_B
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Email: sale@soccersuck.com
ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออนไลน์
หัวหน้าแมวมอง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Dec 2013
ตอบ: 39782
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 21:57
รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา


ในแผนที่ลงด้วยสีเขียว คือ ประเทศที่มีวัฒนธรรมลาตินอย่าง อิตาลี ฝรั่งเศส โรมาเนีย โปรตุเกส สเปน จึงเรียกประเทศที่มีวัฒนธรรมลาติน ว่า ลาตินอเมริกา

- เพียงเวลาไม่นานนับตั้งแต่รัฐบาลฝั่งซ้ายขึ้นครองอำนาจในลาตินอเมริกา พร้อมเดินหน้านโยบายรัฐสวัสดิการ จำนวนคนยากจนเช่นเดียวกับความเหลื่อมล้ำก็ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ในขณะที่เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนคือเฉลี่ยที่ 4% เป็นเวลาหนึ่งทศวรรษ เรียกได้ว่าฉีกทุกตำราเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม

- ความแตกต่างสำคัญระหว่างรัฐสวัสดิการของลาตินอเมริกากับยุโรป คือแหล่งที่มาของเงินสวัสดิการรัฐ รัฐบาลภูมิภาคยุโรปใช้วิธีการเก็บภาษีและเงินสมทบเพื่อการประกันสังคมในสัดส่วนที่สูงลิ่ว ขณะที่รัฐบาลฟากลาตินอเมริกากลับไม่เพิ่มภาษี แต่ใช้รายได้จากการขายสินค้าโภคภัณฑ์ที่ราคาผันผวนตามตลาดโลก รัฐบาลจึงเผชิญกับปัญหาทันทีที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เผชิญภาวะตกต่ำ



ในภาพอธิบายชัดว่า ประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกาเป็นได้แค่บริวาร ที่รองมือรองตีนอเมริกา รายละเอียดคือ นายทุนอเมริกา เข้าไปสูบเลือดสูบเนื้อในประเทศภูมิภาคนี้ ในขณะที่นายทุนอเมริการวยเอา ด้วยการสนับสนุนรัฐบาล แต่คนในประเทศนั้นกลับจนลง ไม่มีโอกาสลืมตาอ้าปาก สูบทรัพยากรอย่างเช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ผลไม้พืชเกษตรกล้วยหอม วัว ไก่ เหมืองแร่ รวมทั้งแทรกแซงการเมือง จนถึงปัจจุบัน เป็นต้น

- ปัญหาที่รุมเร้าเสมือนปมเชือกที่ยากจะแก้ และอาจเป็นไปไม่ได้ในทางการเมือง เพราะคงไม่มีพรรคการเมืองใดที่ชูนโยบายปรับลดสวัสดิการ ลดค่าแรงขั้นต่ำ แก้กฎหมายไม่ให้คุ้มครองแรงงาน หรือพยายามขัดแข้งขัดขาบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นแหล่งทุนหลักของพรรค แล้วจึงได้รับการเลือกตั้งเข้าไปบริหารประเทศ เกิดเป็นภาวะจะไปต่อก็ลำบาก จะถอยกลับก็ทำไม่ได้



ในอดีต โซเวียต พยายามเข้ามาแผ่อิทธิพลในภูมิภาคลาตินอเมริกา เพื่อหวังให้ทวีปอเมริกาใต้เป็นคอมมิวนิสต์ เป็นสนามแข่งกันขยายอิทธิพล ซึ่งทวีปอเมริกาใต้ เป็นภูมิภาคอิทธิพลของอเมริกา จึงทำให้อเมริกาสนับสนุนเผด็จการทหารสุดขีด ให้ทหารในประเทศนั้นฆ่าใครกี่คนก็ยอม เพื่อไม่ให้มีคอมมิวนิสต์เข้้ามาในภูมิภาคลาตินอเมริกา


ย้อนกลับไปเมื่อปี 2516 ขณะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตการเมืองจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ที่ประชาชนเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สหรัฐอเมริกาก็เดินหมากสนับสนุนรัฐประหารในประเทศชิลี ล้มรัฐบาลสังคมนิยมที่มาจากการเลือกตั้งของประธานาธิบดี ซัลบาดอร์ อาเยนเด (Salvador Allende) และเปิดทางให้ ออกุสโต ปิโนเชต์ (Augusto Pinochet) เผด็จการปีกขวาผู้โด่งดัง ขึ้นครองอำนาจพร้อมกับทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจหัวกะทิจากมหาวิทยาลัยชิคาโก

นี่คือจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปเศรษฐกิจในภูมิภาคสู่ระบบเสรีนิยมใหม่ ที่เน้นลดการใช้จ่ายและเงินช่วยเหลือจากรัฐ ผ่อนปรนกฎระเบียบภาคเอกชน สนับสนุนการค้าเสรีและการลงทุนจากต่างชาติ แล้วปล่อยให้ ‘กลไกตลาด’ จัดการทุกอย่าง

ส่วนในประเทศอื่นๆ เช่น อาร์เจนตินา ชิลี โบลิเวีย เอกวาดอร์ อุรุกวัย นิการากัว และฮอนดูรัส ก็มีโครงการลักษณะคล้ายคลึงกัน ประเทศเหล่านี้มองข้ามปัญหาหนี้สาธารณะและดำเนินนโยบายเพิ่มเงินช่วยเหลือในกรณีตกงาน เพิ่มสวัสดิการและเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รวมถึงลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ามหาศาล



ภาพจาก BBC

บทเรียนจากความล้มเหลว

หนึ่งในความแตกต่างสำคัญระหว่างรัฐสวัสดิการของลาตินอเมริกากับยุโรปคือแหล่งที่มาของเงินสวัสดิการรัฐ รัฐบาลภูมิภาคยุโรปใช้วิธีการเก็บภาษีและเงินสมทบเพื่อการประกันสังคมในสัดส่วนที่สูงลิ่ว ขณะที่รัฐบาลฟากลาตินอเมริกากลับไม่เพิ่มภาษี แต่ใช้รายได้จากการขายสินค้าโภคภัณฑ์ที่ราคาผันผวนตามตลาดโลก ถึงแม้ว่ารัฐบาลฝ่ายซ้ายของลาตินอเมริกาจะโชคดีต่อเนื่องยาวนานนับทศวรรษ จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รัฐบาลก็ไม่มีเงินเหลือเพียงพอที่จะส่งมอบสวัสดิการรัฐตามที่ให้คำมั่นไว้กับประชาชน

ตัวชี้วัดที่เป็นสัญญาณว่ารัฐสวัสดิการของลาตินอเมริกาไม่ยั่งยืน คือการจัดสรรงบประมาณระหว่างการใช้จ่ายอุดหนุนจุนเจือประชาชนกับการสร้างผลิตภาพระยะยาวของระบบเศรษฐกิจ แม้ว่าหลายโครงการจะให้ความสำคัญกับการศึกษาและสุขภาพ แต่เงินก้อนนั้นนับว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมากๆ เมื่อเทียบกับโครงการประชานิยม เช่น อัดฉีดเงินบำเหน็จบำนาญให้กับพนักงานรัฐ

นอกจากนี้ เหล่ารัฐบาลฝั่งซ้ายยังไม่แตะต้องการผูกขาดของบริษัทยักษ์ใหญ่ในภูมิภาค เช่น ในประเทศชิลีที่บริษัทที่ใหญ่ที่สุด 50 แห่ง สร้างรายได้คิดเป็น 70% ของจีดีพีทั้งประเทศ ส่วนในโคลอมเบีย รัฐวิสาหกิจขนาดยักษ์ก็มีรายได้เท่ากับ 25% ของบริษัทชั้นแนวหน้า 100 แห่งของประเทศ มีการศึกษาพบว่า บริษัทในลาตินอเมริกาจะมีอัตรากำไรสูงกว่ากลุ่มประเทศโออีซีดี ซึ่งสะท้อนว่ามีอำนาจต่อรองในตลาดสูงกว่า ซ้ำร้ายคือรัฐบาลกลับกลายเป็นผู้ช่วยปกป้องภาวะตลาดแข่งขันน้อยราย โดยกีดกันผู้เล่นหน้าใหม่ผ่านกฎระเบียบที่ไม่สมเหตุสมผล สุดท้ายบริษัทที่หลงเหลืออยู่จึงเป็นบริษัทเก่าแก่ ไร้นวัตกรรม และผลิตภาพต่ำเตี้ยเรี่ยดิน

แต่ปัญหาที่ชวนปวดหัวมากที่สุดคือธุรกิจนอกระบบ แรงงานในประเทศบราซิลและเปรูมากกว่าครึ่งคือแรงงานนอกระบบ ขณะที่ประเทศอย่างโบลิเวียมีแรงงานนอกระบบสัดส่วนสูงถึง 82% แรงงานนอกระบบเหล่านี้จะมีผลิตภาพต่ำกว่าแรงงานในระบบ ที่สำคัญคือกิจการที่พยายามหลบซ่อนอยู่นอกระบบมักตั้งใจไม่ขยับขยายและไม่ใช้บริการธนาคาร


Spoil


เราก็ควรดูบทเรียนจาก ภูมิภาคลาตินอเมริกา ซึ่งพรรคก้าวไกลพยายามนำเสนอ แต่เราก็ยังต่างจากในภูมิภาคลาตินอเมริกาตรงที่ ทางก้าวไกล ยังกล้าแตะนายทุนบางกลุ่ม แต่ยังไม่ได้บริหารชัดเจนไม่แน่ใจว่ากล้าแตะขนาดไหน ทางลักษณะของพรรคก้าวไกลที่ดูไปฝั่งซ้ายที่ค่อนข้างเห็นได้ชัด แต่ผมยังมองว่า ก้าวไกลต่อให้ได้มาบริหารก็ไม่ได้ให้เป็นรัฐสวัสดิการทันที แล้วอีกอย่างที่ยากคือ แรงงานนอกระบบ ที่ส่วนใหญ่เป็นคะแนนที่กาให้ฝั่ง ก้าวไกล

นับเป็นภูมิภาคที่ซวยมาก คือ มีอเมริกาอยู่ในภูมิภาค ที่เหยียบหัวให้มิดจมดินไว้ ไม่ให้เจริญขึ้นมา เพื่อเข้าไปสูบเลือดสูบเนื้อทรัพยากรในประเทศ แทรกแซงการเมืองทุกประเทศ เพื่อไม่ให้หันหลังหนีอเมริกา ต่อให้ไม่หันไปซบรัสเซีย กับ จีน ทางอเมริกาก็ไม่ยอมให้หันหลังอยู่ดี แม้จะหลุดพ้นช่วงสงครามเย็น แล้วก็ตาม ก็ยังแทรกแซง ไปวุ่นวายไม่เลิก เพื่อความปลอดภัยของแผ่นดินแม่อเมริกา กับ ความเป็นอยู่ดีของชาวอเมริกา การที่ประเทศเหล่านั้นไม่เจริญและไม่สามารถพัฒนาได้ จึงเป็นผลดีกับอเมริกามากกว่าผลเสีย

แต่รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเริ่มต้นจากฝั่งขวานี้แหละ แต่รัฐบาลฝ่ายซ้ายในหลายๆประเทศก็พยายามทำ ทำรัฐสวัสดิการถึงแม้ต่อต้านนายทุน แต่ก็ไม่กล้าไปแตะนายทุนมากนัก เพราะภูมิภาคนี้ความเถื่อนสูง ไม่โดนนายทุนในประเทศเก็บ ก็โดนนายทุนจากอเมริกาเก็บ แล้วที่ไม่แตะคือ เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ถูกผูกกับอเมริกาอย่างมาก จึงขาดอเมริกาไม่ได้ จึงทำให้การทำรัฐสวัสดิการ ไม่มีความแข็งแรงมั่นคงและยั่งยืน ทำให้น้อยประเทศที่กล้าแข็งข้อ หรือ งัดข้ออเมริกา แบบ นิการากัว คิวบา กับ เวเนซุเอลา

ถ้าเราอยากเป็นประเทศสวัสดิการ ต้องปะทะนายทุนไม่ให้มีอิทธิพลฉากหลังการเมืองเกินไป แบบ อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา ต้องยอมให้แรงงานนอกระบบเข้าระบบ พวกเศรษฐกิจนอกระบบที่เอาขึ้นมาบนดินได้อย่าง บ่อนเสรี ขายของตามข้างทาง เอาขึ้นมาระบบให้ได้ วางรากฐานอย่างแข็งแกร่ง ในด้านการเงิน เก็บภาษีประชาชนต้องคุ้มค่าจริงๆ อย่างประเทศทางยุโรปตะวันตก อย่างน้อยเรายังดีตรงที่ ไม่ได้อยู่ในภูมิภาคที่อเมริกาที่มองว่า ถ้าเจริญแล้วเป็นภัยคุกคามต่ออเมริกา

แต่ไม่ใช่เป็นรัฐสวัสดิการมากเกินจนเป็นประชานิยมก็ละกัน เอาจริงๆบทความในเว็บคือบอกรัฐสวัสดิการ แต่มันคือประชานิยม
แก้ไขล่าสุดโดย ปีศาจแดงดำ เมื่อ Sun Jul 23, 2023 22:02, ทั้งหมด 2 ครั้ง
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออนไลน์
ผู้จัดการทีมชุดเยาวชน
Status: ไม่ได้มากมายเลย !!
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 13 Mar 2018
ตอบ: 42190
ที่อยู่: เกาะแคนดี้
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:11
Top Comment [RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
KaiserFranz พิมพ์ว่า:
มันมี fail กับ success นะ รัฐสวัสดิการ

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวียอันนี้คือ success

ประเด็นคืออะไรทำให้

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวีย success ในลาตินเมกา fail

 


ต้องรวยและประชากรน้อย (ทรัพยากรเฉลี่ยต่อหัวเยอะ) เมกาประเทศรวยสุดในโลกยังทำไม่ได้เลย
13
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ดาวซัลโวโอลิมปิก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 18 May 2022
ตอบ: 10592
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 21:59
[RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
เดาชื่อ จขกท ถูก
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ข.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 20 Jul 2008
ตอบ: 5151
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:06
[RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
มันมี fail กับ success นะ รัฐสวัสดิการ

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวียอันนี้คือ success

ประเด็นคืออะไรทำให้

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวีย success ในลาตินเมกา fail

1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
หัวหน้าแมวมอง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Dec 2013
ตอบ: 39782
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:07
[RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
SeQueda พิมพ์ว่า:
เดาชื่อ จขกท ถูก  


ข่าวต่างประเทศจะมีใครนอกจากผม ไม่ต้องเดาก็ได้ครับ

ผมก็อยากให้ดูไงว่า รัฐสวัสดิการในภูมิภาคลาตินอเมริกา เป็นยังไง ก็เท่านั้นเอง ทำไมถึงเละไม่เป็นท่า ในมุมมองผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วยกับรัฐสวัสดิการตอนแรก แต่ถ้าเป็นระบบทุนนิยมต่อไป ก็ทำให้นายทุนเข้มแข็งขึ้นไปทุกวัน

จะต้องวางรัฐสวัสดิการ ก็ต้องเรียนรู้จากประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกาก็เท่านั้นเอง ว่าทำไมถึงเละ จากรัฐสวัสดิการเป็นประชานิยมไป ก็เพราะไม่กล้าแตะนายทุนทั้งในประเทศและนอกประเทศอย่างอเมริกา ไงครับ แต่ดีทางก้าวไกลยังกล้าแตะนายทุนบางกลุ่ม รวมทั้งกล้าเอยถึงจีนเทาบ้าง แต่ก็ต้องเอยจีนถูกกฎหมายด้วย

แก้ไขล่าสุดโดย ปีศาจแดงดำ เมื่อ Sun Jul 23, 2023 22:26, ทั้งหมด 1 ครั้ง
5
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
ผู้จัดการทีมชุดเยาวชน
Status: ไม่ได้มากมายเลย !!
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 13 Mar 2018
ตอบ: 42190
ที่อยู่: เกาะแคนดี้
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:11
[RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
KaiserFranz พิมพ์ว่า:
มันมี fail กับ success นะ รัฐสวัสดิการ

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวียอันนี้คือ success

ประเด็นคืออะไรทำให้

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวีย success ในลาตินเมกา fail

 


ต้องรวยและประชากรน้อย (ทรัพยากรเฉลี่ยต่อหัวเยอะ) เมกาประเทศรวยสุดในโลกยังทำไม่ได้เลย
13
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
หัวหน้าแมวมอง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Dec 2013
ตอบ: 39782
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:14
[RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
KaiserFranz พิมพ์ว่า:
มันมี fail กับ success นะ รัฐสวัสดิการ

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวียอันนี้คือ success

ประเด็นคืออะไรทำให้

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวีย success ในลาตินเมกา fail

 


พื้นฐานทางสแกนดิเนเวียวางดีครับ เก็บภาษีคุ้มทุกเม็ด คนรวยก็โดนหนักกว่าคนจน คนจนก็โดนไม่น้อย แล้วคุ้มค่า แต่ในลาตินอเมริกา ซวยตรงที่ ถ้าจะแตะนายทุนในประเทศ ก็มีนายทุนจากอเมริกาครอบงำอีกทีหนึ่ง จึงไม่กล้าไปแตะต้องมากครับ เพราะไปยุ่งมากไป วันดีคืนดีจะโดนเก็บวันไหนไม่รู้ แหลมมากก็อาจจะเป็นทาง CIA เก็บเอง จึงไม่ได้วางรากฐานอะไร ก็จากรัฐสวัสดิการเป็นประชานิยม

ถ้าเราจะวางรากฐาน ก็ต้องปะทะนายทุนครับ ซึ่งบ้านเรายังดีตรงที่ ไม่มีอเมริกามาแทรกแซงสนับสนุนนายทุนอย่างเห็นได้ชัดแบบในภูมิภาคลาตินอเมริกาครับ ขืนอยู่ระบบทุนนิยมมากไป นายทุนก็แข็งขึ้นทุกวันไป ก็ไม่รู้ว่าก้าวไกลจะได้ขึ้นมาบริหารเองในอีกกี่ปี
8
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
หัวหน้าแมวมอง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Dec 2013
ตอบ: 39782
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:17
[RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
แฟล็ปแจ็ค ยอดนักผจญภัย พิมพ์ว่า:
KaiserFranz พิมพ์ว่า:
มันมี fail กับ success นะ รัฐสวัสดิการ

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวียอันนี้คือ success

ประเด็นคืออะไรทำให้

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวีย success ในลาตินเมกา fail

 


ต้องรวยและประชากรน้อย (ทรัพยากรเฉลี่ยต่อหัวเยอะ) เมกาประเทศรวยสุดในโลกยังทำไม่ได้เลย  


มีเยอะทำได้ประเทศเดียวคือเยอรมัน ที่เหลือก็ไม่ รัฐสวัสดิการมาก แต่ก็สวัสดิการดี เช่น สวิส อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส ครับ แต่จะให้คงทนระบบทุนนิยม เดี่ยวนายทุนก็แข็งขึ้นไปทุกวันแบบ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อเมริกา ที่ผู้นำของประเทศยังต้องเดินเข้าหาเอง ไม่กล้าไปแตะ นายทุนในประเทศเหล่านั้น

ประเทศเราโชคดีตรงไม่อยู่ในภูมิภาคลาตินอเมริกาละ ไม่งั้นแตะนายทุน นักการเมืองโดนเก็บรายวันเลยมั้ง ถัาไปแตะพวกนั้น เป็นนายทุนในประเทศแต่ถูกอเมริกาครอบงำอีกที
แก้ไขล่าสุดโดย ปีศาจแดงดำ เมื่อ Sun Jul 23, 2023 22:19, ทั้งหมด 2 ครั้ง
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 4357
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:20
[RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
แฟล็ปแจ็ค ยอดนักผจญภัย พิมพ์ว่า:
KaiserFranz พิมพ์ว่า:
มันมี fail กับ success นะ รัฐสวัสดิการ

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวียอันนี้คือ success

ประเด็นคืออะไรทำให้

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวีย success ในลาตินเมกา fail

 


ต้องรวยและประชากรน้อย (ทรัพยากรเฉลี่ยต่อหัวเยอะ) เมกาประเทศรวยสุดในโลกยังทำไม่ได้เลย  


ทำไม่ได้เพราะโดนขัดขวาง กลุ่มทุนใหญ่ล็อบบี้หนัก

สมัย FDR เคยทำรัฐสวัสดิการนะครับ social security ต่อมาสมัย ปธน แรแกน เมกาก็เอียงขวา เก็บภาษีทุนใหญ่ต่ำๆ รัฐมีบทบาทต่างเศรษฐกิจน้อย และส่งผลจนถึงทุกวันนี้
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
Functional play/Relationism > Positional play

Brazil national team supporter
ออนไลน์
หัวหน้าแมวมอง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Dec 2013
ตอบ: 39782
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:25
[RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
Preside@MTUTD พิมพ์ว่า:
แฟล็ปแจ็ค ยอดนักผจญภัย พิมพ์ว่า:
KaiserFranz พิมพ์ว่า:
มันมี fail กับ success นะ รัฐสวัสดิการ

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวียอันนี้คือ success

ประเด็นคืออะไรทำให้

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวีย success ในลาตินเมกา fail

 


ต้องรวยและประชากรน้อย (ทรัพยากรเฉลี่ยต่อหัวเยอะ) เมกาประเทศรวยสุดในโลกยังทำไม่ได้เลย  


ทำไม่ได้เพราะโดนขัดขวาง กลุ่มทุนใหญ่ล็อบบี้หนัก

สมัย FDR เคยทำรัฐสวัสดิการนะครับ social security ต่อมาสมัย ปธน แรแกน เมกาก็เอียงขวา เก็บภาษีทุนใหญ่ต่ำๆ รัฐมีบทบาทต่างเศรษฐกิจน้อย และส่งผลจนถึงทุกวันนี้  


ขนาดทรัมป์บ้าๆ ยังไม่กล้าไปแตะเลยครับ ไหลตามน้ำไป แต่อาจจะด้วยทรัมป์์เป็นนักธุรกิจด้วยละครับ

กลัวจะชีวิตจะจบแบบ ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ (JFK) ที่ชาวอเมริกาเดาว่าไปงัดนายทุนใหญ่มากๆของอเมริกา จึงถูกสั่บเก็บครับ ทุกวันนี้ CIA จะให้ข้อมูลแก่ประชาชนอเมริกันไม่ได้เลย เป็นปริศนา แต่ก็ไม่ได้ฟันธงนะครับว่า เพราะไปแตะนายทุน แต่ทฤษฎีสมคบคิดนี้ เป็นทฤษฎีที่ชาวอเมริกาเดามากที่สุด

ขนาด อาวุธสงคราม ในอเมริกา ยังไม่สามารถที่จะทำให้ผิดกฎหมายได้ เกลื่อนประเทศทุกวันนี้ เพราะ พ่อค้าอาวุธในอเมริกา นี้แหละครับ ล็อบบี้นักการเมืองในอเมริกาไว้อยู่ นักการเมืองอเมริกาพูดมากก็ไม่ได้
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 4357
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:29
[RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
ปีศาจแดงดำ พิมพ์ว่า:
แฟล็ปแจ็ค ยอดนักผจญภัย พิมพ์ว่า:
KaiserFranz พิมพ์ว่า:
มันมี fail กับ success นะ รัฐสวัสดิการ

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวียอันนี้คือ success

ประเด็นคืออะไรทำให้

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวีย success ในลาตินเมกา fail

 


ต้องรวยและประชากรน้อย (ทรัพยากรเฉลี่ยต่อหัวเยอะ) เมกาประเทศรวยสุดในโลกยังทำไม่ได้เลย  


มีเยอะทำได้ประเทศเดียวคือเยอรมัน ที่เหลือก็ไม่ รัฐสวัสดิการมาก แต่ก็สวัสดิการดี เช่น สวิส อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส ครับ แต่จะให้คงทนระบบทุนนิยม เดี่ยวนายทุนก็แข็งขึ้นไปทุกวันแบบ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อเมริกา ที่ผู้นำของประเทศยังต้องเดินเข้าหาเอง ไม่กล้าไปแตะ นายทุนในประเทศเหล่านั้น

ประเทศเราโชคดีตรงไม่อยู่ในภูมิภาคลาตินอเมริกาละ ไม่งั้นแตะนายทุน นักการเมืองโดนเก็บรายวันเลยมั้ง ถัาไปแตะพวกนั้น เป็นนายทุนในประเทศแต่ถูกอเมริกาครอบงำอีกที  


รัฐสวัสดิการ ยังเป็นระบบทุนนิยมอยู่แล้วเพราะมีกรรมสิทธิ์เอกชน จุดชี้วัดว่าเป็นทุนนิยมมั้ย คือ เรื่องกรรมสิทธิ์เอกชน อย่างจีน ที่ดินเป็นของรัฐทุกฝืนนะครับ ที่เอกชนคือเช่ารัฐอีกที่ เขาเลยเรียกตัวเองว่า สังคมนิยมแบบจีน

รัฐสวัสดิการ คือ ทุนนิยมสีชมพู ทุนนิยมซอฟหวาน ถ้าจะอธิบายง่ายๆ การทำรัฐสวัสดิการคือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจด้วยระบบภาษี และเน้นการบริโภคภายในประเทศ (โดยใช้เงินจากสวัสดิกาหมุนกลับเข้าไป) ไม่ใช่แจกตังแล้วจบ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
Functional play/Relationism > Positional play

Brazil national team supporter
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ข.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 20 Jul 2008
ตอบ: 5151
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:30
[RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
ผมว่า เมกา นี่น่าจะทำยาก ประเทศเค้าสร้างประเทศมา

ต้องบอกเลยว่า รากฐานคือทุนนิยม มาจากกลุ่มทุนจาก ยุโรปทั้งนั้น พวก Capitalist

Rockefeller, JP Morgan, Carnegie

0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 28 Dec 2017
ตอบ: 7834
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:36
ถูกแบนแล้ว
[RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
Preside@MTUTD พิมพ์ว่า:
ปีศาจแดงดำ พิมพ์ว่า:
แฟล็ปแจ็ค ยอดนักผจญภัย พิมพ์ว่า:
KaiserFranz พิมพ์ว่า:
มันมี fail กับ success นะ รัฐสวัสดิการ

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวียอันนี้คือ success

ประเด็นคืออะไรทำให้

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวีย success ในลาตินเมกา fail

 


ต้องรวยและประชากรน้อย (ทรัพยากรเฉลี่ยต่อหัวเยอะ) เมกาประเทศรวยสุดในโลกยังทำไม่ได้เลย  


มีเยอะทำได้ประเทศเดียวคือเยอรมัน ที่เหลือก็ไม่ รัฐสวัสดิการมาก แต่ก็สวัสดิการดี เช่น สวิส อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส ครับ แต่จะให้คงทนระบบทุนนิยม เดี่ยวนายทุนก็แข็งขึ้นไปทุกวันแบบ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อเมริกา ที่ผู้นำของประเทศยังต้องเดินเข้าหาเอง ไม่กล้าไปแตะ นายทุนในประเทศเหล่านั้น

ประเทศเราโชคดีตรงไม่อยู่ในภูมิภาคลาตินอเมริกาละ ไม่งั้นแตะนายทุน นักการเมืองโดนเก็บรายวันเลยมั้ง ถัาไปแตะพวกนั้น เป็นนายทุนในประเทศแต่ถูกอเมริกาครอบงำอีกที  


รัฐสวัสดิการ ยังเป็นระบบทุนนิยมอยู่แล้วเพราะมีกรรมสิทธิ์เอกชน จุดชี้วัดว่าเป็นทุนนิยมมั้ย คือ เรื่องกรรมสิทธิ์เอกชน อย่างจีน ที่ดินเป็นของรัฐทุกฝืนนะครับ ที่เอกชนคือเช่ารัฐอีกที่ เขาเลยเรียกตัวเองว่า สังคมนิยมแบบจีน

รัฐสวัสดิการ คือ ทุนนิยมสีชมพู ทุนนิยมซอฟหวาน ถ้าจะอธิบายง่ายๆ การทำรัฐสวัสดิการคือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจด้วยระบบภาษี และเน้นการบริโภคภายในประเทศ (โดยใช้เงินจากสวัสดิกาหมุนกลับเข้าไป) ไม่ใช่แจกตังแล้วจบ  


สิงคโปร์คือสังคมนิยมใช่มั้ยครับ
เพราะที่ดินร้อยละ 80-90% เป็นของรัฐ

ส่วนตัวผมว่าน่าจะใช่นะ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ข.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 16 Jan 2020
ตอบ: 6327
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:37
[RE]รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา
ถ้าให้ข้อมูลแบบนี้ยินดีครับ
โพสต์บนแอป Soccersuck บน iOS
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

ออนไลน์
หัวหน้าแมวมอง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Dec 2013
ตอบ: 39782
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:42
[RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
Preside@MTUTD พิมพ์ว่า:
ปีศาจแดงดำ พิมพ์ว่า:
แฟล็ปแจ็ค ยอดนักผจญภัย พิมพ์ว่า:
KaiserFranz พิมพ์ว่า:
มันมี fail กับ success นะ รัฐสวัสดิการ

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวียอันนี้คือ success

ประเด็นคืออะไรทำให้

รัฐสวัสดิการ ในสแกนดิเนเวีย success ในลาตินเมกา fail

 


ต้องรวยและประชากรน้อย (ทรัพยากรเฉลี่ยต่อหัวเยอะ) เมกาประเทศรวยสุดในโลกยังทำไม่ได้เลย  


มีเยอะทำได้ประเทศเดียวคือเยอรมัน ที่เหลือก็ไม่ รัฐสวัสดิการมาก แต่ก็สวัสดิการดี เช่น สวิส อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส ครับ แต่จะให้คงทนระบบทุนนิยม เดี่ยวนายทุนก็แข็งขึ้นไปทุกวันแบบ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อเมริกา ที่ผู้นำของประเทศยังต้องเดินเข้าหาเอง ไม่กล้าไปแตะ นายทุนในประเทศเหล่านั้น

ประเทศเราโชคดีตรงไม่อยู่ในภูมิภาคลาตินอเมริกาละ ไม่งั้นแตะนายทุน นักการเมืองโดนเก็บรายวันเลยมั้ง ถัาไปแตะพวกนั้น เป็นนายทุนในประเทศแต่ถูกอเมริกาครอบงำอีกที  


รัฐสวัสดิการ ยังเป็นระบบทุนนิยมอยู่แล้วเพราะมีกรรมสิทธิ์เอกชน จุดชี้วัดว่าเป็นทุนนิยมมั้ย คือ เรื่องกรรมสิทธิ์เอกชน อย่างจีน ที่ดินเป็นของรัฐทุกฝืนนะครับ ที่เอกชนคือเช่ารัฐอีกที่ เขาเลยเรียกตัวเองว่า สังคมนิยมแบบจีน

รัฐสวัสดิการ คือ ทุนนิยมสีชมพู ทุนนิยมซอฟหวาน ถ้าจะอธิบายง่ายๆ การทำรัฐสวัสดิการคือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจด้วยระบบภาษี และเน้นการบริโภคภายในประเทศ (โดยใช้เงินจากสวัสดิกาหมุนกลับเข้าไป) ไม่ใช่แจกตังแล้วจบ  


ผมพิมพ์ไม่ละเอียดเองละครับ แต่รัฐสวัสดิการก็ส่งผลทำให้ มีการเก็บภาษีมากมาย ซึ่งนายทุนแม้จะรวย แต่ก็ไม่ต้องเสียเงินมากขึ้นครับ

แต่พอระบบทุนนิยมมากแบบอเมริกา เอาแค่ชีวิตชาวอเมริกัน ทางรัฐบาลอเมริกา ยังไม่กล้าไปแตะกลุ่มอุตสาหกรรมยารักษาโรคเลยครับ ทรัมป์ก็แพร่มเรื่องไม่ใส่แมส ผมยังคิดในใจเลยว่า อุตสาหกรรมยาสั่งมาเบื้องหลังเปล่านี้แหละ

เอาในทวีปเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ทุกวันนี้แทบจะเป็น จักรพรรดินอกวัง ไปละ สำหรับนายทุน ก็คิดอยู่ว่าทำไมรัฐบาล 2 ประเทศนี้แก้ไขการทำงานหนักของประชาชนไม่ได้ ผมยังคิดเวอร์ๆไปเพราะนายทุนเลยครับ

แต่จีนนี้ ถือเป็นระบอบผสมได้ไหมครับ เพราะรัฐบาลจีนนั้น ดำเนินการประเทศเป็นแบบทุนนิยมไปแล้ว ไม่ใช่คอมมิวนิสต์แบบอุดมคติ แต่พรรคคอมมิวนิสต์มีอำนาจสูงสุด
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะอบต.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 27 Jun 2022
ตอบ: 1732
ที่อยู่: พร้อมพงษ์ไม่ลง จะลงพร้อมเธอ
โพสเมื่อ: Sun Jul 23, 2023 22:43
[RE: รัฐสวัสดิการในลาตินอเมริกาเละสุดขีด ไม่กล้าแตะนายทุนไม่กล้างัดข้อกับอเมริกา]
ถ้าไปอ่านประวัติการเมืองในประเทศพวกนี้น่าสงสาร เป็น banana republic กันก็เพราะอเมริกาต้องการเอาประเทศพวกนี้เป็นแค่เครื่องมือทำกินนี้แหละ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel