สวัสดีครับ
จากกระทู้ที่แล้วเราเทียบสถิติกองหน้ากัน
https://www.soccersuck.com/boards/topic/2307116
วันนี้จะมาเทียบสถิติว่าที่ผู้ท้าชิงตำแหน่งมือ 1 จาก Kepa กันบ้าง
เทียบให้เห็นกันง่ายๆ ว่าใครดีกว่ากัน ดีกว่าตรงไหน หรือใครที่ไม่ควรเอามา
มีสถิติทั้งสิ้น 6 คน รวม Kepa
ประกอบด้วย
* Kepa Arrizabalaga ของเชลซี
* André Onana ของอินเตอร์
* Mike Maignan ของมิลาน
* Robert Sánchez ของไบรท์ตัน
* Diogo Costa ของปอร์โต
* Giorgi Mamardashvili ของบาเลนเซีย
นำสถิติมาจาก Fbref และ Squawka 2 เว็บไซต์สถิติชื่อดัง
https://fbref.com/en/stathead/player_comparison.cgi?request=1&sum=0&dom_lg=1&player_id1=28d596a0&p1yrfrom=2022-2023&player_id2=e9c0c1b2&p2yrfrom=2022-2023&player_id3=fcb38f57&p3yrfrom=2022-2023&player_id4=6a713852&p4yrfrom=2022-2023&player_id5=93fffbcf&p5yrfrom=2022-2023&player_id6=d4b73232&p6yrfrom=2022-2023
https://www.squawka.com/en/comparison-matrix/?compare=lgGazfaKFMWVqkQoGg2YR&utm_source=link-in-bio&utm_medium=social&utm_campaign=link-in-bio-button&utm_content=button-group
วิธีคำนวณ
* สถิติมาจากแค่บอลลีก
* นำสถิติมาแปลงเป็น 100% ของค่าสูงสุดของสถิตินั้นๆ
* หลังจากนั้นนำมาแปลง Scale เป็นคะแนนเต็ม 20 อีกที จะได้ดูง่ายๆแบบเกมส์ FM
หลังจากนั้นก็ทำกราฟฟิคมาเทียบกันให้เข้าใจกันได้ง่ายๆครับ
ทำความรู้จักสถิติกันก่อน
1. การเจอลูกยาก ต่อ 90 นาที
มาจากสถิติ PSxG (Post-Shot Expected Goals) per 90 mintues ซึ่งค่านี้คำนวนโดยตำแหน่งการยิง ความใกล้ ไกล ในการยิงประตูของคู่แข่ง ยิ่งใกล้คะแนนยิ่งสูง เมื่อคำนวณระยะทางการยิงแล้ว คำนวณปัจจัยอื่นอีกต่อนึงคือความยากของลูกยิง เช่นหากลูกที่ยิงเบาและตรงตัว ค่านี้จะต่ำ แต่หากเป็นลูกยิงแรง ยิงเสียบมุม เสียบคาน ค่านี้จะสูง
พูดง่ายๆคำนวณ 2 ต่อ คือระยะทาง+ความยากหลังบอลออกจากเท้า
2. ป้องกันลูกยาก ต่อ 90 นาที
ค่านี้มาจากสถิติ PSxG-GA +/- (Post-Shot Expected Goals minus Goals Allowed) per 90 mintues
ง่ายๆคือ PSxG (ค่าความยากของลูกยิง) ลบด้วย GA (ลูกที่เสีย)
หมายความว่าเสียประตูมากน้อยแค่ไหนหากเทียบกับลูกยากที่เจอ ค่านี้ยิ่งเยอะ ยิ่งแปลว่าเหนียว
สมมติทั้งเกมส์เจอลูกยากระดับ 1.5 แต่เก็บ Clean sheet ได้แปลว่าค่านี้จะ +1.5
กลับกัน ในเกมส์เดียวกันถ้าโดน 3 ลูก ค่านี้จะ -1.5
3. ป้องกันลูกครอสสำเร็จ
มาจากสถิติ Cross Stopped % หรือ Stp% -- Crosses Stopped %
เป็นการออกมาตัดบอลจากลูกครอสของคู่แข่ง
4. ความแม่นการเตะเปิดบอลยาว
มาจากสถิติ Cmp% -- Pass Completion Percentage (Launched)
ค่านี้จะรวมการเตะจากปากประตู และนับเฉพาะลูกเปิดที่เกิน 40 หลา
5. การสร้างโอกาศให้เพื่อนได้ลุ้นประตู ต่อ 90 นาที
มาจากสถิติ SCA90 -- Shot-Creating Actions per 90 mintues
นับจากการส่งบอลให้เพื่อนได้ลุ้นประตู เลี้ยงบอลไปยิงเอง และเรียกฟาวล์เพื่อลุ้นประตู
6. การสัมผัสบอลนอกกรอบเขตโทษ
มาจากค่า Mid 3rd -- Touches (Mid 3rd) per 90 mintues หรือ Touch Mid 3rd/90
ค่านี้ยิ่งมากยิ่งสื่อความหมายว่าชอบเล่นเป็น Sweeper Keeper ชอบเชื่อมเกมส์กับเพื่อน ซึ่งมีความห่างจากปากประตูพอสมควร
เป็นการสัมผัสบอลบริเวณ Mid 3rd
สังเกตุตามภาพ จะมี 3 ช่อง ซึ่งหมายถึงช่องตรงกลาง
7. เปอร์เซนต์การเซฟลูกยิงไกลสำเร็จ
ค่านี้มาจาก 3 สถิติคือ
Shots On Target Faced (Outside the Box): จำนวนครั้งในการเจอลูกยิงไกลที่ตรงกรอบ
Saves Made from Outside the Box: จำนวนครั้งในการเซฟลูกยิงไกลที่ตรงกรอบได้
Goals Conceded from Outside the Box: จำนวนประตูที่เสีย
เอามาลบกันและทำออกมาเป็นเปอร์เซนต์ จึงได้ค่า
% Saves Made from Outside the Box
8. การออกมาตัดบอลนอกกรอบ
มาจากสถิติ OPA -- Def. Actions Outside Pen. Area per 90 minutes
จริงๆไม่ได้นับแค่การตัดบอลนอกกรอบ เขียนเป็นไทยง่ายๆเฉยๆ แต่รวมถึงทั้งการเข้าปะทะคู่แข่งนอกกรอบด้วย
ค่านี้ยิ่งเยอะ ยิ่งแปลว่าชอบยืนห่างประตู เพื่อรอออกมาตัดบอลแบบที่นอยเออร์ชอบทำ
มาครับ เริ่มกันเลย
เปิดหัวกันด้วยประเด็นหลักกันก่อน
ลูกยิงไกล!
หากนับตั้งแต่ 2018 หลายคนคงทราบว่า Kepa เป็นคนที่โดนประตูลูกยิงไกลมาที่สุดในพรีเมียร์ลีก
ยิ่งฤดูกาลที่ผ่านมา ยิ่งชัด มาจุดอ่อนนอกจากลูกกลางอากาศ คือลูกยิงไกล
มาดูกันว่าตกลง Kepa ไม่เก่งเรื่องยิงไกลอย่างที่ว่าจริงหรือเปล่า
VIDEO
มี 4 สถิติที่เกี่ยวข้องคือ
Shots On Target Faced (Outside the Box): จำนวนครั้งในการเจอลูกยิงไกลที่ตรงกรอบ
Saves Made from Outside the Box: จำนวนครั้งในการเซฟลูกยิงไกลที่ตรงกรอบได้
Goals Conceded from Outside the Box: จำนวนประตูที่เสีย
เอามาลบกันและทำออกมาเป็นเปอร์เซนต์ จึงได้ค่า
% Saves Made from Outside the Box
ภาพแรก
Kepa เจอส่องไกลมากสุดเป็นอันดับที่ 2 ที่ 38 ครั้งในพรีเมียร์ลีก รองจาก Giorgi Mamardashvili ที่เจอไป 45 ครั้งในลาลีก้า
Kepa โดนไป 6 ลูก
ส่วน Giorgi Mamardashvili โดนไป 5 ลูก
ที่น่าประหลาดใจคือ Diogo Costa นั้นเจอไป 12 ครั้งในลีก และไม่โดนซักประตูเดียว
หากคิดเป็นเปอร์เซนต์การเซฟลูกยิงไกลที่ตรงกรอบ จะได้ดังนี้
Kepa Arrizabalaga 84.21%
André Onana 88.00%
Mike Maignan 90.48%
Robert Sánchez 81.25%
Diogo Costa 100.00%
Giorgi Mamardashvili 88.89%
Spoil
ดูช่อง % Saves Made from Outside the Box
เรียงตามลำดับ
1. Diogo Costa 100.00%
2. Mike Maignan 90.48%
3. Giorgi Mamardashvili 88.89%
4. André Onana 88.00%
5. Kepa Arrizabalaga 84.21%
6. Robert Sánchez 81.25%
Kepa เป็นรองบ๊วยในเรื่องการเซฟลูกยิงไกล
สรุปแล้ว Kepa อ่อนในการเซฟลูกยิงไกลจริงๆ ตามที่ตาเราเห็นเลย แต่สังเกตุอะไรไหม
ไปทำอีท่าไหนให้คู่แข่งส่องไกลเข้ากรอบไป 38 ครั้งแหนะ
ดูคู่เทียบที่มาจากทีมใหญ่เหมือนกันจะโดนแค่ 10 ถึง 20 ครั้งนิดๆ
ถ้ามีแท็คติคดีๆ Kepa คงไม่งานชุกขนาดนี้เนอะว่าปะ
ส่วนเรื่องเซฟไม่เก่งก็ส่วนนึง ฮ่าๆๆ
แต่ก็นะ...
มีจุดอ่อนย่อมมีจุดแข็ง
การเซฟลูกยาก!
Kepa ปีนี้ถือว่าพัฒนาจุดเด่นตัวเองขึ้นมาเยอะมาก
แกเป็นประตูสายปฏิกิริยาไว ปีนี้ต้นซีซั่นถือว่าฟอร์มโดดเด่นทีเดียว
ในนัดที่เจอวิลล่าก็ทำให้ได้ Save of the season ของพรีเมียร์ลีกไป
VIDEO
มาดูสถิติเรื่องการเซฟลูกยากกัน
ว่ามันจริงไหม
ทบทวนความหมายสถิตินิดนึง
อ้างอิงจาก:
2. ป้องกันลูกยาก ต่อ 90 นาที
ค่านี้มาจากสถิติ PSxG-GA +/- (Post-Shot Expected Goals minus Goals Allowed) per 90 mintues
ง่ายๆคือ PSxG (ค่าความยากของลูกยิง) ลบด้วย GA (ลูกที่เสีย)
หมายความว่า...
เสียประตูมากน้อยแค่ไหนหากเทียบกับลูกยากที่เจอ ค่านี้ยิ่งเยอะ ยิ่งแปลว่าเหนียว
สมมติทั้งเกมส์เจอลูกยากระดับ 1.5 แต่เก็บ Clean sheet ได้แปลว่าค่านี้จะ +1.5
กลับกัน ในเกมส์เดียวกันถ้าโดน 3 ลูก ค่านี้จะ -1.5
แกน X (แนวนอน) บ่งบอกถึงจำนวนครั้งที่เจอลูกยากๆต่อเกมส์
แกน Y (แนวตั้ง) บ่งบอกถึงจำนวนครั้งที่ป้องกันลูกยากได้
เรียงตามลำดับ จะได้ตามนี้
1. Diogo Costa
เจอลูกยาก 0.76 ลูกต่อเกมส์
ป้องกันได้ 6.1 ลูกทั้งฤดูกาล
2. Kepa Arrizabalaga
เจอลูกยาก 1.23 ลูกต่อเกมส์
ป้องกันได้ 5 ลูกทั้งฤดูกาล
3. Giorgi Mamardashvili
เจอลูกยาก 1.13 ลูกต่อเกมส์
ป้องกันได้ -0.1 ลูกทั้งฤดูกาล
4. Mike Maignan
เจอลูกยาก 0.92 ลูกต่อเกมส์
ป้องกันได้ -0.7 ลูกทั้งฤดูกาล
5. André Onana
เจอลูกยาก 0.8 ลูกต่อเกมส์
ป้องกันได้ -2.7 ลูกทั้งฤดูกาล
6. Robert Sánchez
เจอลูกยาก 1.05 ลูกต่อเกมส์
ป้องกันได้ -2.8 ลูกทั้งฤดูกาล
Spoil
ดูช่อง PSxG และ PSxG-GA +/-
มี 2 คนที่ผ่านเกณฑ์นี้
คือ Diogo Costa และ Kepa
แต่สังเกตุว่า Diogo Costa เจอลูกยากต่อเกมส์แค่ 0.76 ลูก
แต่ Kepa เจอไป 1.23 ลูกต่อเกมส์
หากนับเฉพาะคนที่เจอลูกยาก > 1 ครั้งต่อเกมส์
คนที่ผ่านเกณฑ์นี้จะมีแค่ Kepa เพียงคนเดียว
ทีนี้มาดูคู่เทียบแบบรายคนกันบ้าง
1. Kepa Arrizabalaga
ลงเล่น 2,565 นาที
เสียไป 33 ประตู
คิดเป็น 1.16 ประตูต่อเกมส์
เซฟสำเร็จ 73.3%
ก็ตามที่เราเห็นทั้งซีซั่นเลย คือเก่งลูกเซฟ ตัดบอลนอกกรอบเก่ง
แต่ไม่เก่งเรื่องเซฟลูกยิงไกล และการตัดบอลกลางอากาศ
การสร้างโอกาสให้เพื่อนลุ้นประตูนั้นไม่มีเลย
VIDEO
2. André Onana
ลงเล่น 2,160 นาที
เสียไป 24 ประตู
คิดเป็น 1 ประตูต่อเกมส์
เซฟสำเร็จ 73.5%
จุดเด่น:
* การผ่านบอลสร้างโอกาสลุ้นประตู
* การออกมาเล่นนอกกรอบเขตโทษ
* การเปิดยาว
จุดอ่อน:
* เซฟลูกยากๆได้ไม่บ่อย
ชอบออกมาเล่นนอกกรอบ
VIDEO
แต่ก็พลาดบ่อยนะ
VIDEO
3. Mike Maignan
ลงเล่น 1,978 นาที
เสียไป 21 ประตู
คิดเป็น 0.96 ประตูต่อเกมส์
เซฟสำเร็จ 69.4%
จุดเด่น:
* การตัดบอลกลางอากาศ
* การเซฟลูกยิงไกล
* การออกมาตัดบอลนอกกรอบเขตโทษ
* การเปิดยาว
* การออกมารับบอลนอกกรอบเขตโทษ
จุดอ่อน:
ดูเหมือนการเซฟลูกยากจะเป็นจุดอ่อน ก็ไม่เชิง เพราะแกเสียลูกยากไป -0.7 ลูกเองตลอดฤดูกาล
ยกผลประโยชน์ไปละกัน
VIDEO
4. Robert Sánchez
ลงเล่น 2,070 นาที
เสียไป 30 ประตู
คิดเป็น 1.3 ประตูต่อเกมส์
เซฟสำเร็จ 66.2%
จุดเด่น:
* การตัดบอลกลางอากาศ
จุดอ่อน:
* เซฟลูกยากๆได้ไม่บ่อย
* ออกมารับบอลนอกกรอบไม่บ่อย
* ลูกยิงไกลคือจุดอ่อนที่สุด
VIDEO
5. Diogo Costa
ลงเล่น 2,970 นาที
เสียไป 22 ประตู
คิดเป็น 0.67 ประตูต่อเกมส์
เซฟสำเร็จ 77.2%
จุดเด่น:
* เซฟลูกยาก
* การตัดบอลกลางอากาศ
* การเซฟลูกยิงไกล
* การเปิดยาว
VIDEO
จุดอ่อน:
ไม่ค่อยชัดเจนนะ เพราะในสถิติแสดงให้เห็นว่าแกทำได้ทุกอย่างเลย ทั้งการเซฟ และการเป็น Sweeper Keeper แต่ที่ในสถิติไม่ได้บอกคือแกชอบทำหมูหกอะ มันติดตาไปละ
แต่แกเซฟลูกโทษเก่งเลย
VIDEO
6. Giorgi Mamardashvili
ลงเล่น 3,420 นาที
เสียไป 45 ประตู
คิดเป็น 1.18 ประตูต่อเกมส์
เซฟสำเร็จ 70.9%
คนนี้ทรงคล้ายๆ Donnarumma แฮะ
จุดเด่น:
* การตัดบอลกลางอากาศ
* การเซฟลูกยิงไกล
* การเปิดยาว
* การออกมารับบอลนอกกรอบ
จุดอ่อน:
คนนี้ก็คล้ายเคสของ Mike Maignan
ดูเหมือนการเซฟลูกยากจะเป็นจุดอ่อน ก็ไม่เชิง เพราะแกเสียลูกยากไป -0.1 ลูกเองตลอดฤดูกาล ดีกว่า Mike Maignan ที่ -0.7 เพราะงั้นยกผลประโยชน์
VIDEO
นำสถิติทุกคนมารวมเทียบกันจะได้แบบนี้
* Kepa
เจอลูกยากมากสุด เซฟลูกยากเป็นรอง Diogo Costa
ตัดบอลนอกกรอบบ่อยที่สุด
* Diogo Costa
เซฟลูกยากมากสุด แต่เจอลูกยากน้อยสุด อาจเป็นเพราะคู่แข่งในลีกไม่เข้มข้นด้วยแหละมั้ง งานเบาเชียว
เซฟลูกยิงไกลดีสุด
วางบอลยาวเกิน 40 หลาแม่นสุด
ตัดบอลกลางอากาศเป็นอันดับสองรองจาก Mamardashvili
* Mamardashvili
ตัดบอลกลางอากาศดีสุด
ออกมาสัมผัสบอลนอกเขตโทษมากที่สุด
และ เจอลูกยากบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจาก Kepa
* Mike Maignan
เป็นอันดับ 2 ในหลายสถิติ ทั้งตัดบอลนอกกรอบ สัมผัสบอลนอกกรอบ เปิดยาว
* Robert Sánchez
ไม่มีอะไรให้พูดถึงมาก โดดเด่นแค่ตัดบอลกลางอากาศ แต่สถิติเป็นอันดับ 3 และมีความเหนียวน้อยสุด เพราะเจอลูกยาก โดนยิงไป 2.8 ลูก (เกือบ 3 แหนะ - -*) แถมเซฟยิงไกลแย่กว่า Kepa อีก
* Onana
สร้างโอกาสเป็นอันดับ 1 ในแบบที่ทิ้งห่างคู่แข่ง
การเซฟลูกยิงไกลเป็นอันดับ 3 แพ้อันดับ 2 โดยเฉือนกันแค่ทศนิยม
ส่วนที่น่าผิดหวังคือการออกมาตัดบอลกลางอากาศทำได้ไม่ดีเลย ทั้งที่ตัวสูง
การเซฟลูกยาก โดนไป -2.7 เป็นรองบ๊วยเลย
เมื่อดูจากสถิติแล้ว
Diogo Costa คนคนที่ชดเชยจุดอ่อนของ Kepa ได้ดีที่สุด
ทั้งลูกยิงไกล การตัดบอลกลางอากาศ ฝีมือการเซฟก็จัดว่าดีมาก การออกมาตัดบอลนอกกรอบก็พอทำได้ เปิดยาวก็แม่น แต่ออกมารับบอลนอกกรอบเขตโทษไม่บ่อยเท่า Kepa คนนี้เหมาะแก่การเอามาแข่งแย่งมือ 1 ในฤดูกาลหน้า
ส่วน Mike Maignan และ Mamardashvili ก็เหมาะแก่การดีลเช่นกัน
Maignan ทำได้ทุกอย่างแต่ไม่สุดเท่าคนอื่น
Mamardashvili ก็สุดในเรื่องลูกกลางอากาศ การเชื่อมเกมส์กับเพื่อนนอกกรอบ นอกนั้นก็พอๆกับทาง Mike Maignan
และคนที่ไม่ควรไปดีลด้วยเลยคือ Sánchez และ Onana เหตุผลก็ตามสถิติที่เราเห็น
เช้านี้ Di Mazio รายงานว่าเราถอยดีล Onana แล้ว ค่อยโล่งใจหน่อย
เพื่อนๆยังสนับสนุน Kepa เป็นมือ 1 ต่อไหม
หรือถ้าไม่ อยากได้ใครมาแข่งกับ Kepa ที่สุดครับ
มาลองแชร์ความเห็นกัน