ภาพถ่ายพื้นผิวของดาวศุกร์
นี้คือ ภาพพื้นผิวของดาวศุกร์ที่ถ่ายมาได้ด้วยความยากลำบากอย่างที่สุด
เหตุผลสั้นๆ คือ
เป็นการจับภาพทิวทัศน์ ในสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม ที่โหดร้ายอย่างที่สุด ได้อย่างเหมาะสมมาก เนื่องจากที่เราทราบกันว่า อุณหภูมิที่เลวร้ายและฝนที่ตกเป็นกรดบนดาวศุกร์นั้น ไม่เอื้ออำนวยต่อการถ่ายรูปเอาเสียเลย
อุปกรณ์ดังกล่าว สามารถถ่ายภาพได้เพียงไม่กี่ภาพ ก่อนที่จะยอมแพ้ต่อสภาวะที่โหดร้ายของดาวศุกร์
หากเราสังเกตให้ดี จะพบว่ามีเลนส์บางส่วน ที่หลุดออกมาด้วย สิ่งนี้ช่วยยืนยันว่า เราคงไม่จำเป็นต้องรีบเร่งมากนัก สำหรับการตั้งรกรากบนดาวศุกร์ในเร็ว ๆ นี้
ขุมนรกฝาแฝดโลก [Image of Hell on Venus]
หากจะกล่าวถึงอากาศหน้าร้อนในช่วงนี้หลายคนคงบ่นกันหมดว่าอากาศบ้านเราทำไมมันร้อนเหมือนซ้อมตกนรกเลยก็ว่าได้ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเราโชคดีมากที่อุณหภูมิบนโลกยังรักษาค่าเฉลี่ยที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยได้ในแบบที่มันควรจะเป็น แต่สิ่งที่ร้อนกว่านั้นก็คือพื้นผิวบนดาวศุกร์เพื่อนบ้านฝาแฝดของเราที่อุณหภูมิพื้นผิว 420° - 470° องศาเซียลเซียส ร้อนแค่ไหนก็ร้อนจนสามารถหลอมตะกั่วได้อย่างสบายๆ
ดาวศุกร์ร้อนยิ่งกว่าดาวพุธ แม้ดาวพุธจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด แต่ดาวศุกร์กลับเป็นดาวเคราะห์ที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดในระบบสุริยะ บรรยากาศบน "ดาวศุกร์" ร้อนระอุยิ่งกว่าขุมนรกที่มนุษย์เราจะจินตนาการออก มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 97% และชั้นเมฆหลายชั้นประกอบด้วยกรดกำมะถัน · "ฟอสฟีน" อีกทั้งยังต้องเผชิญกับปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ควบคุมไม่ได้
เมื่อเราย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคอวกาศเริ่มแรกมียานอวกาศเพียงไม่กี่ลำที่สามารถลงจอดบนพื้นผิวดาวศุกร์ได้และอยู่รอดปลอดภัยเพื่อส่งภาพกับมายังโลกได้ ซึ่งจากการบันทึกภารกิจมากว่า 60 ปี ดาวศุกร์นั้นในประวัติศาสตร์นับว่ามีความสำคัญอย่างมากเพราะมันเคยเป็นจุดลงจอดของยานลำแรกที่มนุษย์ส่งไปสำรวจดาวเคราะห์ดวงอื่น ในยุคที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสำรวจอวกาศ ในปี 1961 สหภาพโซเวียตได้ส่งยาน Venera 1 (เวเนรา – ดาวศุกร์ ภาษารัสเซีย) ไปบินโฉบและภารกิจที่แตะพื้นผิวครั้งแรกคือภารกิจ Venera 3 ในลักษณะการพุ่งชนพื้นผิวดาว ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของยานสำรวจอวกาศลำแรกของโลกที่ลงจอดบนดาวเคราะห์ดวงอื่นสำเร็จ หลังจากนั้น NASA ก็ส่งยาน Mariner 2 ไปบินโฉบสำรวจ ในปี 1962 ตามด้วย Mariner 5 ในปี 1967 ส่วนโซเวียตก็โชว์เหนือด้วยการลงจอดยาน Venera 7 และ 8 ในปี 1970 นับเป็นการลงจอดยานอวกาศบนดาวเคราะห์พื้นแข็งครั้งแรก แต่ดูเหมือนกระแสก็จะถูกกลบโดยข่าวความสำเร็จของโครงการ Apollo 11 ในปี 1969
อย่าลืมว่ากว่ายาน Viking ของ NASA จะส่งไปลงจอดที่ดาวอังคารสำเร็จ ก็ต้องรอนานถึงปี 1976 เลยทีเดียว และหลังจากนั้น NASA แกก็บ้าดาวอังคารมาตลอด และไม่เคยแม้แต่จะคิดส่งยานไปลงจอดดาวศุกร์แม้แต่ครั้งเดียว จะมีก็แต่ภารกิจในตระกูล Mariner ที่บินโฉบแต่ก็ไม่ได้เข้าวงโคจร และภารกิจ Pioneer Venus 1, 2 ในปี 1978 และปิดท้ายด้วย Magellan ในปี 1990 ซึ่งเป็นยานอวกาศลำสุดท้ายที่ไปโคจรรอบดาวศุกร์ของ NASA
ส่วนภารกิจที่ประสบความสำเร็จในการลงจอดบนพื้นผิวดาวศุกร์มากที่สุดเป็นของโซเวียต คือภารกิจ Venera และภาพนี้เป็นมุมมองบนพื้นผิวดาวศุกร์ที่ถ่ายจากยานเวเนรา 14 (Venera 14) ยานของอดีตสหภาพโซเวียตที่ฝ่าชั้นบรรยากาศหนาทึบไปลงจอดบนดาวเคราะห์ที่ได้ฉายาว่าเป็นฝาแฝดของโลกในเดือนมีนาคม ค.ศ.1982 ภูมิประเทศรกร้างบนดาวศุกร์ที่ปรากฏในภาพนี้ เป็นบริเวณพื้นที่ฟีบี (Phoebe Regio) ที่อยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรของดาวศุกร์ แสดงก้อนหินที่มีลักษณะแบน พื้นผิวที่แทบจะว่างเปล่าไม่ค่อยมีก้อนหินระเกะระกะ และท้องฟ้าอันราบเรียบที่ไม่แสดงร่องรอยอะไรเลย
บริเวณทางซ้ายของฐานยานในภาพมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Penetrometer มีลักษณะเป็นหัวเจาะวัดความแข็งและการบดอัดของดิน และชิ้นส่วนสีอ่อนทางขวาของ Penetrometer คือฝาครอบเลนส์กล้องที่กระเด็นออกมาจากยานเวเนรา ซึ่งภายใต้สภาวะแวดล้อมโหดร้ายบนพื้นผิวดาวศุกร์ อุณหภูมิสูงถึง 470 องศาเซลเซียส และความดันจากชั้นบรรยากาศสูงถึง 75 เท่าของโลก ถีงแม้ยาน Venera 14 จะลงจอดบนดาวศุกร์มากว่า 40 ปีแล้ว แต่ถือว่าประสบความสำเร็จมากในการพิชิตดาวที่แสนโหดร้ายดวงนี้ได้ โดยที่ยาน Venera 14 นี้สามารถปฏิบัติภารกิจบนพื้นผิวดาวศุกร์ได้เป็นระยะเวลาถึง 57 นาที
ส่วนยาน Venera 13 ได้รับเกียรติให้มีอายุยืนยาวที่สุดบนดาวศุกร์ โดยมีชีวิตรอดในการทำภารกิจได้นานถึง 127 นาทีก่อนจะโดนทำลายและบดขยี้ด้วยสภาพอากาศบนพื้นผิวดาวศุกร์อันโหดร้าย
ที่มา เพจ สมาคมดาราศาสตร์ไทย/เพจ ท่องอวกาศ