ภาพกาแล็กซี่จากกล้อง Hubble
Pillars of Creation
กลุ่มแก๊ซและฝุ่นที่เป็นส่วนหนึ่งของ Eagle Nebula ห่างจากโลก 6500 ปีแสง เป็นโซนที่ทุกอย่างกำลังขมวดแน่นร้อนระอุเข้ามา และให้กำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ๆ พระอาทิตย์ของเราก็น่าจะถือกำเนิดแบบนี้เช่นกัน ความใหญ่ของโครงสร้างนี้คือลองดูจุดแดงๆ แต่ละจุดนั่นเทียบเท่ากับดวงอาทิตย์ 1 ดวง หรือใหญ่กว่าเป็นร้อยเท่า (ถ้ามองเป็นนิ้วมือ นิ้วซ้ายสุดนั้นสูงประมาณ 4 ปีแสง) ดาวที่เกิดใหม่จุดชนวนนิวเคลียร์และปลดปล่อยพลังในช่วงคลื่น ultraviolet ออกมามหาศาล ซึ่งแก๊ซรอบๆ ซับไว้แล้วคายแสงออกมาทำให้เกิดความสว่างอย่างที่เห็นในภาพ พลังงานและรังสีสารพัดรูปแบบที่พุ่งพล่านออกมาจากดาวเกิดใหม่ยังพัดให้แก๊ซและฝุ่นควันต่างๆ ปลิวกระจายหายไปเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว จนทุกวันนี้ ตัวเสา Pillars น่าจะถูกซัดหายไปหมดแล้ว ภาพที่เราเห็นจึงเป็นเพียงภาพจากอดีตในจังหวะที่หาดูชมได้ยากนัก
.
ถ้าซูมเอาท์ออกมาจะเห็นแบบนี้
ถ่ายในช่วงคลื่น infrared มองทะลุฝุ่นได้ เห็นดาวระยิบมากกว่าเดิม
.
Butterfly Nebula
เนบิวล่าผีเสื้อ สยายปีกกว้างกว่า 2 ปีแสง จริงๆ แล้วปีกนี้คือสสารและแก๊ซที่ระเบิดเปรี้ยงออกมาจากศูนย์กลาง ซึ่งเป็นดวงดาวที่ดับสลายตามอายุขัย แก๊ซในเนบิวล่านี้มีอุณหภูมิประมาณ 250,000 เซลเซียส สุกสว่างด้วยรังสีพลังงานสูง และกำลังพุ่งด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อวินาที เป็นภาพตัวแทนของการตายที่รุนแรงแต่งดงาม ภาพนี้เชื่อมต่อกับภาพแรกตรงสสารที่กระจัดกระจายจากการระเบิด supernova ของดาวดวงหนึ่ง สักวันก็จะขมวดแน่นเข้ามาและให้กำเนิดดาวดวงใหม่ เป็นวัฏจักรเช่นนี้มาหลายชั่วรุ่น
.
Rose Galaxy
กุหลาบอวกาศ ถือกำเนิดจากสองกาแล็กซี่ม้วนตัวมาชนกัน ห่างจากทางช้างเผือกไป 300 ล้านปีแสง การเคลื่อนผ่านกันของกาแล็กซี่เป็นปฏิสัมพันธ์ซับซ้อนของแรงโน้มถ่วงอันก่อให้เกิดรูปร่างที่แปลกตา กาแล็กซี่เล็กด้านล่าง เกี่ยวดึงแขนของกาแล็กซี่ใหญ่ด้านบน (ซึ่งปกติจะแบนๆ เป็นกงจักร) ให้ย้อยลงมาจนมีความเหลื่อมระดับ มองคล้ายกลีบกุหลาบ ในอนาคตกาแล็กซี่ทางช้างเผือกของเราเองก็จะเคลื่อนไปชนกับกาแล็กซี่แอนโดรมีดาเช่นกัน และในที่สุดก็จะรวมร่างเป็นกาแล็กซี่เดียว แม้ดาราจักรอันยิ่งใหญ่ก็ยังมีพบมีผ่าน
.
ถ้าซ้ำขออภัยครับ
CR .