เสียงลั่นระฆังการแข่งขันฟุตบอลลีกของญี่ปุ่นกำลังจะเริ่มต้นอีกครั้ง หลังเกมส์ ฟูจิ ฟิล์ม ซูเปอร์คัพในวันนี้
ก็เหลือเวลาเพียง 1 อาทิตย์ก่อนที่การแข่งขันเจลีกในขวบปีที่ 30 จะเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง
ปีนี้เป็น ถือ เป็นปีสำคัญของ เจลีกที่ได้มีอายุเวียนมาครบ 30 ปี หลังยกเครื่องเปลี่ยนระบบจากกึ่งอาชีพมาเป็นระดับอาชีพเต็มรูปแบบและเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น เจลีก อย่างเป็นทางการ หลังจากผ่านระบบกึ่งสมัครเล่นกึ่งอาชีพ มากว่า 50 ปี ตั้งแต่ปี 1965 ในชื่อเจแปน ซอคเกอร์ ลีก (JSL)
ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน JSL ในช่วงก่อตั้งลีกในปี 1965 สโมสรเกือบทั้งหมด จะเป็นทีมตัวแทนของบริษัท เช่นเดียวกับรูปแบบของทีมเบสบอลในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อสโมสรจากชื่อบริษัทที่เป็นเจ้าของทีมอย่าง ฮิตาชิ, มิตซูบิชิ และโตโยต้า ผู้เล่นจะเป็นกึ่งอาชีพโดยจะเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทในฐานะพนักงานของบริษัทรวมถึงลงเล่นฟุตบอลควบคู่กันไปด้วย
แต่ในระยะต่อมาแต่ละทีมมีความจริงจังมากยิ่งขึ้น ก็มีการว่าจ้างบุคลากรสำหรับลงเล่นฟุตบอลโดยเฉพาะ มีการว่าจ้างนักฟุตบอลฝีเท้าดีเข้าสู่ทีมในฐานะนักฟุตบอลและพนักงานของบริษัท
ต่อมาในปี 1992 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศญี่ปุ่น มีแผนที่จะยกระดับ มาตรฐานการแข่งขันให้มีความเป็นอาชีพมากขึ้นรวมถึงปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ได้รับความนิยมมากขึ้น ในฤดูกาลสุดท้ายของ เจเอสแอล ทีมที่ตัดสินใจก้าวสู่ระดับอาชีพจะได้รับการคัดเลือกให้ลงเล่นในลีกใหม่ที่ชื่อ เจลีก ส่วนทีมยังไม่พร้อมจะมีลีกรองรับที่ชื่อว่า เจแอฟแอล
นั้นขณะเดียวกัน คู่ขนานไปนั้นทีมสโมสรต่างๆ ต้องพากันปรับตัวและยกระดับของทีมไม่ว่าจะเป็นแง่ของการตลาด ขีดความสามารถด้านฟุตบอล ซึ่งที่เห็นได้ชัดอย่างที่หนึ่ง คือ การเปลี่ยนชื่อทีมจากทีมองค์กรให้มีความเป็นเอกลักษณ์
เพื่อให้สโมสรมีสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ทั้งในการออกแบบสี ตราประจำสโมสร พร้อมกับตั้งชื่อทีมให้มี ความผูกพันธ์กับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ท้องถิ่นนิยม คือ ประโยชน์ทางตรงที่ทีมฟุตบอลต้องการจะขยายฐานแฟนบอลผ่านการสร้างความผูกพันธ์ในแต่ละพื้นที่ของประเทศ
แต่ละย่างก้างที่ผ่านมา ก็มีการทดลอง เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็น ระบบการแข่งขัน ซึ่งในช่วงแรกของการก่อตั้งลีก ระบบการแข่งขันเป็นการแบ่งเป็น 2 สเตจ โดยใช้ชื่อตามสปอนเซอร์ ‘Suntory series’ และ ‘NICOS series’ โดยเป็นการแข่งขันแบบพบกันหมดเพื่อเก็บคะแนน แต่จะแบ่งเป็น 2 สเตจ โดย 1 ทีมจะต้องลงแข่งขันทั้งหมด สเตจละ 18 นัด และ ทั้งฤดูกาล 36 นัด ตัวอย่างเช่นในปี 1993 การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 สเตจ
แชมป์จะตัดสินโดยการนำผู้ได้อันดับที่ 1 ของ สเตจที่ 1 และ ผู้ได้อันดับ 1 ของสเตจที่ 2 มาชิงชนะเลิศกันอีก 2 นัดและนับผลรวมประตูได้เสีย ก่อนที่จะได้แชมป์ลีกประจำปี กรณีอันดับหนึ่งของทั้งสองสเตจเป็นทีมเดียวกัน จะนำอันดับสองมาแข่งขันกัน ผู้ชนะจะได้เข้าไปชิงชัยกับอันดับหนึ่ง
แม้กระทั่งใน ในฤดูกาล 2024 มีการประกาศออกมาเป็นทางการว่า เจลีก 1, 2 และ 3 จะเพิ่มจำนวนทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันให้
ทีมเท่ากันทั้งหมดคือ 20 ทีม จากเดิมที่ เจลีก 1 มี 18 ทีม, เจลีก 2 มี 22 ทีม และเจลีก 3 มี 18 ทีม โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มศักยภาพของทีมและเปิดเวทีให้ทีมที่พร้อมลงแข่งขันในระดับอาชีพมีพื้นที่การลงเล่นมากยิ่งในขึ้นในมาตรฐานระดับที่สูงขึ้น
เจลีก พัฒนาอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นด้านฟุตบอลหรือด้านการตลาด หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปีนี้จะเป็นปีที่ผู้เล่นชาวไทยได้รับโอกาสในการลงเล่นมากยิ่งขึ้น และจะเป็นปีที่ลุ้นแชมป์กันสนุกอีกหนึ่งปี
#เจลีกโดยสังเขป
#JLeague
#J30