ผมมาเพือแสดงความคิด พิมพ์ว่า:
ว่าแล้วใครพอจะมีข้อมูลบ้างไหมครับ
ว่าเครื่องบินรบรุ่นที่1-6อะไรนี่ มันต่างกันยังไง
ผมสงสัยตั้งแต่ดูTop Gun ละ จนตอนนี้ยังไม่ได้คำตอบ
เคยตอบไปทีนึงแระครับ ก็อปมาจากที่เคยตอบนะครับ
อ้างอิงจาก:
เครื่องบินรบแต่ล่ะยุคนี่คืออะไรหรอครับท่าน และยุค4สู้ยุค5ไม่ได้ใช่ไหมครับ ดูท็อปกัน2มา เห็นพระเอกกลัว555
ยุค หรือ Generation (เจน) ของเครื่องบินรบ(ไอพ่น) พึ่งจะมานิยามยุคหลังๆนี่เองครับ
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
ปี 1914-18 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มนุษย์เราพึ่งรู้จักการบินด้วยใบพัดและเครื่องยนต์มาไม่กี่ปี
พี่น้องตระกูลไรท์บินครั้งแรกที่คิตตี้ฮอว์คปี 1903 นั่นก่อนสงครามจะอุบัติแค่ 11 ปีเอง
ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เครื่องบินก็สร้างมาง่ายๆ โครงเหล็ก ไม้ ผ้าใบ เครื่องยนต์ แล้วมีปีก 2 ชั้น
ที่มีปีกสองชั้นเพราะเพิ่มแรงยก เนื่องจากกำลังเครื่องยนต์สมัยนั้นมีแรงไม่มาก
เครื่องบินสมัย WW1 เทคโนโลยีไม่ซับซ้อน ประเทศไหนก็สร้างได้ถ้ารู้หลักการ(ซึ่งหลักการก็ง่ายๆ)
หลังสงครามไทยสมัยร.7 ไทยก็ออกแบบผลิตเครื่องบินรบปีกสองชั้นเองได้ ผลิตกว่า 200 ลำ เพราะเทคโนโลยีมันง่ายๆ
ในช่วง WW1 แรกๆเครื่องบินมีหน้าที่สอดแนมข้าศึกบินผ่านกองทัพข้าศึก ดูจำนวน วีธีเคลื่อนกำลัง ดูฐานที่มั่นจะได้ยิงปืนใหญ่ได้
แต่พอบินผ่านเรื่อยๆ นักบินก็คิดได้ว่าทำไมบินผ่านทั้งทีก็โยนระเบิดลงไปเลยสิ จากนั้นก็ทิ้งระเบิด
อีกฝ่ายก็มีเครื่องบินก็บินขึ้นมาสกัด นักบินเจอกันบนอากาศก็ชักปืนพกมายิงกัน 55555+
ยิงกันไม่ค่อยจะโดน เลยเอาปืนไรเฟิ้ลขึ้นไป พอเอาขึ้นไปยิ่งยาก ไม่แม่น เลยมีการติดปืนกลบนเครื่องบิน
นั่นเลยเป็นที่มาของเครื่องบินขับไล่ แล้วก็มีเสืออากาศดังๆขึ้นมาเช่น "เรดบารอน" มานเฟรท ฟอน ริชท์โฮเฟิน
สงครามโลกครั้งที่ 2
เริ่มมีเทคโนโลยีมากขึ้น เครื่องยนต์แรงขึ้น ปืนเยอะขึ้น แม่นยำขึ้น ทิ้งระเบิดได้แม่นยำขึ้น ระยะบินไกลขึ้น
และมีเทคโนโลยีวิทยุที่ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ยังไม่มี แต่ครั้งนี้เครื่องบินยังไม่มีเรดาห์นะครับ ยังบินตามแผนที่ธรรมดา
ตรวจหาข้าศึกด้วยสายตา ตรวจหาเป้าหมายภาคพื้นด้วยสายตา แถมเครื่องบินก็บินไม่สูงมาก
ยังเป็นเครื่องบินใบพัดแต่ปีกเป็นชั้นเดียวแล้ว ความเร็วก็ประมาณ 300-500 กม./ชม.
ตอนต้นสงครามเยอรมันและญี่ปุ่นมีเครื่องบินที่ดีกว่า ทั้งเครื่องซีโร่ของญี่ปุ่นและBF109ของเยอรมัน
แต่ช่วงระหว่างสงครามทั้งอังกฤษและสหรัฐได้ผลิตเครื่องบินที่เหนือกว่าได้ ของเมกานั้นทั้งดีกว่าและเยอะกว่า
ที่ร่ายยาวๆมานี่ยังไม่ใช่ซักเจนนะครับ 55555 แค่ปูเนื้อเรื่องก่อน
มาเข้าเนื้อเรื่อง
ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันและอังกฤษได้พัฒนาเครื่องบินเจ็ต(ไอพ่น)กัน ด้วยหลักการของ แฟรงค์ ริทเทิ่ล ทหาร/วิศวกรชาวอัวกฤษ
แต่เยอรมันพัฒนาอีกแบบ อังกฤษอีกแบบ ส่วนแบบไหนบ้าง ไม่อธิบายนะครับ เพราะมันจะยาวกว่านี้มาก
เอาเป็นหลักการง่ายๆคือ การดูดอากาศอัดอากาศมันผสมกับเชื้อเพลิงแล้วเกิดการเผาไหม้จนมีแรงขับดันที่ปลายเครื่องยนต์
อังกฤษและเยอรมันต่างกันที่วิธีการอัดอากาศ และแบบของเยอรมันทำแล้วทดลองบินได้ก่อน แต่ช่วงปลายๆสงครามแล้ว แถมผลิตออกมาไม่มากพอที่จะมีผลต่อสงคราม
เครื่องบิน เมสเซอร์ชมิตต์ ME-262 ของนาซีเยอรมัน เป็นจุดเริ่มต้นของเครื่องบินรบในปัจจุบัน
หลังสงครามมหาอำนาจเล็งเห็นความสำคัญของเครื่องบินรบยุคใหม่ที่ใช้เครื่องบินเจ็ตที่มีประสิทธิภาพกว่าเครื่องบินใบพัด
ทั้ง ความเร็วและเพดานการบิน มีการแย่งตัววิศวกรการบินของนาซีทั้งสหรัฐและโซเวียต และอังกฤษเองก็กำลังสร้างเครื่องบินเจ็ตเองอยู่แล้ว
เค้าเริ่มนับเครื่อง เมสเซอร์ชมิตต์ ME262 ของเยอรมันเป็นเจนที่ 1 ครับ
เครื่องบินที่ตามมาก็จะลักษณะเดียวกัน คือปีกตรง รูปทรงคล้ายเครื่องบินใบพัด ความเร็วยังไม่มากเท่าไร เช่น
Gloster Meteor ของอังกฤษ บินครั้งแรก 1943 (ในช่วงสงครามอยู่)
Lockheed P-80 ของสหรัฐ บินครั้งแรก 1944 (ปลายสงครามโลก)
MIG-15 ของโซเวียต บินครั้งแรก 1947 (หลังสงครามโลก) ที่ปีกเริ่มลู่หลัง ใช้เครื่องยนต์โรสรอยส์ของอังกฤษ
F-86 Sabre ของสหรัฐ บินครั้งแรก 1947 มีปีกลู่หลังแบบ MIG-15
ในเจนที่หนึ่งนี้อยู่ราวๆปี 1945-55 และในปี 1949 เกิดสงครามเกาหลี F-86 ก็รบกับ MIG-15 แบบเต็มๆ
เป็นการรบของเครื่องบินไอพ่นเป็นครั้งแรกที่สมรภูมิคาบสมุทรเกาหลี ผลการรบ 7 ต่อ 1 คือ
เครื่องบิน F-86 ของสหรัฐยิงเครื่อง MIG-15 ของเกาหลีเหนือ ตก 7 ลำ และสหรัฐสูญเสียเพียง 1 ลำ
เจนที่ 2 1955- ต้นยุค 60
พัฒนาต่อเนื่องจากสงครามเกาหลี เครื่องบินล้วนปีกลู่หลังกันหมดบางรุ่นจะเป็นปีกสามเหลี่ยม เพื่อลดแรงดึงของปีก
เพิ่มความเร็วได้สูง และส่วนใหญ่บินได้เร็วเหนือเสียง มีการติดเรดาห์ที่ทันสมัย และที่สำคัญเริ่มมีจรวดนำวิถีด้วยความร้อนและนำวิถีด้วยเรดาห์
เครื่องบินเจนนี้ก็ประมาณ
Dassault Mirage III ของฝรั่งเศส
MIG-21 ของโซเวียต
Electric Lightning ของอังกฤษ
F-105 Thunderchief ของสหรัฐ
เจนที่ 3 ต้น ยุค 60 - ยุค 70
พัฒนาต่อเนื่องจากเจนที่ 2 คือ พัฒนาระบบอาวุธให้ยิงได้ไกลขึ้น และเพิ่มระบบโจมตีภาคพื้นดิน เป็นเครื่องบินสาระพัดประโยชน์มากขึ้น
ระบบเรดาห์ไกลขึ้น แม่นยำขึ้น จรวดก็แม่นขึ้น ไกลขึ้นเช่นกัน
จนเครื่องบินรุ่นใหม่ของสหรัฐอย่าง F-4 phantom มั่นใจมากจนถอดปืนใหญ่อากาศออก มีแค่จวรดนำวิถี
นั่นเป็นการตัดสินใจที่พลาดของกองทัพสหรัฐ เพราะนักบินพึ่งแต่จรวด เวลาด็อกไฟท์กับข้าศึกเลยขาดทักษะ
ในสงครามเวียตนาม อัตราการรบรบของสหรัฐเหลือเพียง 3 ต่อ 1 นั่นคือ
สหรัฐยิงเครื่องบินเวียตนามเหนือตก 3 ลำ / ฝ่ายตัวเองตก 1 ลำ ซึ่งต่างจากสงครามเกาหลีที่ 7 ต่อ 1
(เลยเกิดโรงเรียน TOP GUN ไง)
แล้วเวียตนามเหนือใช้เครื่องบินเจนสองเองนะนั่นคือ MIG-21/MIG-19/MIG-17 ที่ทันสมัยน้อยกว่า F-4 อยู่หนึ่งเจน
ส่วนเครื่องบินประเทศอื่นๆในเจนที่ 3 ที่ดังๆก็มี
MIG-25 ของโซเวียตที่บินได้เร็วถึง 2.8 มัค บินได้สูง 22 กิโลเมตร (สูงกว่าเครื่องบินโดยสารพานิชย์ 2 เท่ากว่า)
Harrier ของอังกฤษ
สรุปเจนที่ 2 และเจนที่ 3 ต่างกันนิดหน่อยในเรื่องเรดาห์ ระบบการรบ อาวุธ และที่เด่นของเจนที่ 3 คือ "สปีด" เจนนี้เป็นเจนที่บ้าความเร็วครับ
เพราะคิดว่าเร็วเข้าไว้เพื่อหนีจรวด ทั้งสหรัฐและโซเวียตเลยผลิตออกมาเน้นความเร็วกันใหญ่ในเจนนี้
เครื่องบินเจนที่ 3 บางรุ่นนี่ยังเร็วกว่าเครื่องเจนที่ 5 ซะอีก (บ้าความเร็วจริงๆ)
เจนที่ 4 ยุค 70 ถึงกลางๆยุค 90
เจนที่ 4 นี้มีพัฒนาไปมากจากเจนที่ 3 เพราะผ่านมาหลายสงครามได้ลองผิดลองถูกกันเยอะ ได้เห็นแนวทางสู่ยุคต่อไป
ผู้ผลิตเริ่มสนใจเรื่องความคล่องตัวมากกว่าความเร็ว ให้ความสำคัญกับระบบเรด้าห์มากขึ้น และระบบอาวุธก็ทันสมัยขึ้น
มีการพัฒนาจวรดอัจฉริยะคือ ยิงแล้วลืม (ยิงแล้วบินหนีได้เลยเดี๋ยวจรวดหาเป้าหมายเอง) ยิงแบบหลายเป้าหมายพร้อมกัน
เครืองบินดังๆในเจนนี้ก็มี
ของสหรัฐ
F-14
F-15
F-16
F-18 Hornet(คนละรุ่นกับหนัง TOP GUN นะ ในหนังเป็น Super Hornet ที่ใหญ่กว่า ทันสมัยกว่า)
ของรัสเซีย
Mig-29
Mig-31
Su-27
MIRAGE 2000 ของฝรั่งเศส (ไทยเกือบซื้อมาประจำการ แต่เลือก F-16 ที่ถูกกว่า)
เจนพิเศษ 4.5 ยุค 90 - 2000
ก็เป็นการเอาเจนที่ 4 มาเพิ่มออฟชั่นอันเกรดซอฟแวร์ มีความเป็นคอมพิวเตอร์มากขึ้น
โดยที่ F-18 Hornet ก็มาเป็น F-18 E/F Super Hornet(ในเรื่อง Top Gun) ที่ทันสมัยขึ้น
F-15 อีเกิ้ล ก็เป็น F-15E สไตล์อีเกิ้ล คือเพิ่มออฟชั่นโจมตีภาคพื้นดิน แล้วทำดีซะด้วย ทำดีกว่าเครื่องบินจู่โจมแท้ๆซะอีก
ของรัสเซียก็ Su-30
เอาจริงๆนะพวกเครื่อง มิก พวก ซู รุ่นใหม่ๆของรัสเซียเนี่ยแทบไม่ได้ออกรบที่ไหนเลย ที่รบๆก็มีแต่เครื่องรุ่นเก่า
เลยไม่รู้ว่าประสิทธิภาพที่แท้จริงของรุ่นใหม่ๆเป็นอย่างไรบ้าง รวมทั้งของจีนด้วย แบบสเป็คหรูหรา แต่รบจริงไม่รู้
ราฟาล ของฝรั่งเศส
ยูโรไฟเตอร์ ไทฟูน ของยุโรป
เจนที่ 5 ปี 2005-ปัจจุบัน
เครื่องรุ่นนี้ง่ายๆเลยครับ ยกข้อดีของเจน 4.5 มา แล้วเพิ่มเติมด้วยระบบพรางตัว(เรดาห์)
คือเครื่องบินจะตกได้มี 4 วิธี
1. โดนจรวดนำวิถีด้วยเรดาห์สอย
เจนที่ 5 นี้มีระบบพรางตัวจากเรดาห์ ในเมื่อเรดาห์จับไม่ได้ก็หาไม่เจอ ยิงไม่ได้ไม่โดน
2. โดนจรวดนำวิถีด้วยความร้อน(อินฟาเรด)
เจนที่ 5 นี่ มีระบบลดไอร้อนที่พ่นออกจากท้ายเครื่อง ทำให้เซ็นเซอร์จับความร้อนหาไม่เจอ ยิงจรวดออกมา จรวดก็พุ่งไปหาความร้อนที่อื่น
3. โดนปืนใหญ่อากาศ
- ถ้าจากเครื่องบินด้วยกันเอง ไม่มีทางจะเข้าใกล้เจน 5 ได้ในระยะประชิดพอที่จะด็อกไฟท์ เพราะเจนที่ 5 จะสอยคุณก่อนคุณจะเห็นตัวอีก
- จากปืนใหญ่ต่อสู้อากาศ ปัจจุบัน ปตอ. ใช้ระบบเรดาห์ช่วยยิง เมื่อเรดาห์จับไม่ได้ก็ยิงไม่โดน (ยกเว้นคนยิงแบบแมนนวลซึ่งก็ยากที่จะโดนอีก)
4. ตกเอง เพราะอุบัติเหตุ
นี่อาจจะเป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้เครื่องเจนที่ 5 ตก เพราะ ขนาดเจนที่ 4 อย่าง F-15 ก็ไม่เคยโดนข้าซึกยิงตก ที่ตกเพราะอุบัติเหตุตกเองทั้งนั้น
เครื่องบินเจนที่ 5 นั้นโกงมาก โดยเฉพาะเจ้า F-22 Raptor ส่วน F-35 ก็รองๆลงมาหน่อยแต่ยังดีอยู่
ส่วนเครื่องของจีนและรัสเซีย ยังเป็นคำถามอยู่ว่าดีจริงมั้ย??? เพราะแกะแบบมาจากสหรัฐยังไงก็สู้ของแท้ไม่ได้
(แกะแบบหมายถึงก็อปหลักการมา มาคิดเทคโนโลยีกันเอง เรืียกได้ว่าเป็นแรงบันดาลใจ)
อย่างเก่งก็เท่าแค่เท่า F-35 ล่ะ แต่ไม่ถึงขั้น F-22 แน่นอน
เครื่องเจน 5 ของรัสเซีย Su-57
ของจีน เฉิงตู เจ-20 (น่าจะผลิตที่เมืองเฉิงตู)
ส่วนของสหรัฐก็ตามนี้เลย
ตอบในกระทู้นี้ครับ
https://www.soccersuck.com/boards/topic/2171740/1
ส่วนเจ้า B-21 นี่น่าจะแพงน่าดู เพราะเจ้า B-2 ก่อนหน้า ยังเป็นเจน 4 หรือ 4.5 ราคามันลำละ 1 พันล้านยูเอสดอลล่าห์
(3 หมื่นกว่าล้านบาท/ลำ)
รุ่นใหม่นี่น่าจะแตะๆ 2 พันล้านได้มั้ง