BLOG BOARD_B
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Email: sale@soccersuck.com
ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
ปลายอาชีพค้าแข้ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 06 Feb 2009
ตอบ: 11822
ที่อยู่: Socialist Republic of Scouseland
โพสเมื่อ: Tue Nov 08, 2022 12:54
FFP , เจ้าของอัดเงิน , การซื้อผู้เล่น
เท่าที่อ่านๆมู้มาตั้งแต่มีข่าวเมื่อวาน ผมเห็นมีคนเข้าใจผิดพอสมควรว่าเจ้าของสโมสรสามารถอัดเงินเข้ามาซื้อผู้เล่นได้ ซึ่งเมื่อก่อนเป็นดังนั้นจริง แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นแบบนั้นซะทีเดียวนัก

แรกเริ่มเดิมที UEFA มีการกำหนด Financial Fair Play มาในช่วงปี 2009 และบังคับใช้ในฤดูกาล 2011/2012 โดยใจความสำคัญคือ สโมสรต้องมีการใช้จ่ายเงินไม่มากไปกว่าที่ทีมสามารถหาได้ และดุลบัญชีต้องไม่ขาดทุนในห้วงระยะเวลา 3 ปี เช่น

ปี 2019 ขาดทุน 50 ล้าน
ปี 2020 ขาดทุน 70 ล้าน
ปี 2021 กำไร 120 ล้าน

120-50-70 = 0 แบบนี้ถือว่าเท่าทุน ไม่ผิดกฎการเงิน

สิ่งที่จะถูกพิจารณาเป็นรายรับได้แก่
- เงินที่ได้จากการขายผู้เล่น
- รายได้จากการขายตั๋ว ของที่ระลึก อาหาร ฯลฯ ในวันแข่งขัน
- ส่วนแบ่งค่าถ่ายทอดสด
- การโฆษณา สปอนเซอร์
- เงินรางวัลจากการแข่งขัน

ส่วนสิ่งที่จะถูกพิจารณาเป็นรายจ่ายได้แก่
- เงินที่ใช้ในการซื้อผู้เล่น
- รายจ่าย สวัสดิการ ผู้เล่น พนักงาน และลูกจ้างอื่นๆของสโมสร
- รายจ่ายในการบริหารสโมสร
- รายจ่ายทางบัญชี เช่นหนี้สิน ดอกเบี้ย

โดยรายจ่ายที่ใช้ในการปรับปรุงสาธารณูปโภค สนามฝึกซ้อม ฟิตเนส และการพัฒนาเยาวชน จะไม่ถูกพิจารณาเป็นรายจ่าย

โดยจุดสังเกตคือไม่มีการพูดถึงเงินของเจ้าของสโมสรในรายรับรายจ่าย เพราะโดยหลักการแล้ว FFP มีขึ้นเพื่อไม่ให้สโมสรต่างๆใช้เงินมากกว่าที่ตัวเองหาได้ เป็นเงินที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละฤดูกาล ไม่อยากให้พึ่งพาเงินที่อัดเข้ามาแบบชั่วครั้งชั่วคราวจากเจ้าของ เพราะในวันที่มีไอเดียเรื่อง FFP ช่วงปี 2009 มีสโมสรจำนวนมากใน EPL, La Liga และ Series A ที่ประสบปัญหาขาดทุน และแนวโน้มจะขาดทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้รายได้จากการถ่ายทอดสด , matchday อื่นๆจะเพิ่มขึ้น แต่กลับเพิ่มตามไม่ทันรายจ่าย

แต่ FFP มีช่องโหว่ที่ทำให้เจ้าของสามารถอัดเงินเข้ามาในทีมตัวเองได้ เช่นผ่านทางสปอนเซอร์ด้วยบริษัทที่อยู่ในเครือเดียวกัน บวกกับการที่เงินที่ใช้ในการปรับปรุงสาธารณูปโภค สนามซ้อม และฟิตเนสไม่ถูกนำมาคิดใน FFP สองอย่างรวมกันทำให้เกิดช่องทางที่เจ้าของทีมสามารถอัดเงินมาใช้ในการซื้อตัวผู้เล่นได้ เช่น

สมมุติสโมสร A และมีรายจ่ายสมมุติดังนี้

1. รายจ่ายค่าเหนื่อย 30 ล้าน
2. งบบริหารงาน หนี้สิน ฯลฯ 20 ล้าน
3. ปรับปรุงสาธารณูปโภค 25 ล้าน

และมีรายได้ 100 ล้าน ช่องทางเดียว จะทำให้ 100-30+20 = 50 ล้าน

50 ล้านคือจำนวนเงินที่เหลือที่สโมสร A จะนำไปใช้ซื้อผู้เล่นได้ ส่วนงบก้อนที่ 3 แม้จะไม่ถูกนำไปคิด FFP แต่ก็ต้องเลือกว่าจะใช้เงินก้อนไหน หากใช้เงินของที่หาได้เอง งบการซื้อผู้เล่นก็จะลดลงไปอีก 25 ล้าน เหลือสุทธิ 25 ล้าน

ซึ่งหากเจ้าของสโมสรให้กู้ยืมเงินโดยตรงกับสโมสร และแม้เงินตรงนี้จะไม่สามารถนำไปซื้อผู้เล่นได้ แต่สามารถนำไปใช้จ่ายค่าบริหารงาน จ่ายค่าเหนื่อย ฯลฯ ได้ แลกกับการเป็นหนี้เจ้าของสโมสรแบบดอกเบี้ยต่ำ ต่อมาหากเจ้าของให้เงินผ่านสปอนเซอร์ด้วย และออกค่าปรับปรุงสาธารณูปโภค ก็จะทำให้เงินสุทธิและงบประมาณซื้อผู้เล่นของสโมสรมีสูงขึ้นมาก เช่น

สโมสร B มีรายได้ที่หาได้เอง 100 ล้าน และมีรายจ่ายสมมุติเหมือนสโมสร A ดังนี้

1. รายจ่ายค่าเหนื่อย 30 ล้าน
2. งบบริหารงาน หนี้สิน ฯลฯ 20 ล้าน
3. ปรับปรุงสาธารณูปโภค 25 ล้าน

และมีรายได้ 100 ล้าน บวกกับเจ้าของอัดเงินมาทางสปอนเซอร์อีก 10 ล้าน ให้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำ 10 ล้านไว้บริหารงาน และออกค่าสาธารณูปโภค 20 ล้านให้ จะทำให้ 100 + 10 + 10 - 30 - 20 - 25 + 25 = 70 ล้าน เท่ากับสโมสร B มี งบซื้อผู้เล่นสูง 70 ล้านทันที แม้จะมีเงินจำนวนมากจากเจ้าของไหลเข้าสู่ทีม แต่ก็ไม่ได้ให้มาซื้อผู้เล่นโดยตรง และก็ไม่ได้ผิดกฎ FFP เพราะใช้ช่องโหว่ที่เปิดกว้างไว้

ซึ่งสิ่งที่ FSG ทำเสมอมา คือพยายามจะเป็นสโมสร A พยายามจะให้ทีมอยู่ได้ด้วยตัวเองมาตลอด แต่ในเมื่อ UEFA ไม่สามารถทำให้ FFP ถูกใช้อย่างจริงจังได้ และช่องโหว่ที่ว่าก็ยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้ FSG ก็ต้องยอมรับว่าโมเดลของตัวเองไม่สามารถทำให้ทีมแข่งขันกับคนอื่นได้ และก็ต้องปล่อยให้คนอื่นทำ ในโมเดลอื่น ซึ่งอาจจะหมายถึงการที่ LFC เองก็ต้องใช้ช่องโหว่แบบเดียวกัน

หลังจากนี้สมมุติได้เจ้าของใหม่ที่รวยมากมายมหาศาลมา ก็ไม่ได้หมายความว่า LFC จะมีงบซื้อผู้เล่นมหาศาลทันที เพราะต้องไปดูว่ามีรายจ่ายส่วนไหนที่ยังพอใช้เงินลงทุนจากเจ้าของใหม่ได้ เพราะอย่างสแตนด์ใหม่ฝั่ง Anfield Road ก็ลงบัญชีสมัย FSG ไปแล้ว ส่วน Main Stand และ Kirkby ก็สร้างเสร็จและจ่ายไปหมดแล้ว หนี้สินก็แทบไม่มี เพราะพยายามอยู่ได้ด้วยตัวเองเลยทยอยจ่ายคืนไปหมดแล้ว

และเราก็ต่างจาก Newcastle พอสมควร เพราะตอนที่ PIF มาซื้อ Newcastle นั้น ไม่ใช่ว่าเค้าอัดเงินเข้ามาโต้งๆแล้วซื้อตัวผู้เล่นได้เลย แต่ส่วนนึงเป็นเพราะสมัยไมค์ แอชลีย์ ทีมแทบไม่ลงทุนอะไรเลย มีแต่ขายออก ทำให้ตัวเลขทางบัญชีเป็นบวกค่อนข้างมากมาตลอด (ตามกติกา 3 ปีที่กล่าวไว้ตอนแรก) ก็เลยสามารถซื้อตัวได้ เพราะมีช่องว่างให้ขยับค่อนข้างเยอะ แต่กับ LFC ตัวเลขทางบัญชีค่อนข้างพอดี รายรับสูงกว่ารายจ่ายไม่มาก และมีค่าเหนื่อยรวมค่อนข้างสูง เลยอาจจะขยับไม่ได้มากนัก

อีกสิ่งนึงที่เราน่าจะรู้ไว้คือการซื้อตัวผู้เล่นไม่ได้ลงบัญชีทีเดียว เช่นกรณี LFC ซื้อหนูนมา สถานะทางบัญชีไม่ได้ลงว่าเรามีรายจ่ายหนูน 85 ล้านทันที แต่เป็นการเฉลี่ยลงตลอดสัญญา 6 ปี เป็นค่าเสือมปีละประมาณ 14 ล้าน ในขณะที่ถ้าขายผู้เล่นออกไป จะลงเป็นรายรับเต็มๆทันที ซิ่งนี้สำคัญเพราะเวลาอ่านข่าว อาจจะเจอข่าวที่ LFC หรือทีมอื่นๆ มีตัวเลขทางบัญชีเหลือแค่ 50 ล้าน แต่สามารถซื้อตัวมูลค่าได้มากกว่า 50 ล้าน นั่นเป็นเพราะวิธีการลงบัญชีที่ลงค่าเสื่อมตลอดสัญญา

แต่ก็หมายเหตุอีกว่าการลงค่าเสื่อมทางบัญชี ไม่ได้แปรผันกับเงื่อนไขการจ่ายค่าตัวผู้เล่นเสมอไป แม้การลงทางบัญชีจะลงเฉลี่ยตลอดสัญญา แต่การจ่ายค่าตัวอาจจะจ่ายสดก้อนเดียวก็ได้
(แต่ก็เคยมีนักบัญชีเก่าของทีมใน EPL บอกเหมือนกันว่าส่วนใหญ่การซื้อขายตัวใน EPL มักจะผ่อนจ่าย ไม่ค่อยมีการซื้อสดก้อนเดียว)

สรุป
- FSG พยายามบริหารตาม FFP และใช้เงินสโมสร 100% ตามแนวทาง UEFA แต่ FFP มีช่องโหว่
- FSG ไม่ต้องการใช้ช่องโหว่นั้น และยอมรับว่าแนวทางเค้าพาทีมมาได้แค่นี้เลยขาย
- การซื้อผู้เล่น จ่ายสดได้ จ่ายผ่อนได้ แล้วแต่ตกลง แต่ลงบัญชีไปคิด FFP แบบเฉลี่ยค่าเสื่อม
- การขายผู้เล่น รับเงินเต็มจำนวนหรือผ่อน แล้วแต่ตกลง แต่ลงบัญชีรับเข้าเต็มจำนวน
- เจ้าของใหม่ไม่ว่าจะมีเงินเยอะแค่ไหน ไม่ได้การันตีว่า LFC จะเซ็นผู้เล่นราคาแพงได้ทันที ต้องดูบัญชีอีกที
- แต่อาจจะมีการลงทุนและบริหารสโมสร โดยไม่ต้องเอารายได้สโมสรมาจ่ายเอง ทำให้งบซื้อขายสูงขึ้นได้
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออนไลน์
ผู้ช่วยแมวมอง
Status: ประชาชน
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 13 Sep 2009
ตอบ: 41011
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Tue Nov 08, 2022 13:10
[RE: FFP , เจ้าของอัดเงิน , การซื้อผู้เล่น]
เลิกงานเดี่ยวมาอ่านอีกรอบ ขอบคุณครับ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด "รถไฟ สุนัข เครื่องบิน สกอตแลนด์ และชัยชนะ"


Rashford,Sancho,Antony => OUT... ค
ออฟไลน์
ปลายอาชีพค้าแข้ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 06 Feb 2009
ตอบ: 11822
ที่อยู่: Socialist Republic of Scouseland
โพสเมื่อ: Tue Nov 08, 2022 13:16
[RE: FFP , เจ้าของอัดเงิน , การซื้อผู้เล่น]
อารมณ์ดี พิมพ์ว่า:
เลิกงานเดี่ยวมาอ่านอีกรอบ ขอบคุณครับ  


ไว้ว่างๆผมจะลองหาข้อมูลมาเขียนของแมนยูฮะ นี่ก็ซวยเจอกติกา FFP ที่วางไว้ไม่รอบคอบ ทำให้เกลเซอร์ถึงสูบเงินออกจากสโมสรได้เรื่อยๆแบบทุกวันนี้

โมเดลเดียวกับปลิง Hicks, Gillett เลย แต่ LFC โชคดีนิดเดียวคือรายได้สโมสรตอนนั้นไม่เยอะพอให้ปลิงดึงไปจ่ายดอกเบี้ยได้แบบแมนยู เลยโดนบังคับขาย ในขณะที่แมนยูรายได้เยอะกว่า เลยโดนสูบออกไปเรื่อยๆ แล้วก็ไม่รู้จะไปจบตอนไหน ทั้งๆที่จริงๆแล้วรายรับสูงมีศักยภาพเยอะกว่านี้มากๆ

Issues relating to Financial Fair Play : Leverage Buyout

1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ซุปตาร์โอลิมปิก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 06 Apr 2017
ตอบ: 8210
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Tue Nov 08, 2022 13:30
[RE: FFP , เจ้าของอัดเงิน , การซื้อผู้เล่น]
สิ่งที่ผมข้องใจที่สุดคือ ทำไมมันต้องตั้งชื่อว่า Financial Fair Play

เนื้อหากับชื่อกฎ มันแทบไม่ไปด้วยกันเลย
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ปลายอาชีพค้าแข้ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 06 Feb 2009
ตอบ: 11822
ที่อยู่: Socialist Republic of Scouseland
โพสเมื่อ: Tue Nov 08, 2022 13:55
[RE: FFP , เจ้าของอัดเงิน , การซื้อผู้เล่น]
Vincent Sephiroth พิมพ์ว่า:
สิ่งที่ผมข้องใจที่สุดคือ ทำไมมันต้องตั้งชื่อว่า Financial Fair Play

เนื้อหากับชื่อกฎ มันแทบไม่ไปด้วยกันเลย  


ผมว่าไอเดียที่เค้าคิดตอนนั้นมันดี แต่ไม่ครอบคลุมอ่ะครับ ลืมเรื่องเอาเงินไปฝากบริษัทที่รู้จักกัน ลืมเรื่อง Leverage Buyout ที่เป็นปรกติของธุรกิจธรรมดาแต่ไม่ใช่สำหรับธุรกิจฟุตบอล และช่องโหว่อีกหลายๆอย่างที่หลุดมา

พอบังคับใช้มา มันก็ใช้ได้กับสโมสรส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางสโมสรสามารถใช้ช่องโหว่ของกฎทำให้ได้เปรียบได้ แล้วตัว UEFA เองไม่สามารถบังคับใช้กฎแบบจริงๆจังๆได้ มันเลยกลายเป็นว่าสโมสรและแฟนบอลต้องยอมรับโดยจำใจว่าเล่นตามเจตนารมณ์ของกฎแล้วจะสู้ไม่ได้ ยิ่งเวลาผ่านไปช่องว่างจะยิ่งห่างขึ้นเรื่อยๆ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ข.
Status: Miu Shiromine.
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 16 Jan 2020
ตอบ: 5088
ที่อยู่: Anfield
โพสเมื่อ: Tue Nov 08, 2022 13:55
[RE: FFP , เจ้าของอัดเงิน , การซื้อผู้เล่น]
คุณแค่โชคดีที่มีโค้ชชื่อ JK ไม่งั้นคุณได้ขายไปตั้งนานละ บายเฮนรี่

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
SM7
นักบอลไทยพรีเมียร์ลีก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 6725
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Tue Nov 08, 2022 15:09
FFP , เจ้าของอัดเงิน , การซื้อผู้เล่น
FFP รายละเอียดมันเยอะ คนที่ไม่เข้าใจก็จะไม่พยายามเข้าใจ

เรื่องการอัดเงินมันมีข่องโหว่ที่ต้อง patch เช่นเอา บ.ในเครือมาซื้อสิทธิ์บนหน้าอกเสื้อ หรือสนับสนุนทางการค้าอื่นๆ เอาทีมอาหรับมาซื้อตัวแพงๆให้ได้กำไร (เคสนี้ยังไม่เจอ)
อย่างเคสเนย์มาร์เอา บ.การ์ตาร์มาซื้อสัญญา FCB แล้วทำเรื่องไปพรีเซนต์ให้ประเทศการ์ตาร์เป็นการตอบแทน จากนั้นเนย์มาร์ก็เดินเข้า PSG แบบ free transfer (พวกแขกเหลี่ยมจัด มุดทุกช่อง, สุภาษิตเจองูกับแขกให้ตีแขกก่อน)

ส่วนอัดเข้าไปตรงๆมันต้องเห็นภาพความเป็นบริษัทก่อน ตาสีตาสาไม่คุ้นเคยเล่นแต่ FM CM ไม่น่าเข้าใจ
โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
แก้ไขล่าสุดโดย SM7 เมื่อ Tue Nov 08, 2022 15:44, ทั้งหมด 2 ครั้ง
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ข.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 06 Apr 2017
ตอบ: 6843
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Tue Nov 08, 2022 18:07
FFP , เจ้าของอัดเงิน , การซื้อผู้เล่น
ในโลกธุรกิจ​ ผมบอกได้คำเดียว ไม่ว่าอะไรก็ตาม​ กฎหมายแบบไหน​ ถ้าเงินถึง​ทุกอย่างก็จบครับ​ ง่ายๆ​ แบบนั้นเลย​

โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel