กระทู้นี้ว่าด้วยรายละเอียดเกมส์เจอวูฟแฮมตัน ที่เตะไปวันเสาร์ที่แล้ว
ทีแรกคิดว่าจะวิเคราะห์เกมส์รุกแมตช์เจอมิลานดีไหม หรือแมตช์เจอวูฟดี
สุดท้ายตัดสินใจวิเคราะห์วูฟเพราะมีอะไรแปลกตาให้เห็นเยอะกว่า
Spoil
ขออภัยครับพอดีพึ่งว่าง
บอลเตะไปอาทิตย์นึงละพึ่งจะมาโพส 555
เริ่มกันที่ Line-up
ในจอถ่ายทอดสดเราจะเห็นแผนการเล่นเป็น 4-2-3-1
บทความนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆได้แก่
1. เกมส์รับ (ตอนไม่มีบอล)
2. เกมส์รุก (ตอนครอบครองบอล)
เกมส์รับ
แบ่งย่อยได้อีก 3 สถานการณ์ ขึ้นอยู่กับว่าบอลอยู่ตรงไหน
1. บอลอยู่แดนวูฟ
2. บอลอยู่แดนเชลซี
3. บอลอยู่พื้นที่สุดท้าย หน้าปากประตูเชลซี
บอลอยู่แดนวูฟ
เชลซีจะทำการ High Pressing (กดดันเพื่อแย่งบอลในพื้นที่สูง ถึงผู้รักษาประตู)
โดยใช้แผน 4-2-3-1 + การประกบแบบ Man Mark (การประกบตัวต่อตัว)
Spoil
โดยการ Pressing ในนัดนี้จะแตกต่างกับแมตช์อื่นที่ทำการ Low-block Pressing (กดดันเพื่อแย่งบอลจากพื้นที่ต่ำ) เช่นในวันที่เจอกับมิลาน
บีบสูงถึงประตูเลย
ระบบการแย่งบอลแบบ 4-2-3-1
ภาพนี้ไม่มี Jorginho เพราะจ้องตัวประกบอยู่ด้านหลัง
แต่สังเกตุดีๆ วูฟมี 4 คน เรามี 5
วูฟถูกบีบด้วยผู้เล่นที่เยอะกว่า ไม่มีทางเลือกอื่นจนต้องคืนให้ผู้รักษาประตู
ภาพนี้ยังคงเป็น 4-2-3-1 แต่สังเกตุอะไรไหม?
Cucu ตาม Adama ขึ้นมาในแดนวูฟเลย
บ่งบอกถึงการประกับตัวต่อตัว แบบหายใจรดต้นคอ ที่พ็อตเตอร์กำชับมา
ภาพนี้ Adama ไม่ได้บอล ฉะนั้นจึงเปลี่ยนมาฝั่งขวา
เปลี่ยนมาฝั่งนี้บ้าง
เรามีตัวผู้เล่นที่มากกว่า และปิดพื้นที่ในการส่งไว้จนหมด
จึงเลือกที่จะส่งให้ผู้เล่นทางริมเส้น
แต่หารู้ไม่กัปตันเดฟจะสิงอยู่ละ (แบบ Cucu ภาพเมื่อกี้)
แต่ครั้งนี้ตัดบอลได้
และพอตัดบอลได้
ดังนั้นจังหวะต่อมาก็ได้บุก ลุ้นทำประตู
สังเกตุระยะเวลาต่างกันแค่ 4-5 วินาทีเอง นับตั้งแต่ตัดบอลได้ถึงปากประตู
เดี๋ยวเราจะมาแกะแนวคิดการบุกนี้กันใน Part เกมส์รุก
ไฟล์ Gif การกดดันแย่งบอล
ไฟล์ Gif การกดดันแย่งบอล
เมื่อบอลผ่านเข้ามาแดนเชลซี
เชลซีจะทำการเปลี่ยนระบบการยืนเป็น 4-4-2
แต่จะเป็น 4-4-2 ที่ยืดหยุ่น สลับไปๆมาๆระหว่าง 4-4-2 ปกติ และ 4-4-2 Diamond (รูปเพชร)
ขึ้นอยู่กับว่าบอลอยู่ตรงไหน และ วูฟเติมผู้เล่นมาในแผงมิดฟิลด์มากน้อยแค่ไหน
บอลทำท่าว่าจะเข้ามาในแดนเรา+บอลอยู่ซ้าย
จึงปรับมายืน 4-4-2 แบบเรียงหน้ากระดาน
จังหวะภาพด้านล่างนี้เป็นจังหวะต่อเนื่องจากลูกทุ่ม หรือบอลตาย
สังเกตุว่าเราได้ปรับมายืน 4-4-2 แบบ Diamond เป็นที่เรียบร้อย
โดยคนที่บีบเข้ามาคือ Gallaghor หุบเข้ามาจากฝั่งขวา
Spoil
มีรายละเอียดอีกเล็กน้อยในจังหวะนี้คือ
Cucu ขึ้นมาเป็นมิดฟิลด์ และ Mouth ลงมาบีบด้วย เพื่อช่วยกดดันแย่งบอลมาจากวูฟ
ในจังหวะนี้จะเห็นคูลิบาลีเป็นเซนเตอร์ซ้าย
และถ้ากลับไปดูในเกมส์ จะเจอว่ากัปตันเดฟมายืนเป็นเซ็นเตอร์ตัวขวาแทน
จังหวะนี้ก็เป็นลูกทุ่มเช่นเดียวกัน
เราก็จะค่อยๆขยับมาเป็น Diamond กระจุกตัวบริเวณที่บอลอยู่
เพื่อปิดพื้นที่และทำให้ผู้เล่นของเรามีมากกว่าวูฟ
ภาพด้านล่างยืนกันแบบ Diamond 5 คน
แทบไม่ต้องเดาว่าใครจะได้บอลไป
ไฟล์ Gif การขยับเข้ามายืนตรงกลางของ Gallaghor
เพื่อเล่นเป็น 4-4-2 Diamond
เราจะเห็นใน Gif นี้ถึงเหตุผลว่าทำไมเราต้องยืนกระจุกกันแบบนี้
สังเกตุที่เจ้าหนู Gallaghor
ไฟล์ Gif การยืนรูปเพชรอีกจังหวะ
สังเกตุเจ้าหนู Gallaghor ไว้เหมือนเดิม
หลังจากตัดบอลจากการยืน 4-4-2 Diamond (รูปเพชร) ได้
จากนั้น Gallaghor ก็ไปประจำตำแหน่งตัวเอง เป็น 4-4-2 หน้ากระดาน
และตัดบอลได้อีกครั้ง เป็นครั้งที่ 2
แต่ครึ่งหลังเราไม่ได้เห็นอะไรแบบนี้แล้ว คงเพราะบอลนำละมั้ง
ยืน 4-4-2 แบบหน้ากระดานเลย
เมื่อวูฟลุ้นทำประตู
เชลซีจะใช้กองกลางทั้ง 4 ยืนปิดพื้นที่ระหว่างกองหลังและกองกลางให้ได้มากที่สุด
โดยยังคงระบบ 4-4-2 ที่สลับไปมาระหว่าง แบบหน้ากระดานและรูปเพชร
ภาพนี้บอลทำท่าจะเข้ามาในเขตโทษ
จะเห็นได้ว่ากองกลาง Diamond ของเรา มายืนหน้าแผงกองหลังเลย แบบใกล้มากๆ
ส่วนเฮียจอร์ก็เห็นตรงตำแหน่งเซ็นเตอร์นั้นว่างก็เลยวิ่งไปอุด ตามจังหวะไป
แต่ก็ยังคงระบบ 4-4-2 diamond เช่นเดิม
อีกภาพ จะเห็นการปิดช่องว่างระหว่างกองหลังและกองกลาง จนแทบไม่มีพื้นที่เลย
อีกอย่างการโหลดผู้เล่นลงเขตโทษเยอะๆ จะทำให้ตัวรับเราเยอะกว่าคู่แข่งไปในตัว
กลาง Diamond (รูปเพชร) ก็ยังคงทำหน้าที่เหมือนเดิม
ตัวรุก Wolves มี 2
ตัวรับเรามี 8
ยิงมาดิ 555
เกมส์รุก
ผมเดาว่าแนวคิดของเกมส์รุกคือ
ถ้าวูฟเสียรุปขบวนให้โจมตีทันที แต่ถ้าวูฟแพ็คเกมส์แน่นแล้ว ให้ค่อยๆต่อเกมส์ขึ้นมา
ซอยย่อยออกมาให้อธิบายง่ายๆ
ผมจะอธิบายทีละสถานการณ์ดังนี้
1. ถ้าวูฟเสียรุปขบวนให้โจมตีทันที
2. แต่ถ้าวูฟแพ็คเกมส์แล้ว ให้ค่อยๆต่อเกมส์ขึ้นมา
ถ้าวูฟเสียรุปขบวนให้โจมตีทันที
เพราะอะไรถึงต้องโจมตีทันที?
เพราะเมื่อเราตัดบอลจากวูฟได้ หรือแม้แต่หนีการ Press ได้
ทางวูฟจะไม่มีเวลาในการตั้งรูปขบวน สำหรับการตั้งรับ
จึงเกิดช่องว่างมากมาย ให้เราได้ทำการโจมตี ตามภาพ
เราสามารถทำให้วูฟเสียรูปขบวนได้ 2 กรณีคือ
1.1 เมื่อเราสามารถชนะการ Pressing
1.2 เมื่อเราแกะ Pressing ของวูฟได้
มาดูทีละประเด็น
1.1 เมื่อเราสามารถชนะการ Pressing (แย่งบอลคืนได้สำเร็จ)
เราจะทำสิ่งที่เรีกยว่า Counter Pressing (โจมตีทันทีเมื่อแย่งบอลได้)
นี่เป็นวิธีที่ Liverpool ของ Klopp ชอบใช้ โดยเฉพาะปีแรกๆ
ไฟล์ Gif การโจมตีทันทีที่ตัดบอลได้
1.2 เมื่อเราแกะ(หนี) Pressing ของวูฟได้
ไฟล์ Gif จังหวะนี้เราแก้เพรสได้ในแดนของเรา และพี่เดฟคิดเร็วทำเร็วทันที
เพราะตรงนั้นว่าง และวูฟยังจัดขบวนทัพไม่เสร็จดี
ไฟล์ Gif จังหวะแก้เพรสและโจมตีทันที
จะเห็นว่าแผงหลังวูฟจะเหลือตรงนั้นแค่คนเดียว
ไฟล์ Gif จังหวะแก้เพรซ และ โจมตีทันที
แต่จังหวะนี้ยังเร็วไม่พอ เพราะวูฟลงมาแพ็คทัน
แต่ต้องชมการประสานงานของ Month และ Pulisic
ที่ยังคงโจมตีไวต่อเนื่อง จนนำมาสู่ประตู 2-0
2. แต่ถ้าวูฟแพ็คเกมส์แล้ว ให้ค่อยๆต่อเกมส์ขึ้นมา
แล้วการค่อยๆต่อเกมส์ขึ้นมา จะสามารถโจมตีได้ด้วยวิธีไหนบ้าง
นี่คือภาพพื้นที่การครองบอล (credit: Twitter ExpectedChelsea)
สังเกตุแมตช์เจอวูฟ
รูปแบบที่เห็นบ่อยๆคือ การเจาะเข้าพื้นที่ระหว่างกองหลังตัวกลาง และ แบ็ค หรือเรียกว่า Half Space
กัลลาเกอร์ชี้ และ เดฟแทงให้ ตรง Half-Space
เมาท์แทงให้ฮาแวตซ์ตรง Half-Space
จังหวะอื่นๆ
เราจะเห็นนักเตะของเรามาป้วนเปี้ยนแถว Half-Space กันเยอะ พอมีโอกาสก็วิ่งทำทาง
จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งให้กับผู้เล่นที่ครองบอลอยู่
ว่าจะเลือกส่งเข้า Half-Space หรือจะส่งเข้าตรงกลาง
ในทางกลับกัน การวิ่งลักษณะนี้ก็ช่วยดึงตัวประกบให้หลุดจากพื้นที่ได้เช่นเดียวกัน
นี่เป็นหนึ่งในวิธีในการสร้างโอกาสในยุคของ Potter
แล้วถ้าสร้างโอกาสได้แล้ว (จากการค่อยๆต่อเกมส์) มีรูปแบบการเข้าทำยังไงบ้าง?
รูปแบบที่เห็นบ่อยๆคือ
ในกรอบเขตโทษจะมีผู้เล่น 4-5 คน
โดยกระจุกตัวบริเวณกรอบ 6 หลาจะมีผู้เล่น 3 คนเสมอ
และบริเวณหัวกระโหลกจะมีอีก 1 คนคอยเก็บตก หรือส่องจากแถวไกล
3 คนแถวกรอบ 6 หลา
เสาใกล้-กลางประตู-เสาไกล
ตัวรุกอีก 2 คน + ชีคบริเวณกะโหลก
3 คนแถวกรอบ 6 หลา
เสาใกล้-กลางประตู-เสาไกล
ตัวรุกอีก 2 คน + ชีคบริเวณกะโหลก
3 คนแถวกรอบ 6 หลา
เสาใกล้-กลางประตู-เสาไกล
3 คนแถวกรอบ 6 หลา
เสาใกล้-กลางประตู-เสาไกล
และ Kova ยืนหัวกะโหลก
ไม่ว่าจะยังไง ต้องมี 3 คนที่กรอบ 6 หลาเสมอ
หากการบุกนั้นว่าจะการต่อเกมส์ขึ้นมา
แต่หากเป็นการสวนกลับเร็ว การจะเซ็ทให้มี 3-5 คนในกรอบเขตโทษนั้นยาก
จำเป็นต้องโจมตีไว ตามโอกาสที่มี
ตอน Build-up (การต่อเกมส์ขึ้นมา) เราเล่นแผนไหน
เราใช้ 3-3-3-1
ดูเผินๆมันคือ 3-4-3
แต่หากเจาะรายละเอียดดูแล้ว ไลน์หญ้าที่ยืนระหว่างแบ็คสองข้างห่างกันเกินกว่าจะเรียก 3-4-3 ได้
สังเกตการยืนไลน์หญ้าของอิสปิกับพูลิสิช
หน้าที่ของเดฟวันนั้นคือ
แบ็คขวา
กลางขวา
ปีกขวา
หน้าที่ของพูลิสิช
กลางซ้าย
ปีกซ้าย
จะสังเกตุได้ชัดเจนใน Part เกมส์รับ (อธิบายไปหัวข้อด้านบน)
ว่าพูลิสิชไม่ได้ลงมาเล่นแบ็คเลย
ขณะที่เกมส์รับลึก ก็ยังไปกระจุกตรงกลางมากกว่าจะเป็นวิงค์แบ็คด้วยซ้ำ
การสลับตำแหน่งระหว่าง Cucu กับเดฟ
เมื่อคูคูต้องหลุดตำแหน่งไปบีบบอล คูลิบาลีจะมายืน center ซ้ายแทน และเดฟจะลงมายืนเซ็นเตอร์ขวา
นี่เป็นการแทนตำแหน่งชั่วคราวเท่านั้น เพราะหลักๆแล้ว "ครึ่งแรก" Cucu จะเล่นเซ็นเตอร์
แต่ครึ่งหลัง หลังจากที่ถอด Pulisic ออก Cucu จะเล่นปีกแทน
และเดฟจะเล่นเซ็นเตอร์ประจำไปเลย
รายละเอียดตอนตั้งเกมส์
เราจะตั้งเกมส์ด้วย หลัง 3 เสมอ
ในระบบ 3-2 (+1 อีกคนคือเดฟและพูลิสิช เมื่อถ่ายบอลมาริมเส้น)
การสลับกันมาเป็นมิดฟิลด์ระหว่างเดฟกับพูลิสิช
แนวคิดง่ายๆคือ บอลอยู่ฝั่งไหน ปีกฝั่งนั้นลงมาอยู่ในแผงมิดฟิลด์
เพื่อจะตั้งเกมส์ 6 คน และใช้ระบบการยืน 3-3-3-1
เป็นการทำให้เรามีตัวผู้เล่นเยอะกว่าตอนเซ็ทเกมส์
ภาพนี้บอลอยู่ซ้าย พูลิสิชจึงลงมารับบอล แต่อีกฝั่ง กับตันเดฟจะขึ้นไปฝั่งยืนบนสุดแทน
ไฟล์ Gif กัปตันเดฟส่งแล้วเดินหันหลังกลับไปเลย
พอบอลมาฝั่งซ้าย Pulisic วิ่งย้อนกลับมารับบอลทันที
ไฟล์ Gif การสลับการลงมาในแผงมิดฟิลด์ของเดฟและพู
แล้วแต่ว่าบอลอยู่ซ้าย หรือ ขวา
และจะเห็นไลน์หญ้าว่าคนที่อยู่ข้างบนจะกลายเป็นปีกไปเลย
แต่พอเป็นจังหวะบุก ทั้งเดฟและพูก็ดันสูงทั้งคู่เลย
เตรียมวิ่งเข้าเขตโทษ ในจังหวะที่มีการเข้าทำ
คำถามที่เจอบ่อยหลังเกมส์พบวูฟ
1. สรุปแล้วเราเล่นหลัง 3 หรือ หลัง 4
เราเล่นสลับกันระหว่างหลัง 3 และหลัง 4
โดยตอนเราบุกเราใช้หลัง 3 ในรูปแบบการยืน 3-3-3-1
และบุกสุดตัวยืน 3-1-1-5
ตอนเรารับเราใช้หลัง 4 ในรูปแบบการยืน 4-2-3-1 และ 4-4-2 แล้วแต่ว่าบอลอยู่ตรงไหน
2. กัลลาเกอร์ พูลิสิช คือวิงค์แบคจริงหรือไม่
กัลลาเกอร์ และ พูลิสิช เป็นปีกในการเล่นเกมส์รับแบบ 4-4-2
ไม่ใช่วิงค์แบ็ค เนื่องจากบางทีก็หุบเข้ามาปิดพื้นที่ตรงกลาง บางทีก็ตามตัวประกบลงไปสุดเส้นหลัง จนบางทีดูเหมือนวิงค์แบ็ค
บางทีก็ยืนปิดพื้นที่ในกรอบเขตโทษ แต่อยู่บริเวณตรงกลางมากกว่า
3. Cucurella เล่นกี่ตำแหน่ง
วันนั้น Cucu เล่น 3 ตำแหน่งคือ
เกมส์รุกเล่นเป็น Center ตัวซ้าย
เกมส์รับเล่นเป็น Back ซ้าย
แต่พอถอดพูลิสิชออก Cucu ก็ไปยืนแพนพูลิสิชในตำแหน่งปีกซ้าย
และกัปตันเดฟลงมาเป็นเซ็นเตอร์แทน แต่ยังคงแท็คติคเกมส์รับเดิมคือ 4-4-2
ภาพจังหวะครึ่งหลัง
4. จุดอ่อนที่เห็นมีอะไรบ้าง
1.เมื่อเราแพ้การดวลตัวต่อตัวตรงกลางสนาม
ไม่ว่าจะเป็นการโหม่งแพ้ การเข้าปะทะแพ้ หรือการถูกเลี้ยงผ่าน
จะเสี่ยงทำให้เราปรับรูปขบวนไม่ทัน
ไฟล์ Gif ดูพี่จอร์ล้มกลิ้งแล้วอยาก Rice ยิ่งกว่าเดิม 555
ไฟล์ Gif อีกภาพ แพ้การดวลกลางอากาศ ก็เรียบร้อย ลงมาเซ็ทเกมส์รับกันไม่ทัน
ถ้าเป็น Costa ตอนพีคๆคงซัดแสาแรกไปละ
2.การ Build-up ที่ต้องมีความละเอียดมากๆ
โดยเฉพาะในแผงกองหลัง
การ Build-up ต้องละเอียด ไม่งั้นจากความได้เปรียบจะกลายเป็นเสียเปรียบ
ต้องกล้าแทงขึ้นบนในจังหวะที่มั่นใจว่าได้เท่านั้น
ดู Play นี้ การเล่นเหมือนเดิม แต่ผลลัพธ์แตกต่าง
Cucu จ่ายทะลุเข้าแผงกองกลางและ Havertz ได้ลุ้นประตู
Cucu เล่นแบบเดิมแต่ถูกตัด พอตัดได้กลายเป็นกองหลังทุกคนดวล 1-1 หมดเลย
และจังหวะสุดท้ายโชคดีที่วูฟไม่ส่งออกขวา แต่ตัดสินใจยิงเองและติดบล็อค
จะเห็นได้ว่ารูปขบวนหลุดลุ่ยมาก เมื่อโดนตัดบอลได้
เพราะงั้นจังหวะพวกนี้ต้องเน้นๆหน่อย
Spoil
เดาว่าเหตุผลที่ Koulibaly พึ่งได้ลงในยุคพ็อตเตอร์เพราะต้องติวเรื่องนี้ให้เข้มๆด้วย
ความชอบส่วนตัว
Spoil
วันนี้ผมชอบรายละเอียดเล็กๆเรื่องการยืน 3-3-3-1
เพราะบอลบุกทางไหน ปีกฝั่งนั้นลงมาเอาบอล
ทำให้ไม่สูญเสียตำแหน่งการยืนในเกมส์รุกจนเกินไป
ในขณะเดียวกันก็มีตัวมาคอยต่อบอลเพิ่มขึ้นจากปกติสร้างเกมส์กัน 5
แต่พอมีปีกลงมารับบอลก็รวมเป็น 6
ต่อให้ถูกเพรสแค่ไหน ก็มีสิทธิ์ที่จะแก้เพรสได้สูง
อีกส่วนที่ชอบคือการเล่นเกมส์รับ 4-4-2 ที่ปีกหุบเข้ามาเป็นรูปเพชร
แต่เมื่อบอลอยู่ริมเส้นก็ถ่างออกไปยืนหน้ากระดานตามปกติ
ตรงนี้เป็นรายละเอียดที่เล็กมากแต่เราก็ตัดบอลด้วยวิธีนี้บ่อยมากๆ โดยเฉพาะเจ้าหนูกัลลาเกอร์
จบละครับ ยาวนิดนึงนะครับผม
หากใครเห็นรายละเอียดในเกมส์นั้นนอกเหนือจากนี้ ยังไงก็เม้นบอกผมด้วยนะครับ
บางทีผมก็สังเกตได้ไม่หมดเหมือนกัน 555
หรือรู้สึกอย่างไรกับแผน Potter ในวันนั้น ก็เข้ามาเม้นคุยกันครับผม
ขอบคุณครับ