แขวนสตั๊ด
Status:
: 0 ใบ
: 0 ใบ
เข้าร่วม: 05 Dec 2016
ตอบ: 6087
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed Aug 25, 2021 18:42
[RE: ทำไมคนแถบสแกดิเวีย ใช้ภาษาอังกฤษได้ดีมาก]
ภาษาของคนแถบสแกนดิเนเวีย ชาวนอร์ส มันก็คิอภาษากลุ่ม เจอแมนิกครับ
อยู๋ในกลุ่มเดียวกันกับ ภาษาเยอรมัน อังกฤษ
หลักๆคือภาษาเจอแมนิก แบบเยอรมัน แล้วแตกแขนกออกไปเป็นภาษา/สำเนียงอื่นๆ
ภาษาอังกฤษก็พัฒนามาจากภาษาเยอรมัน เพราะคนอังกฤษปัจจุบันอพยพมาจากทางตอนเหนือของเยอรมันติดกับทางตอนใต้ของเดนมาร์ก
คนยุโรปแถบนี้เลยพูดภาษาอังกฤษได้ดีไม่มีปัญหาเพราะรากศัพท์เดียวกัน แกรมม่าเดียวกัน
ภาษาเยอรมันยังพูดคำศัพท์ระบุเพศอยู่ แต่อังกฤษไม่ต้อง เลยง่ายที่จะเรียนรู้
แต่พวกละตินยุโรปอย่าง สเปน อิตาลี โปรตุเกส ฝรั่งเศส หัดพูดอังกฤษยากกว่า เพราะรากศัพท์มาจากภาษาละติน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นภาษาในยุโรปทุกกลุ่มก็อยู่ในกลุ่ม อินโด-ยูโรเปี้ยน ที่รากศัพท์คล้ายๆกัน คือมาจาก กรีก-โรมัน(ละติน)
ยกตัวอย่างง่ายๆคำศัพท์พื้นๆอย่างคำว่า"พ่อ" ในแต่ละภาษา (อังกฤษคือ Father อันนี้เราๆรู้อยู่แล้ว) มาดูภาษาอื่นๆ
ต้นแบบมาจากกรีก-โรมัน
กรีก - πατέρας (ปา-เต-รัส)
โรมัน(ละติน) - pater (ปา-เตอร์)
สเปน/อิตาลี - padre (ปา-เดร)
โปรตุเกส - pai (ปาย)
ฝรั่งเศส - père (แป)
นี่คือกลุ่มละตินยุโรป
มาดูกลุ่ม เจอแมนนิก
อังกฤษ - father (ฟา-เตอร์)
เยอรมัน - Vater (ฟา-ทาร์)
สวีเดน - far (ฟา-เดอ)
นอร์เวย์ - far (ฟาร์ท)
เดนมาร์ก - far (ฟาร์ด)
เห็นมั้ยครับว่า Pater ของละติน ที่มาจาก πατέρας (ปา-เต-รัส) ของกรีก
เป็นต้นแบบให้ ทั้งแบบเจอแมนิกและละตินยุโรป
เสียง ฟา(Fa) กับ ปา(Pa) ก็ใกล้เคียงกัน
ภาษากรีกโรมันโบราณ พ่อ คือ Piter คำเดียวกับคำว่า Jupiter ที่แปลว่า เทพซุส และดาวพฤหัส
Ju แปลว่า ท้องฟ้า / Piter แปลว่าพ่อ เทพ จูปิเตอร์ แปลว่า บิดาแห่งท้องฟ้า
แล้วคำว่า Piter บางสำเนียงออกเสียงว่า พิ-ทา เช่น เยอรมันและโอลด์อิงลิช
พิ-ทา มันก็มาตรงกับ คำว่า บิ-ดา ในภาษาไทยที่ยืมคำนี้มาจากภาษาสันสกฤตอีกที
ภาษาในยุโรปก็มีรากศัพท์จากภาษาสันสกฤตเยอะ ยิ่งศึกษายิ่งสนุกครับ สำหรับเรื่องภาษา