Chelsea ชุดนี้เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร
ผมมีเหตุผลดีๆอยู่ครับ คือ เชลซียุคเสี่ยหมีเก่งที่สุดอย่างไม่มีข้อสงสัยอยู่แล้ว เลยอยากมาลองเจาะให้เห็นทีละส่วนว่า ทีมชุดนี้อาจจะดีกว่าชุดอื่นที่ผ่านมาทั้งหมดเลย จะยกตัวอย่างแบบนี้
2004-05 กับ Jose Mourinho เกมรับเสีย 15 ประตู
2009-10 กับ Carlo Ancelotti เกมรุกยิง 103 ประตู
2011-12 กับ Roberto Di Matteo พลังใจนักเตะ
2016-17 กับ Antonio Conte ความสมดุลทีม
และ
2021-22 กับ Thomas Tuchel กุนซือ New Gen
5 ชุดนี้เก่งที่สุดแล้วสำหรับผม หรือใครคิดว่ามีชุดไหนเก่งกว่าลองมาคุยกันได้
เกณฑ์การให้คะแนน
3 = ยอดเยี่ยม
2 = สอบผ่าน
1 = สอบตก
[ผู้รักษาประตู]
Spoil
2004-05:
Cech กับ Cudicini เหมาะสมที่จะเป็นมาตราฐานในเกณฑ์ยอดเยี่ยม สำหรับมือ 1 และ 2 ส่วน Pidgeley เป็นลูกหม้อที่ถูกดันขึ้นมาเป็นมือ 3 อยู่ 3 ซีซั่น ได้ลงแค่ 2 นัด สุดท้ายย้ายไปมิลวอลล์ ถือว่าสอบตก หักคะแนนความเก่งจากมือ 3 ไป 2 คะแนน
Petr Cech 3/3
Carlo Cudicini 3/3
Lenny Pidgeley 1/3
คะแนนรวม 7/9
2009-10:
พูดถึงความเก่งของผู้รักษาประตูมือ 2 ของทีมแชมเปี้ยน Hiralio อาจจะดูดร็อปกว่า คูดิชินี่ ไปสักนิด แต่ว่าโดยรวมๆ ยังถือว่าสอบผ่าน ส่วน Turnbull อันนี้ก็ให้สอบตก เพราะอะไรคงจำกันได้ หักไป 2 คะแนน
Petr Cech 3/3
Henrique Hilario 2/3
Ross Turnbull 1/3
คะแนนรวม 6/9
2011-12:
เหมือนชุด 2009-10 ทุกประการครับ
Petr Cech 3/3
Henrique Hilario 2/3
Ross Turnbull 1/3
คะแนนรวม 6/9
2016-17:
ถ้าตัดอคติกับ Courtois ออกไป ชุดนี้ถือว่าดีที่สุด มี Eduardo ที่มาพร้อมประสบการณ์และเป็นมาตราฐานมือ 3 ที่ดีในแง่ของห้องแต่งตัวและสนามซ้อม ซึ่งก่อนย้ายมา มีดีกรีเป็นมือ 1 จาก ไดนาโม ซาเกร็บ แต่ขอหัก 1 คะแนนเพราะไม่ได้ลงสนามเลย
Thibaut Courtois 3/3
Asmir Begovic 3/3
Eduardo 2/3
คะแนนรวม 8/9
2021-22:
Kepa ที่เพิ่งลงมาเซฟจุดโทษ นัดชิงซูเปอร์ คัพ เรียกความมั่นใจให้ทีมและแฟนบอลได้มาก ฝีมือโดยรวมกับการเป็นมือ 2 ก็ถือว่าใช้ได้ ส่วน Bettinelli นี่ยังไม่เคยเห็นฟอร์ม แต่กับฟูแล่มก็ถูกปล่อยยืมบ่อยๆ ไม่ได้มีสถิติที่น่าสนใจอะไร ถ้าเทียบกับ Eduardo ที่โปรไฟล์มาเต็มกว่า ขอหัก 2 คะแนน เพราะยังไม่เชื่อฝีมือ
Edouard Mendy 3/3
Kepa Arrizabalaga 2/3
Marcus Bettinelli 1/3
คะแนนรวม 6/9
สรุป คือ (2016-17) > (2004-05) > (2009-10) = (2011-12) = (2021-22)
ชุดที่ควรค่าแก่การได้คะแนน 9/9 คือ ยุคที่มี Petr Cech, Carlo Cudicini และ Henrique Hilario ในช่วงปี 2006 ถึง 2008 คือ Hilario อาจจะได้ 2/3 ในฐานะมือ 2 ก็จริง แต่สำหรับการเป็นมือ 3 ให้เต็มได้เลย
[เซ็นเตอร์ฮาล์ฟ 2 คน + กลางรับ 1 คน] หรือ
[เซ็นเตอร์ฮาล์ฟ 3 คน]
Spoil
2004-05:
สามรายแรกคือตำนานแนวรับของทีม ขณะที่ตัวสำรอง Huth ตอนนั้นอายุน้อย มีดีมีรั่วบ้าง เช่นเดียวกับ Smertin และ Parker ที่ถ้าไม่กระดูกหักไปก่อน อาจเรียนรู้ได้ดีกว่านี้ ฉะนั้น ให้สอบตกคนเดียวคือ Steven Watt ลูกหม้อคนแรกๆในโครงการปล่อยยืม
John Terry 3/3
Ricardo Carvalho 3/3
Claude Makelele 3/3
Robert Huth 2/3
Steven Watt 1/3
Alexey Smertin & Scott Parker 2/3
คะแนนรวม 14/18
2009-10:
Alex ที่ดีพอลงตัวจริงให้ทีม พร้อม Ivanovic ที่เล่นเซ็นเตอร์สลับกับแบ็คขวาเริ่มโชว์ฟอร์มมากขึ้น ส่วน Matic ในตอนนั้นยังถือว่าล้มเหลว
John Terry 3/3
Ricardo Carvalho 3/3
Michael Essien 3/3
Alex 3/3
Branislav Ivanovic 2/3
Nemanja Matic 1/3
คะแนนรวม 15/18
2011-12:
Luiz เป็นที่ฮือฮาของแฟนสิงห์ในตอนนั้นครับ ส่วน Cahill ย้ายเข้ามาช่วงมกราคมและทำผลงานได้แจ่มมาก ทดแทนช่วงฟอร์มดร็อปของกัปตัน JT ได้ดี
John Terry 2/3
David Luiz 3/3
John Obi Mikel 2/3
Gary Cahill 3/3
Sam Hutchinson 1/3
Michael Essien & Oriol Romeu 2/3
คะแนนรวม 14/18
2016-17:
Cahill เป็นตัวจริงและสอบผ่าน แต่ว่าเขาไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับเมื่อ 3-4 ปีก่อน ส่วน Terry ก็ทำหน้าที่ประคองรุ่นน้องแบบทรงๆ แต่ก็ยังอุตส่าห์ได้ลงสนามเยอะกว่า Zouma ที่เพิ่งกลับมาจากอาการบาดเจ็บ กับ Ake ที่ลงไปแค่ 4 เกมจนต้องย้ายออกไปยืมตัวกับ บอร์นมัธ
Gary Cahill 2/3
David Luiz 3/3
César Azpilicueta 3/3
John Terry 2/3
Kurt Zouma 1/3
Nathan Ake 1/3
คะแนนรวม 12/18
2021-22:
Christensen ถ้าเก็บประสบการณ์กับความนิ่งอีกหน่อย เชื่อว่าพร้อมเป็นตัวหลักให้เพื่อนๆได้แน่นอน ถือว่าสอบผ่าน ส่วน Chalobah ทำได้น่าประทับใจตั้งแต่เล่นให้ Lorient เพื่อเป็นการไม่อวยชุดปัจจุบันมากเกินไป ผมจะให้ Zouma สอบตก เพราะมีฝีเท้าที่ยอดเยี่ยม แต่ไม่เข้ากับระบบทีม
Antonio Rudiger 3/3
Thiago Silva 3/3
César Azpilicueta 2/3
Kurt Zouma 1/3
Andreas Christensen 2/3
Trevoh Chalobah 2/3
คะแนนรวม 13/18
สรุป คือ (2009-10) > (2004-05) = (2011-12) > (2021-22) > (2016-17)
เกมรับปี 2004-05 คือภูผาเหล็กของจริง แต่อันนั้นมีองค์ประกอบตำแหน่งอื่นอยู่ด้วย เดี๋ยวไปดูกันต่อก่อนครับ
[ฟูลแบ็ค] หรือ
[วิงแบ็ค]
Spoil
2004-05:
Ferreira กับ Gallas กำลังอยู่ในจุดพีค ขณะที่ Bridge กับ Johnson เล่นเกมบุกได้เร้าใจ แต่พอมองแบบเป็นกลาง มันก็มีเหตุผลเรื่องเกมรับอยู่ ซึ่งผมมองจุดนี้ว่า มูรินโญ่อ่านขาดพอสมควร เรื่องการแข่งขันภายในที่ต้องเข้มข้นขึ้นกว่านี้ในยุค 16 ปีก่อน
William Gallas 3/3
Paulo Ferreira 3/3
Wayne Bridge 2/3
Glenn Johnson 2/3
คะแนนรวม 10/12
2009-10:
มีทั้งช่วงที่ดีและแย่สำหรับ Zhirkov และ Ferreira แต่ก็เติมเต็มอาการบาดเจ็บได้ดีจนคว้าดับเบิ้ลแชมป์ ส่วน Belletti กับ Bosingwa ก็แย่งตำแหน่งกันสนุก เพราะมีจุดเด่นอยู่ที่เกมรุกทั้งคู่ โดยรวมคือชอบครับ
Ashley Cole 3/3
Jose Bosingwa 3/3
Yuri Zhirkov & Paulo Ferreira 2/3
Juliano Belletti 2/3
คะแนนรวม 10/12
2011-12:
Bosingwa กับ Ferreira ถูกโจมตีเยอะมาก สาเหตุเพราะความรั่วนั่นเอง ขณะที่ A.Cole ของเราอยู่ในช่วงขาลงปีแรกเหมือนกัน ทำให้ Di Matteo ต้องงัดแผน 2 แบ็คซ้ายมาหยุด Arjen Robben
Ashley Cole 2/3
Ryan Bertrand 2/3
Branislav Ivanovic 3/3
José Bosingwa & Paulo Ferreira 1/3
คะแนนรวม 8/12
2016-17:
Ivanovic ย้ายไปช่วงฤดูหนาว เพราะถูก Moses แย่งตำแหน่งกราบขวา ทำให้ Pedro และ Willian รวมไปถึง Azpilicueta ต้องผลัดกันมาหมุนเวียนในตำแหน่งวิงแบ็ค บ่งบอกทุกอย่างแล้วกับอีก 2 ตัวสำรอง
Marcos Alonso 3/3
Victor Moses 3/3
Kenedy 1/3
Branislav Ivanovic & Ola Aina 1/3
คะแนนรวม 8/12
2021-22:
สำหรับแบ็คซ้าย ใครลงก็ไม่ต่าง ขึ้นอยู่กับแท็คติคมากกว่า ส่วนกราบขวา โอดอย เองก็ถือว่าไม่เลวเลยในการเป็นคู่แข่งคอยกดดัน เจมส์ เดี๋ยวทำความเข้าใจกับตำแหน่งอีกนิด น่าจะได้เห็นบ่อยขึ้น
Ben Chilwell 3/3
Marcos Alonso 3/3
Reece James 2/3
Hudson Odoi 2/3
คะแนนรวม 10/12
สรุป คือ (2004-05) = (2009-10) = (2021-22) > (2011-12) = (2016-17)
ใจจริงผมอยากให้คะแนน James เต็มเลย เพราะยืดหยุ่นตำแหน่งได้เยอะมาก (เซ็นเตอร์ตัวที่สาม, แบ็คขวา, วิงแบ็ค และกลางรับ) ถ้า James เติมเกมรุกเก่งกว่านี้อีกหน่อย ผมว่าสมบูรณ์แบบเลย ส่วน Odoi ถ้าชินกับตำแหน่งนี้เมื่อไร คงเป็นคู่แข่งที่ดีมากๆ ตอนนี้ให้ทั้งคู่แค่สอบผ่านแล้วกัน
[คู่กองกลาง]
Spoil
2004-05:
Tiago ขวัญใจใครหลายๆคนในตอนนั้น ลงสนามเป็นอันดับที่ 4 ของทีม กับตัวรุกยืนต่ำแบบ Gudjohnsen เลยขออนุญาตินับเป็นกองกลางแทน สำรองมี Geremi ที่พอได้ กับ Jarosik เป็นตัวหมุนเวียน แต่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้เลย ยังไม่ให้ผ่านนะ
Frank Lampard 3/3
Eidur Gudjohnsen 3/3
Tiago Mendes & Geremi 3/3
Jiri Jarosik 1/3
คะแนนรวม 10/12
2009-10:
หนึ่งในกองกลางชุดที่ดีที่สุดของทีม เสียดายที่ Deco ไม่เปรี้ยงปร้างเหมือนสมัยก่อนหน้า แต่ก็ถือว่าสอบผ่านอยู่ มีลูกยิงให้จดจำกัน เช่นเดียวกับ Obi Mikel ที่สอบผ่านในฐานะดาวรุ่ง มีเปอร์เซ็นผ่านบอลสูงต้นๆในทีม
Frank Lampard 3/3
Michael Ballack 3/3
Deco 2/3
John Obi Mikel 2/3
คะแนนรวม 10/12
2011-12:
ตรงนี้ผมมองว่าแลมพาร์ดไม่มีความเร็วเหมือนก่อนแล้ว แต่ทักษะกับวิธีอ่านเกมยังเฉียบคมอยู่ แกยังเป็นดาวซัลโวในซีซั่นนี้ด้วย ขณะที่กลางคนอื่นๆทำผลงานได้น่าประทับใจทุกคนครับ
Frank Lampard 3/3
Juan Mata 3/3
Ramires 3/3
Raul Meireles 3/3
คะแนนรวม 12/12
2016-17:
สามคนแรกไม่ต้องพูดถึงเลย ใครลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับแผนและแท็คติค ส่วน Cheek ได้รับโอกาสน้อยมาก จะไปเด่นยุค Sarri มากกว่า เพราะคอนเต้ต้องการคนที่ Work Rate สูง
N’golo Kante 3/3
Nemanja Matic 3/3
Cesc 3/3
Loftus-Cheek 1/3
คะแนนรวม 10/12
2021-22:
เข้าใจว่า Gilmour ถูกปล่อยยืมไปแล้ว แต่คงไม่มีกองกลางตัวยืมที่เหลืออยู่คนไหน กลับมายึดตัวจริงได้ ถ้ามองไปในอนาคต Gilmour คือ หนึ่งในดาวรุ่งที่จองสัมปทานแน่ๆล่ะ ซึ่งในฐานะสำรองหมุนเวียนช่วงที่ผ่านมา ถือว่าสอบผ่านมากๆ
N’golo Kante 3/3
Jorginho 3/3
Matteo Kovacic 3/3
Gilmour 2/3
คะแนนรวม 11/12
สรุป คือ (2011-12) > (2021-22) > (2004-05) = (2009-10) = (2016-17)
ตัวจริงฝีเท้าไม่ห่างกันเท่าไร แต่สำรองหมุนเวียนชุด 2011-12 แน่นมาก แต่ละคนกำลังรีดฟอร์มได้ถูกจังหวะพอดีครับ
[สามตัวรุก]
Spoil
2004-05:
ถ้า Robben ไม่เจ็บ อาจถึงขั้นยึดตัวจริงของ Duff ได้เลย ดาวรุ่งฝีเท้าจัดที่คว้ารางวัลส่วนตัว กับปีกตัวเก่งชาวไอริช เป็นการแย่งตำแหน่งที่ดุเดือดมาก ส่วน Kezman ที่ได้ลงสนามบ่อย กลับทำผลงานได้ไม่ค่อยดี เทียบกับ Drogba ที่ยิงไม่เยอะมาก แต่มีอิมแพ็ค
Didier Drogba 3/3
Joe Cole 3/3
Damien Duff 3/3
Nemanja Kezman 1/3
Arjen Robben 3/3
Mikael Forssell & Adrian Mutu 1/3
คะแนนรวม 14/18
2009-10:
ปีสุดยอดของดร็อกบา กับตัวสำรองไว้ใจได้อย่าง Sturridge และ Kalou ที่สลับกันเล่นปีกกับกองหน้า ขณะที่ Malouda ในช่วงพีคก็ยิงไปไม่น้อยเหมือนกัน เสียดายตรง Cole ถูกอาการบาดเจ็บรบกวนจนหาฟอร์มไม่เจอ และถูกปล่อยตัวให้ลิเวอร์พูลหลังจบฤดูกาล
Didier Drogba 3/3
Nikolas Anelka 3/3
Florent Malouda 3/3
Daniel Sturridge 2/3
Salomon Kalou 2/3
Joe Cole & Fabio Borini 1/3
คะแนนรวม 14/18
2011-12:
ฟอร์มการเล่นของ Malouda กับ Kalou เข้าขั้นหนัก โดยเฉพาะรายแรก ยิงได้ 3 ประตูจาก 43 เกม ส่วน Torres น่าประทับใจแค่ลูกยิงรอบรองกับ Barca แค่นั้น โดยรวมถือว่าสอบตก กว่าจะเริ่มจับจุดได้ก็ปีที่ Rafa มาคุม ขณะที่ Drogba ลงไม่เยอะ แต่ยิงนัดสำคัญตลอด โดยเฉพาะถ้วยยุโรป 6 เม็ด
Didier Drogba 3/3
Daniel Sturridge 3/3
Fernando Torres 1/3
Florent Malouda 1/3
Salomon Kalou 1/3
Nicolas Anelka & Romelu Lukaku 1/3
คะแนนรวม 10/18
2016-17:
Michy ที่ลงเป็นสำรองแต่ก็ยิงได้อยู่ในยุค Antonio Conte แต่ดาวรุ่งสองหน่อไว้ใจไม่ได้เช่นเคย ยังดีที่มี Pedro ลงสลับกันลงกับ Willian ได้หลายตำแหน่ง
Diego Costa 3/3
Hazard 3/3
Pedro 3/3
Michy Batshuayi 2/3
Willian 3/3
Dominic Solanke & Charlyn Musonda 1/3
คะแนนรวม 15/18
2021-22:
ตัวรุกชุดนี้ใครลงก็ไม่ต่างกัน อยู่ที่แผนในแต่ละนัดมากกว่า อย่าง Werner แฟนเชลซีรู้ดีว่า เขามีส่วนร่วมกับเกมรุกเยอะมาก ขาดแค่ความคม อันเป็นสำคัญที่สุดสำหรับกองหน้า ทางด้าน Lukaku ยังไม่เห็นฟอร์มกับเชลซีชุดนี้ แต่จะให้คะแนนจากฟอร์มที่ผ่านมาไปก่อน ซึ่งเขาพิสูจน์แล้วว่า เขาเป็นกองหน้า ไม่ใช่ตู้เย็น
Romelu Lukaku 3/3
Kai Havertz 3/3
Mason Mount 3/3
Werner 2/3
Christian Pulisic 3/3
Hakim Ziyech 2/3
คะแนนรวม 16/18
สรุป คือ (2021-22) > (2016-17) > (2004-05) = (2009-10) > (2011-12)
ปัจจัยที่ทำให้ชุด 2009-10 ยิงได้เยอะเพราะมาจากสไตล์การเล่นด้วยครับ ไม่ต้องตกใจผลสรุปไป เพราะ 2016-17 มีแข่งน้อยกว่า นักเตะเลยฟิตกว่า
รวมคะแนนทั้งทีม ตัดเกรดเป็นเต็ม 100%
2004-05: 55/69 = 79.7 %
2009-10: 55/69 = 79.7 %
2011-12: 50/69 = 72.5 %
2016-17: 53/69 = 76.8 %
2021-22: 56/69 = 81.2 %
[2021-22] > [2004-05] = [2009-10] > [2016-17] > [2011-12]
2004-05 สูสีกับ 2009-10 ขณะที่ UCL 2012 เป็นชุดเก๋า แก่แต่ไม่เสียเที่ยว แค่ขุมกำลังโดยรวมไม่แน่นเท่านั้นเอง
ส่วนทีมชุดปัจจุบันมีความครบเครื่องกว่า สามารถเลือกแผนการเล่นได้หมด ยืดหยุ่นแท็คติคได้สูง ตรงนี้ขอชื่นชมบอร์ดบริหารเลยว่า
2004-05:
ช่วงที่บอร์ดใจร้อนกับผลการแข่งขันชั่วครู่ เทียบกับปัจจุบัน ไม่ว่าจะ Conte, Sarri หรือ Lampard ผมคิดว่าถูกปลดในช่วงเวลาที่ถูกต้องและสมควรแล้ว ถึงแม้ว่าเราจะเสียใจ แต่ผู้บริหารต้องมีความเด็ดขาด ซึ่งทีมบริหารเสี่ยหมีพัฒนาวิสัยทัศน์ดีขึ้นมาก
2009-10:
ช่วงที่เริ่มไม่มีเด็ก Academy โผล่มาแล้วนอกจาก Terry (ลองสังเกตุชุด 2004-05 ยังพอมีเด็ก Academy เป็นสำรองอยู่) ซึ่งหลังจาก Takeover 18 ปี เชลซีคว้า UCL อีกสมัย ที่มีเด็ก Academy เล่นเป็นกำลังหลักอย่างน้อย 2 คน และที่เหลือก็เป็นสำรองบ้าง ขายออกไปทำกำไรให้สโมสรบ้าง เจ๋งมาก
2011-12:
การงัดข้อกับแข้งซีเนียร์ทำให้ทีมเกือบพัง ณ ตอนนี้ ก็ไม่มีให้เห็นแล้ว ใจเขาใจเรากันมากขึ้นเยอะ เกื้อหนุนกันไปในทางที่ดี
2016-17:
ช่วงที่เริ่มมองเรื่องตัวเลข แต่กลายเป็นขายเพียบจน Downgrade ทีมไป ซึ่งผู้บริหารใช้เวลาไม่นาน ล้มแล้วลุกเร็วมาก จนปัจจุบันคือ สำรองไม่เก่งจริงก็อยู่ไม่ได้ แต่ก็ให้โอกาสดาวรุ่ง มีความใจเย็นกับผลการแข่งขัน ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างเฉียบขาด
2021-22:
Thomas Tuchel ให้สัมภาษณ์ว่า ในที่สุดเขาก็เจอสโมสรที่มีโครงสร้างที่ยอดเยี่ยม มีวิสัยทัศน์เปิดกว้างและทะเยอทะยาน สนับสนุนกันอย่างเต็มที่ ซึ่งผมมองว่า Tuchel ไม่ได้อวยสโมสรเลยนะ เพราะตอนนี้ ในแง่การบริหารจัดการทีมนั้นโหดมาก ทั้งการเงิน การเจรจา ทีมอคาเดมี่ ขุมกำลัง บรรยากาศห้องแต่งตัว ตลอดจนไปถึงการบริหารงานทั่วไป ผิดพลาดก็พร้อมแก้ไข ไม่มีเอ้อระเหยอะไรเลย
ผมยกให้ Chelsea ชุดนี้เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสรเลยครับ จบแล้วครับ ขอบคุณครับ