ครบรอบ 109 ปี การจมเรือไททานิก
109 ปี ไททานิคอับปาง กับ 9 เรื่องราวของผู้รอดชีวิตที่สะท้อนทั้งความหวังและความเจ็บปวด
ขอเพียงแค่คืนนั้นเรามีเรือชูชีพมากพอ คนที่เหลือจะไม่ต้องตาย” เอวา ฮาร์ต (Eva Hart) ประจักษ์พยานคนสุดท้ายในคืนไททานิคล่มกล่าว
เป็นเวลาเกือบ 109 ปี นับตั้งแต่เรือสุดหรู ‘ไททานิค’ จมลงสู่ความมืดมิดของห้วงมหาสมุทรอันหนาวเย็นในวันที่ 15 เมษายน 1912 โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ได้พรากลมหายใจของคนบนเรือไปมากกว่า 1,500 คน ทั้งยังทิ้งบาดแผลให้ผู้รอดชีวิตต้องอยู่อย่างตายทั้งเป็น แต่สุดท้ายความเจ็บปวดก็ไม่ใช่อุปสรรคที่จะทำให้มนุษย์หยุดบอกต่อ ‘ความไม่พร้อม’ และ ‘ความไม่ปลอดภัย’ ของเรือที่มีนายทุนเป็นผู้สร้าง
ต่อไปนี้คือเรื่องราวของ 9 ผู้รอดชีวิต ที่สะท้อนความเมตตา ความกล้าหาญ และความเสียสละ รวมถึงความโศกเศร้า และความตายในวันที่โชคชะตากลืนกินไททานิคสู่ก้นโลก
ในวันที่ไททานิคพุ่งชนภูเขาน้ำแข็งด้วยความเร็วสูงสุด 22 นอต หรือประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จนไม่สามารถชะลอหรือหักหลบภูเขาน้ำแข็งได้ ‘เอวา ฮาร์ต’ เด็กหญิงวัย 7 ขวบกำลังนอนหลับอยู่ในห้องผู้โดยสารชั้นสองพร้อมครอบครัว ขณะที่พ่อของเธอขึ้นไปดูสถานการณ์บนดาดฟ้าเรือ ก่อนจะเร่งรีบกลับมาพาภรรยาและเอวาไปที่เรือชูชีพที่มีเพียง 20 ลำ
เธอและแม่ได้ขึ้นเรือชูชีพหมายเลข 14 ที่กำลังถูกหย่อนลงสู่ท้องทะเล พ่อบอกเธอว่า ในไม่ช้าเราจะได้พบกันอีก แต่เอวากลับตระหนักได้ว่านั่นคือครั้งสุดท้ายที่เธอได้เห็นหน้าพ่อ
จนถึงวันนี้ เอวาถือเป็นผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์เรือล่มคนสุดท้ายที่ยังจดจำความผิดพลาดในการเตรียมเรือชูชีพของ ‘บริษัทไวท์สตาร์ไลน์’ สายการเดินเรือสัญชาติอังกฤษ เจ้าของเรือไททานิคได้
“ขอเพียงแค่คืนนั้นเรามีเรือชูชีพมากพอ คนที่เหลือจะไม่ต้องตาย”
หลังเดินทางออกจากเซาท์แทมป์ตันเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ไททานิก ถูกเรียกที่เชอร์บูร์ก (Cherbourg) ในฝรั่งเศส และควีนส์ทาวน์ (ปัจจุบันคือ โคฟ, Cobh) ในไอร์แลนด์ ก่อนมุ่งหน้าไปทางตะวันตกมุ่งสู่นิวยอร์ก วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ห่างจากเซาท์แทมป์ตันไปทางใต้ราว 600 กิโลเมตร ไททานิก ชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็งเมื่อเวลา 11.40 น. การชนแฉลบทำให้แผ่นลำเรือไททานิก เกิดความเสียหาย นํ้าได้ทะลักเข้าไปในเรือ แล้วได้เปิดห้องกั้นนํ้าทั้งหมด แต่ทว่า ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้จากห้องเก็บถ่านหิน ทำให้ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ไม่สามารถทนทานแรงดันนํ้าได้ จึงส่งผลให้นํ้าทะลักเข้ามาภายในตัวเรือได้ อีกสองชั่วโมง สามสิบนาทีต่อมา น้ำค่อย ๆ ไหลเข้ามาในเรือและจมลง ผู้โดยสารและสมาชิกลูกเรือบางส่วนถูกอพยพในเรือชูชีพ โดยมีเรือชูชีพจำนวนมากถูกปล่อยลงน้ำไปทั้งที่ยังบรรทุกไม่เต็ม ชายจำนวนมาก กว่า 90% ของชายในที่นั่งชั้นสอง ถูกทิ้งอยู่บนเรือเพราะระเบียบ "ผู้หญิงและเด็กก่อน" ตามด้วยเจ้าหน้าที่ซึ่งบรรทุกเรือชูชีพนั้น ก่อน 2.20 น. เล็กน้อย ไททานิก แตกและจมลงโดยยังมีอีกกว่าพันคนอยู่บนเรือ คนที่อยู่ในน้ำเสียชีวิตภายในไม่กี่นาทีจากภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) อันเกิดจากการจุ่มในมหาสมุทรที่เย็นจนเป็นน้ำแข็ง ผู้รอดชีวิต 710 คนถูกนำขึ้นเรืออาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia) อีกไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง