รวมภาพน่ารักและเรื่องราวของพะยูน
นางเงือกแห่งท้องทะเล ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์จากโลกอีกชนิดหนึ่ง
.
เมื่อกลางปี พ.ศ. 2562 โลกโซเชียลมีเดียได้รู้จักกับ 'มาเรียม' ลูกพะยูนกำพร้าเพศเมียที่เข้ามาเกยตื้นที่จังหวัดกระบี่ และกลายเป็นกระแสเนื่องจากความน่ารัก และเรื่องราวของความ “สู้ชีวิต” เพื่อเติบโตอยู่รอดของมัน
.
อย่างไรก็ตาม ช่วงเดือนสิงหาคมในปีเดียวกัน มาเรียมได้จากโลกนี้ไปอย่างกระทันหันจากการกลืนเศษพลาสติก เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้เกิดการตื่นตัวในการอนุรักษ์พะยูนและปัญหาขยะพลาสติกมากขึ้น
.
พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในน้ำ กินพืชในน้ำเป็นอาหาร โดยเฉพาะหญ้าทะเลบริเวณชายฝั่ง เราสามารถพบเจอพะยูนได้ในทะเลชายฝั่งเขตอบอุ่น ตั้งแต่ชายฝั่งทวีปแอฟริกาตะวันออกไปจนถึงทวีปออสเตรเลีย
.
พะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกับแมนนาที พวกมันมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านลักษณะกายภาพภายนอกและพฤติกรรม และสัตว์ทั้งสองสายพันธุ์นี้ก็มีบรรพบุรุษร่วมกับสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างช้าง
.
ด้วยความที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำ พวกมันจึงต้องขึ้นมาบนผิวน้ำเพื่อหายใจทุก ๆ 6 นาที ในบางครั้ง พวกมันหายใจด้วยการ “ยืน” ด้วยหางและเอาหัวโผล่ขึ้นพ้นน้ำ
.
ในประเทศไทยแต่เดิมนั้น พะยูนมีถิ่นอาศัยอยู่ทะเลทั้งฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงที่เดียว คือบริเวณแนวเขตพื้นที่หญ้าทะเลขนาดใหญ่ ในเกาะมุกและเกาะลิบง ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของพะยูนฝูงใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
.
สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดอันดับให้พะยูนอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย (Vulnerable – VU) อันมีความหมายว่ามีความเสี่ยงที่จะสูญพันธ์ไปแบบไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าไร้ซึ่งการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากมนุษย์
.
และแม้ครั้งหนึ่ง พะยูน เคยเป็นสัตว์ที่คาดการณ์กันว่าจะสูญพันธุ์จากประเทศไทยไปในไม่ช้า ในวันนี้ได้กลายเป็นสัตว์ที่พร้อมที่จะกลับมาอยู่คู่ท้องทะเลไทยอีกครั้ง จากความพยายามอย่างต่อเนื่องของนักอนุรักษ์และชาวบ้านในชุมชนในถิ่นอาศัยของพวกมัน
.
อ่านเรื่องราวของพะยูนในเว็บไซต์ของเราเพิ่มเติมได้ที่
https://ngthai.com/animals/19415/newhopefordugonginthailand/
https://ngthai.com/animals/22317/mariam-dugong/