เมื่อท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ ประชาชนย่อมเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ชวนอ่าน 8 กวีนิพนธ์เพื่อชีวิต
เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในช่วงนี้ที่มีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆประกอบกับการที่ผมได้ไปชุมนุมและได้ฟังบทกวีจากผู้ปราศรัยมาพอสมควร วันนี้ผมจึงมีบทความดีๆที่น่าสนใจมาให้อ่านกันครับ
(ขอบคุณบทความนี้จาก
https://thematter.co/social/8-thai-politic-poetry/101493)
.
.
.
.
ในห้วงชีวิตของเรา เราเองคงต้องลิ้มรสขมของความอยุติธรรมมาทั้งชีวิต หลายเหตุการณ์อาจทำให้เราทนความขมปร่านั้นแทบไม่ไหว แต่ประวัติศาสตร์อันยาวนานของเราล้วนเป็นประวัติศาสตร์แห่งการกดขี่ดังที่คาร์ล มาร์กซ์บอก แต่ข่าวดีคือ ในการกดขี่นั้น ก็มักจะมีการต่อสู้ และการแสวงหาความหวังเพื่อให้เราได้เดินหน้าต่อไปเสมอ
นับตั้งแต่ที่เราก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่เป็นต้นมา ด้วยความที่บ้านเราเองก็เจอความลุ่มๆ ดอนๆ ทางการเมือง เจอสภาวะสิ้นหวังกันหลายต่อหลายครั้ง ประกอบกับกวีนิพนธ์เป็นรูปแบบวรรณกรรมสำคัญที่อยู่คู่กับภาษาและสังคมของเรา ในห้วงเวลาแห่งความสิ้นหวัง เหล่านักคิดนักเขียนของไทย ก็ได้ใช้บทกวีเป็นเครื่องมือในการรับมือ เรียกขานและส่งต่อความหวังให้ผู้คนได้เดินหน้าต่อสู้กันต่อไป
ถ้าเรามองอย่างคร่าวๆ กวีนิพนธ์สมัยใหม่ของไทยนั้นก็เติบโตขึ้นพร้อมๆ กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ เป็นกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มคนที่มีการศึกษา และส่วนใหญ่ก็มักจะพิจารณาตัวเองเป็นปัญญาชนที่มองว่าตนเองมีหน้าวิพากษ์วิจารณ์และต่อสู้เพื่อความถูกต้องในสังคมโดยเฉพาะการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อสิทธิ เสรีภาพและความถูกต้อง เป็นสิ่งที่ปัญญาชนและประชาชนไทยเรียกร้องมาตั้งแต่ย่างเข้าพุทธศตวรรษ 2500 ซึ่งดูทรงแล้วเราก็คงเรียกร้องกันอยู่ เรามีงานเขียนและบทกวีที่เริ่มวิพากษ์สังคมและการเมืองตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2490 เรื่อยมาจนถึงบทกวีเพื่อชีวิต และบทกวีการเมืองที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อใช้ในการต่อสู้ ปลอบขวัญและสดุดีในการต่อสู้ของประชาชนตั้งแต่เหตุการณ์เดือนตุลา ไปจนถึงช่วงพฤษภาทมิฬ
(นี่เป็นแค่ตัวอย่างของ 2 บทกวีที่ผมนำมาเสนอให้ได้อ่านกันนะครับ สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ที่ผมแนบด้านบนครับ)