BLOG BOARD_B
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Email: sale@soccersuck.com
ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออนไลน์
นักเตะเทศบาล
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 17 Mar 2020
ตอบ: 477
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Aug 31, 2020 07:28
[SONG ANALYSIS] – Radiohead x Hans Zimmer !
สวัสดีเพื่อนๆสมาชิกทุกท่านครับ กลับมาพบกันอีกครั้งในบทความยาวเชิงวิเคราะห์ดนตรีในตอนที่ 2 และแน่นอนว่าเพลงที่จะนำมาวิเคราะห์ในตอนนี้นั้น ก็ยังหนีไม่พ้นบทเพลงจากสุดยอดวง Experimental Rock อย่าง 'Radiohead' อีกเช่นเคย หากแต่ว่ามีความพิเศษเพิ่มขึ้นมาอีก โดยในเพลงนี้นั้น ได้หนึ่งในสุดยอดปรมาจารย์ด้านการประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์และซีรีย์ 'Hans Zimmer' มาร่วมงานกันในเพลงนี้ด้วย ตามชื่อหัวมู้เลย (ได้แรงบันดาลใจมากจาก Blackpink x Selena Gomez ที่พึ่งปล่อยซิงเกิ้ลไปในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา) เพียงแค่เอ่ยชื่อของสุดยอดนักดนตรีทั้ง 2 มา ก็ทำให้รู้สึกน่าสนใจแล้ว สำหรับเนื้อหาเพลงที่จะนำมาให้เพื่อนๆได้อ่านกันในครั้งนี้นั้น ต้องขอขอบคุณเนื้อหาจากคลิปวิดีโอบน Youtube (อีกแล้ว) และเช่นเคยครับรูปแบบก็จะเหมือนกับบทความในตอนที่แล้ว ที่ผมนำเนื้อหาต่างๆจากในคลิปมาเรียบเรียงใหม่ให้อยู่ในรูปแบบของบทความดนตรีให้เพื่อนๆได้อ่านกันนั่นเอง และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมขอพาเพื่อนๆไปดื่มด่ำกับบทความดนตรีในตอนนี้กันเลยครับผม



“Bloom” คือผลงานแทร็คเปิดของ Radiohead ในอัลบั้ม The King of Limbs ที่ถูกปล่อยออกมาในปี 2011 ซึ่งเมื่อตอนที่เฮียทอมเขียนเพลงนี้ขึ้นมานั้นเขาเริ่มแต่งจากเนื้อร้องเพียงไม่กี่คำ+กับไลน์เบสสั้นๆของโคลิน ซึ่งตัวเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากซีรีย์สารคดีที่ชื่อว่า Blue Planet ในปี 2001 โดยองค์ประกอบดนตรีของเพลงนี้นั้นเป็นการมิกซ์ซาวด์อันซับซ้อนระหว่าง Loop เมโลดี้จากกีต้าร์และเปียโน ที่รวมเข้ากับเสียง Synchopated(การขัดจังหวะ) ของเสียงกลอง (ส่วนตัวผมแล้ว ต้องบอกว่านี่เป็นเพลงที่ฟังยากมากๆ )




จนกระทั่งเวลาผ่านล่วงเลยมาจนถึงปี 2017 ทางวง Radiohead ก็ได้ถูกทาบทามให้ทำเพลงประกอบซีรีย์สารคดีภาคต่อของ "Blue Planet" ร่วมกับนักประพันธ์เพลงชื่อดัง ‘Hans Zimmer’ ซึ่งครั้งนี้พวกเขาจะต้องเผชิญหน้ากับโจทย์สุดท้าทายว่า จะทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนเพลง Experimental Rock ให้กลายเป็นเพลงประกอบซีรีย์สารคดีแห่งโลกใต้มหาสมุทรกัน ?




ในที่สุดพวกเขาก็ค้นพบแรงบันดาลใจโดยอ้างอิงมากจากเทคนิคงานจิตรกรรมที่ใช้เพียงจุดเล็กๆหนึ่งจุด มาประกอบรวมกันจนเป็นงานภาพจิตรกรรมที่สุดแสนจะงดงาม (❤ ขอบคุณภาพประกอบจากเว็บ Reddit ❤)


บทสัมภาษณ์ของ Hans Zimmer และ Thom Yorke ถึงเรื่องเพลงประกอบซีรีย์สารคดี Blue Planet 2
Hans – “Pointillism, painting pointillism.” “And started to talk about these ideas-”
Thom – “I used to draw exactly that after going surfing, I would do exactly that.”
Hans – “Alright okay so we were obviously, there seems to be consensus here that we were on right track.” “And we came over here, and just started to do these gestures with the orchestra, these tiny little fragments of sound.” “Just like a sometimes it would be like light, sometimes it would be like little waves.” “They sort of became the vocabulary for this.” “I think that was part of the idea let’s not just start with the tune, let’s start with figuring out a new technique.” “A new method of how to present whatever the notes are.”

ฮานส์ – “ลัทธิผสานจุดสี, งานจิตรกรรมผสานจุดสี และเริ่มที่จะพูดคุยกันเกี่ยวกับไอเดียนี้...”(เฮียทอมพูดขึ้นมา)
เฮียทอม – “ผมเคยวาดรูปแบบนั้นเลย หลังจากที่เล่นโต้คลื่นเสร็จ ผมอยากจะทำแบบนั้นน่ะ”
ฮานส์ – “เอาล่ะ เห็นได้ชัดเลยว่า ดูเหมือนเราจะมีความเห็นที่ตรงกันว่าเรานั้นมาถูกทางแล้ว และเราก็มาที่นี่และเริ่มกำหนดท่าทางต่างๆร่วมกับวงออร์เคสตราด้วยส่วนประกอบเล็กน้อยเหล่านี้ ที่เหมือนกับว่าบางครั้งมันน่าจะเป็นดั่งแสง,บางครั้งมันน่าจะเป็นดั่งคลื่นเล็กๆ พวกเขาเป็นเหมือนดั่งภาษาสำหรับเพลง ผมคิดว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของไอเดียที่ว่าเราไม่ต้องเริ่มแต่งเพลงจากการแต่งเมโลดี้, เรามาเริ่มจากการมองหาเทคนิคใหม่ๆดีกว่า วิธีการใหม่ๆที่ว่า ทำอย่างไรที่จะนำเสนออะไรก็ตามที่อยู่บนตัวโน้ตเหล่านั้น”



และวิธีการที่ว่านั้น ก็คือเทคนิคที่พวกเขาเรียกมันว่า “Tidal Orchestra” รูปแบบของเสียงนี้ คือเลเยอร์แกนหลักทั้งหมดของซาวด์แทร็คที่มีอยู่ตลอดทั้งเพลง มันได้สร้างบรรยากาศทั้งหมดของเพลงด้วยการประพันธ์ออกมาจากหนึ่งตัวโน้ต ซึ่ง ฮานส์ เคยทำมาก่อนหน้านี้แล้วกับผลงานซาวด์โจ๊กเกอร์ธีมที่อยู่ในหนังเรื่อง The Dark Knight ด้วยเสียงหนึ่งตัวโน้ตจากสายของเชลโล่ (รับฟังเสียงที่ว่าได้จากคลิปด้านล่างนี้เลย)




แต่นั่นเป็นหนึ่งตัวโน้ตที่พูดถึงในรูปแบบการเล่นแค่เครื่องดนตรีหนึ่งชิ้นเท่านั้น ซึ่งจะต่างจากเพลงนี้ที่พวกเขาจะต้องให้ทั้งวงออร์เคสตราบรรเลงหนึ่งตัวโน้ตนั้น เพื่อนๆอาจจะสงสัยว่าแล้วจะทำยังไงกันล่ะ? และแน่นอนครับว่ามันสามารถเป็นไปได้ด้วยกฎง่ายๆเพียงข้อเดียวเท่านั้น


คำกล่าวจาก Russell Emanuel โปรดิวเซอร์เพลงประกอบซีรีย์สารคดี Blue Planet 2
Russell - “We instructed the players to not play at the same time when there was along note.” “The conductor would say: ‘when the guy next to you is playing, don’t play.”
รัสเซิลล์ – “พวกเราแนะนำกับนักดนตรีว่าไม่ต้องบรรเลงเพลงพร้อมกัน เวลาที่ต้องเล่นตัวโน้ตพร้อมกัน วาทยกรจะพูดว่า: ‘เวลาที่คนนั่งถัดจากคุณกำลังเล่นอยู่, คุณอย่าพึ่งเล่น ”



และผมก็มีส่วนหนึ่งของซาวด์ที่ ฮานส์ เรียกเทคนิคนี้ว่า “Tidal Orchestra” มาให้เพื่อนๆได้รับฟังกันตามคลิปจากด้านล่างนี้เลยครับ




บทสัมภาษณ์ของ Hans Zimmer และ Thom Yorke ถึงเรื่องเพลงประกอบซีรีย์สารคดี Blue Planet 2
Hans - “You know, as your note dies away, just look at you know, whoever’s sitting next to you let them swell in their note.” “And you can get these beautiful sort of waves, and just for a moment the individual player is heard and then sinks back into you know, the mass.”
Thom – “It’s exactly what, if you look at the ocean long enough, that’s exactly what it does.” “In terms of, back to the pointillism things, it’s basically, if you really look at it, it’s triangles that come in and out, and seep in and out all the time.” “And they never stop, they never never never stop.”

ฮานส์ – “คืองี้นะ, ตราบเท่าที่ตัวโน้ตของคุณจบไป, คุณเพียงแค่มองหาว่าใครก็ตามที่นั่งถัดไปจากคุณ ปล่อยให้พวกเขาบรรเลงตัวโน้ตพวกนั้นไป จากนั้นคุณก็จะได้พบกับความสวยงามเหมือนดั่งคลื่น, และชั่วขณะหนึ่งนักดนตรีแต่ละคนจะได้ยินเสียง และจากนั้นก็จะค่อยๆจมกลับมาสู่แบบว่า, กลุ่มก้อนขนาดใหญ่”
เฮียทอม – “มันคือสิ่งเดียวกันกับที่, ถ้าคุณมองออกไปยังมหาสมุทรนานพอ, นั่นแหละคือสิ่งที่เกิดขึ้นบนมหาสมุทร ในแง่ของงานจิตรกรรมของลิทธิผสานจุดสี, โดยพื้นฐานแล้ว ถ้าคุณตั้งใจมองมัน มันคือภาพสามมิติที่เข้ามาแล้วก็ออกไป, ซึมเข้าและออกตลอดเวลา และพวกมันก็ไม่เคยที่จะหยุดทำแบบนั้น”






ถ้าให้อธิบายเพิ่มเติมถึงเทคนิคการประพันธ์เพลงที่ฮานส์พูดมานั้น ต้องขอย้อนกลับไปในยุค 1700s องค์ประกอบของเกมทอยลูกเต๋านั้นค่อนข้างจะเป็นที่นิยมมากทีเดียว ผู้เล่นจะทำการทอยลูกเต๋าเพื่อทำการสุ่มเพลง โดยมีพื้นฐานจากชิ้นส่วนในการลำดับเพลงประพันธ์ และจากนั้นก็ค่อยเริ่มบรรเลงเพลงนั้นๆ (ประมาณว่าเรามีส่วนของบทประพันธ์เพลงตามที่อยู่ในรูปนี้ เราก็จะใช้วิธีการทอยลูกเต๋า ในการสุ่มเลือกเล่นเพลงนั้นๆ)



ในปี 1953 นักประพันธ์เพลงนามว่า Earle Brown ได้แต่งเพลงที่เรียกว่า “Twenty-Five Pages” มันคือเพลงที่ไม่มีลำดับเลขหน้าของดนตรี ที่ซึ่งนักดนตรีนั้นจะสามารถเริ่มเล่นจากหน้าใดก่อนก็ได้ และทำการคว่ำด้านใดด้านหนึ่งของโน้ตเพลงก็ได้ ซึ่งจะมีตัวโน้ตที่อ่านได้ทั้งกุญแจเสียงสูงและกุญแจเสียงต่ำ (หมายความว่าเรามีบทประพันธ์เพลงอยู่ 25 หน้า และเราสามารถเลือกเล่นเพลงจากหน้าไหนก็ได้และสามารถเล่นตามหน้าปกติหรือคว่ำหน้าก็ได้)



จากนั้นไม่นานนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมันนามว่า Karlheinz Stockhausen ได้แต่งเพลงที่ชื่อว่า “Klavierstück XI” ที่นักดนตรีสามารถเลือกเพลงจาก 19 ส่วน และทำการสุ่มเพลงที่จบลงหลังจากที่พวกเขาบรรเลงเพลงหนึ่งส่วนเป็นเวลาสามรอบ (หมายความว่าเรามีบทประพันธ์เพลงอยู่ 19 ท่อน เมื่อเราทำการเล่นท่อนใดท่อนหนึ่งครบ 3 รอบแล้วนั้น เราจะมาสารถสุ่มเลือกท่อนใดก็ได้สำหรับการเล่นในท่อนถัดไป)



และในปี 1964 นักประพันธ์เพลงชาวอเมนิกัน Terry Riley ได้แต่งเพลงที่ชื่อว่า “In C” มันคือลำดับของ ประโยคเพลงสั้น 53 ส่วน ที่นักดนตรีสามารถบรรเลงเพลงไปตามจังหวะความเร็วของตัวเองได้ โดยการร้อยเรียงทำนองเข้าและออกจากการเล่นพร้อมกัน (ตัวอย่างเช่น ในรูปจะมีนักดนตรีอยู่ 3 คน และแต่ละคนสามารถเลือกเล่นไปพร้อมกันตามจังหวะความเร็วของตัวเองได้ ประมาณว่า; นักดนตรีคนแรกเล่นส่วนที่ 2 อยู่และในขณะเดียวกันนักดนตรีที่เหลือก็กำลังเล่นในส่วนที่ 3 อยู่)

*(รายละเอียดจริงๆของแต่ละเพลงที่ผมได้เอ่ยมานั้น มีคำศัพท์เฉพาะเยอะมาก ซึ่งผมก็ไม่มีความรู้ทางด้านนั้นมากพอที่จะลงรายละเอียดไปมากกว่านี้ หากมีข้อมูลที่ขาดตกไปต้องขออภัยจริงๆครับ)*




ดนตรีประเภทนี้(เพลงที่ผมกล่าวมานั้น)ถูกเรียกว่า “Aleatoric Music” (หรือที่รู้จักกันในชื่อ Aleatory Music หรือ Chance Music) โดยมีที่มาจากคำภาษาละตินคำว่า 'Alea' ที่แปลว่า 'ลูกเต๋า' ดนตรีประเภทนี้คือ ดนตรีที่มีส่วนขององค์ประกอบในบทประพันธ์เพลงที่เปิดโอกาสหรือมีบทประพันธ์หลักให้กับนักแสดงดนตรีได้โอกาสในการตัดสินใจที่จะเลือกทำการแสดงในเพลงนั้นๆ


เพื่อนๆหลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วดนตรีประเภทที่ผมเอ่ยมามันเกี่ยวข้องอะไรกับเพลงของ Radiohead ล่ะ ? คำตอบก็คือผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ...(หยอกๆ) ต้องบอกว่า เพลง Bloom ที่ถูกเรียบเรียงใหม่นั้น ต้องการให้เกิดตัวเลือกดังกล่าวที่ใช้ได้กับการเล่นในระดับวงออร์เคสตรา และสามารถรับรู้ได้ว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของเพลงต้นฉบับจาก Radiohead ด้วย ซึ่งเพื่อนๆจะสามารถรับฟังได้ก็ต่อเมื่อได้ตัดส่วนของเสียงกลองออกไป และถ้าพูดถึงเพลงดังกล่าวในเวอร์ชั่นที่ไม่มีเสียงกลองนั้น ต้องบอกว่าเฮียทอมได้เคยทำการแสดงไปแล้วในโซโล่ไลฟ์ที่เมือง Paris เมื่อปี 2015 (สามารถรับฟังเวอร์ชั่นดังกล่าวได้จากคลิปด้านล่างนี้เลยครับ)




บทสัมภาษณ์ของ Thom Yorke และ Jonny Greenwood ถึงเรื่องเพลงประกอบซีรีย์สารคดี Blue Planet 2
Thom – “I thought hang on, maybe I can do it on piano and came up with a way of really crude way to play on piano.” “Which was kind of discovering the song again, in a super simple way.” “Because up until that point, it had always been about the rhythms that shift in and out, and fall apart fall apart.” “Sometimes come together if we’re lucky.”(look at Jonny)
Jonny – “Usually fall apart.”(Thom lol)
Jonny – “It’s very interesting hearing Thom talk about the piano version, because that had a similar sort of, degree of randomness, building all those loops on the piano.” “Didn’t know what I was doing.” “You see the song in a different way.” “It’s interesting how such a small scale thing that Thom is doing is sort of you’re subconsciously doing the same thing.” “But with a huge orchestra.” “As soon as you have an orchestra involved, the complexity of that, all these players playing together, that’s glorious thing.” “There’s no sound like it.” “I think that’s why it sounds so vital.”

เฮียทอม – “ผมคิดว่า เดี๋ยวนะ, บางทีผมอาจจะเล่นมันด้วยเปียโนได้และผมก็คิดขึ้นมาด้วยวิธีที่เป็นวิธีหยาบๆในการเล่นบนเปียโน ซึ่งเป็นเหมือนกับการค้นพบเพลงนี้อีกครั้ง, ในรูปแบบง่ายๆน่ะ เพราะจนถึงจุดหนึ่ง, มันมักจะเกี่ยวกับเสียงลูปทำนองที่เปลี่ยนเข้าและออก, และกระจายออกไป บางครั้งมันก็ยังกลับมารวมกันอยู่นะ ถ้าเราโชคดีน่ะ”(มองไปที่จอนนี่)
จอนนี่ – “ปกติแล้วมันกระจายออกไปน่ะ”(เสียงเฮียทอมหัวเราะ)
จอนนี่ – “มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก กับการได้ยินทอมพูดถึงเพลงในเวอร์ชั่นเปียโน, เพราะมันมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของระดับขั้นของการสุ่ม, ที่ถูกสร้างขึ้นโดยเสียงลูปของเปียโน โดยไม่รู้ว่ากำลังเล่นอะไรอยู่ คุณมองเห็นเพลงนั้นในมุมมองที่แตกต่าง มันน่าสนใจจริงๆว่าสิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านั้นที่ทอมกำลังทำอยู่เป็นเหมือนการที่คุณกำลังทำสิ่งเดิมๆซ้ำอยู่โดยจิตใต้สำนึก แต่กับวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ และทันทีที่คุณเข้าร่วมกับวงออร์เคสตราขนาดใหญ่, ขนาดความซับซ้อนของมัน, อีกทั้งนักดนตรีทั้งหมดในวงต้องบรรเลงเพลงร่วมกัน, นั่นเป็นสิ่งที่น่ายกย่องจริงๆ ไม่มีเสียงใดเทียบได้เลย ผมคิดว่านั่นคือเหตุผลว่าทำไมซาวด์เพลงนี้มันฟังดูเหมือนมีชีวิตมาก”



มาถึงช่วงท้ายของบทความในตอนนี้แล้ว ถ้าผมเอ่ยมาขนาดนี้แล้วแต่ไม่มีซาวด์เพลงประกอบซีรีย์ที่ว่ามาให้เพื่อนๆฟังกันก็คงจะใจร้ายไปหน่อย ซึ่งผมจะไม่ทำอย่างนั้น(ถ้าทำผมคงจะโดนดักกระทืบอย่างแน่นอน) และบทเพลงปิดท้ายบทความนี้ ผมขอนำเสนอซาวด์แทร็คประกอบซีรีย์สารคดี Blue Planet 2 ที่เป็นผลงานการรังสรรค์ของวง Radiohead ร่วมกับสุดยอดนักประพันธ์เพลง Hans Zimmer ที่มีซาวด์ดนตรีที่แตกต่างจากเวอร์ชั่นอัลบั้มอย่างสิ้นเชิง เป็นบทเพลงออร์เคสตราอันชุ่มฉ่ำ ที่ให้ความรู้สึกถึงการไหลเวียนไปของมหาสมุทรอย่างแท้จริง และแทร็คนี้มีชื่อว่า “Ocean Bloom” เชิญเพื่อนๆรับฟังได้เลยครับ (เพื่อให้ได้อรรถรสอันเต็มเปี่ยมแนะนำให้ใส่หูฟังฟูลไซส์หรือฟังผ่านลำโพงซับวูฟเฟอร์จ้า ~ เพลงอยู่ในสปอยล์...)
Spoil


เนื้อเพลง Ocean Bloom

Open your mouth wide
-จงตื่นตาตื่นใจไป
A universal sigh
-กับลมหายใจของจักรวาล
And while the ocean blooms
-ในขณะที่มหาสมุทรกำลังเบ่งบาน
It's what keeps me alive
-เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตฉันเบิกบาน
So why does this still hurt?
-แล้วเหตุใดในใจยังคงเจ็บปวด ?
Don't blow your mind with why
-จงอย่าทำให้จิตใจสับสนไปกับคำถาม
 




ก็จบกันไปแล้วสำหรับบทความในครั้งนี้ หวังว่าข้อมูลที่ผมนำมาแชร์กันในบทความครั้งนี้ จะทำให้เพื่อนๆได้รับความรู้เล็กๆน้อยๆ และเพลิดเพลินไปกับการอ่านและรับฟังบทเพลงจากสุดยอดศิลปินทั้งสองนะครับ หากเพื่อนๆสมาชิกทุกท่านมีความคิดเห็นหรือข้อความที่อยากจะพูดคุยกัน เพื่อนๆสามารถพูดคุยกันได้อย่างเต็มที่ผ่านคอมเมนต์กระทู้นี้เลย หากบทความนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอให้เพื่อนๆทุกท่านมีความสุขและพบเจอสิ่งดีๆในช่วงเดือนกันยายนที่กำลังจะมาถึงครับผม บาย ~





❤ ขอบคุณเนื้อหาและภาพประกอบจากคลิป Youtube Chanel : Vox & BBC Earth ❤
https://www.youtube.com/embed/cIsewG2g-1g

- เรียบเรียงและแปลไทยโดย "Sci-fi_ambience"
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออฟไลน์
ดาวซัลโวยุโรป
Status: 愛して 愛して 愛して もっともっと愛して 愛して 狂おしいほどに
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 55877
ที่อยู่: Fox River State Penitentiary. Joliet , Illinois.
โพสเมื่อ: Mon Aug 31, 2020 08:50
[RE: [SONG ANALYSIS] – Radiohead x Hans Zimmer !]
ยอดเยี่ยมฮะ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
นักเตะเทศบาล
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 17 Mar 2020
ตอบ: 477
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Aug 31, 2020 09:18
[RE: [SONG ANALYSIS] – Radiohead x Hans Zimmer !]
sukiojenny พิมพ์ว่า:
ยอดเยี่ยมฮะ  


ขอบคุณครับ ดีใจที่มีคนอ่าน
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ง.
Status: once blue always blue
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 13 Mar 2018
ตอบ: 9248
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Aug 31, 2020 09:57
[RE][SONG ANALYSIS] – Radiohead x Hans Zimmer !
เขียนดีมากฮะ ผมเชียร์ให้ทำเพจเฟสบุ๊คนะ

ผมพึ่งมาฟังวง radiohead เองเลย

บังเอิญมากที่เจอกระทู้นี่ มีเพลงแนะนำบางไหมครับ

แนวๆเพลง creep

โพสต์บนแอป Soccersuck บน iOS
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

ออนไลน์
นักเตะเทศบาล
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 17 Mar 2020
ตอบ: 477
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Aug 31, 2020 10:44
[RE: [SONG ANALYSIS] – Radiohead x Hans Zimmer !]
Internet Boi พิมพ์ว่า:
เขียนดีมากฮะ ผมเชียร์ให้ทำเพจเฟสบุ๊คนะ

ผมพึ่งมาฟังวง radiohead เองเลย

บังเอิญมากที่เจอกระทู้นี่ มีเพลงแนะนำบางไหมครับ

แนวๆเพลง creep

 


ขอบคุณมากครับ เรื่องทำเพจนี่ผมก็อยากทำอยู่เหมือนกัน แต่ผมคงต้องศึกษาข้อมูลก่อนล่ะ

ถ้าท่านชอบเพลงแนวๆเพลง creep ผมก็คงแนะนำวง Britpop ดังๆในยุค 90s อย่าง Oasis , Blur , Coldplay , The Frames ประมาณนี้ละครับ

หรือถ้าเกิดท่านอยากจะฟังเพลงอินดี้หลายๆแนวก็แวะไปเลือกฟังได้จากบทความเพลงอินดี้ตอนเก่าๆ ของผมก็ได้นะ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
นักเตะอบต.
Status: CFC
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 19 Oct 2010
ตอบ: 2546
ที่อยู่: Stamford Bridge
โพสเมื่อ: Mon Aug 31, 2020 21:57
[RE: [SONG ANALYSIS] – Radiohead x Hans Zimmer !]
ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆครับ พอทำร่วมกับฮานส์แล้วขลังจริงๆ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status: Let's get crazy!
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 03 Oct 2010
ตอบ: 123119
ที่อยู่: Stretford End
โพสเมื่อ: Mon Aug 31, 2020 22:22
[RE: [SONG ANALYSIS] – Radiohead x Hans Zimmer !]
บุคมาร์คกระทู้ไว้เลยครับ แผลบหมด.
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
นักเตะเทศบาล
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 17 Mar 2020
ตอบ: 477
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Tue Sep 01, 2020 06:33
[RE: [SONG ANALYSIS] – Radiohead x Hans Zimmer !]
Chuxkie' พิมพ์ว่า:
ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆครับ พอทำร่วมกับฮานส์แล้วขลังจริงๆ  


ขอบคุณที่แวะมาอ่านเช่นกันครับ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
นักเตะเทศบาล
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 17 Mar 2020
ตอบ: 477
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Tue Sep 01, 2020 06:35
[RE: [SONG ANALYSIS] – Radiohead x Hans Zimmer !]
ซูริ อักษรสว่าง พิมพ์ว่า:
บุคมาร์คกระทู้ไว้เลยครับ แผลบหมด.  


แผล่บหมดไม่เป็นไร ฉันขอเพียงให้เธอได้อ่านก็พอ ~
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status: Let's get crazy!
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 03 Oct 2010
ตอบ: 123119
ที่อยู่: Stretford End
โพสเมื่อ: Tue Sep 01, 2020 06:40
[RE: [SONG ANALYSIS] – Radiohead x Hans Zimmer !]
Sci-fi_Ambience พิมพ์ว่า:
ซูริ อักษรสว่าง พิมพ์ว่า:
บุคมาร์คกระทู้ไว้เลยครับ แผลบหมด.  


แผล่บหมดไม่เป็นไร ฉันขอเพียงให้เธอได้อ่านก็พอ ~  


แผลบมาพอดีครับ.
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel