[RE: (1) แมนซิตี้กับชัยชนะต่อ FFP ที่ไม่อาจประเมินมูลค่าได้]
Shiroyasha พิมพ์ว่า:
เป็นการเขียนที่โยงใยได้งี่เง่ามากในหลายประเด็น
1. European Clubs Association (ECA) นี่เป็นองค์กรที่มีทีมฟุตบอลทั่วยุโรปอยู่ 109 สโมสร ซึ่งรวมถึงแมนเชสเตอร์ ซิตี้ด้วย
แล้วสโมสรร่วมก่อตั้งองค์กรนี้ หลายทีมก็ไม่ใช่ยักษ์ใหญ่ในฟุตบอลยุโรป (ดินาโม ซาเกร็บ โอลิมเปียกอส อันเดอร์เลทช์ ฯลฯ) เดวิด กิลล์ออก CEO จากแมนฯยูไนเต็ดไปทำงานร่วมกับ FA มา 8 ปีแล้ว ส่วนลิเวอร์พูลนี่ไม่ใช่ founding member ด้วยซ้ำ
ถ้าอยากจะคงอำนาจไว้จริงๆ จะออกกฏ FFP มาให้ตัวเองเสริมทัพได้ยากขึ้นเพื่ออะไร? Does it even make sense?
มันเป็นองค์กรที่ให้ความร่วมมือในการผลักดันการบริหารสโมสร ช่วยวางระบบฟุตบอลหญิง คอยสนับสนุนการผลักดันฟุตบอลระดับเยาวชน
ดังนั้นถ้าจะบอกว่าองค์กรนี้ทำเพื่อคงอำนาจไว้ของทีมใหญ่ คือเรื่องไร้สาระ
2. ทีมระดับนิวคาสเซิล, เอฟเวอร์ตัน, วูลฟ์, ท็อตแน่ม ที่ยกมาจะได้รับประโยชน์จากการพังลงของกฏ FFP?
ลองย้อนกลับไปดูช่วงปี 2008-2011 ดูว่าซิตี้กว้านซื้อนักเตะทีมอื่นในลีคไปกี่คน กวาดพวกเอซของทีมไปกี่คน อาร์เซน่อลโดนดูดไป 6-7 คนมั้งในเวลาแค่ไม่กี่ปี
นักเตะแบบเบนจานี่เคยเป็นตัวหลักของปอร์ทสมัธ, โรเก้ ซานตา ครูซทำผลงานยอดเยี่ยมกับแบล็คเบิร์น ก็โดนดึงตัวมาร่วมทีม นักเตะดาวรุ่งอนาคตไกลอย่างอดัม จอห์นสัน, แจ็ค ร็อดเวลล์ ต้องย้ายมานั่งอยู่ม้านั่งสำรองจนไม่ได้พัฒนาฝีเท้าเท่าที่ควร
ทีมเหล่านี้ไม่มีสิทธิ์รั้งนักเตะไว้ได้เลย เพราะพลังเงินมันสู้ไม่ไหว แล้วทีมเล็กมันได้ประโยชน์อะไร? กลุ่มเดียวที่เสียประโยชน์จาก FFP คือเศรษฐีเกิดใหม่ที่อยากใช้เงินซื้อนักเตะไปเลยทีเดียวนั่นแหละ
3. ข้อโต้แย้งที่ว่าซิตี้รอดได้เพราะเหตุผลทางเทคนิคกฏหมาย ทำให้เอาผิดไม่ได้?
อันนี้หนักเลย ไปเทียบกับเชลซีซึ่ง ณ เวลาปี 2003 มันยังไม่มีกฏ FFP เกิดขึ้นมา เอาไปเทียบได้หรือไง
แล้วเรื่องที่เอาผิดกับซิตี้นี่มันคนละประเด็นเลย
ใครก็รู้ว่าความตั้งใจคือ สอบสวนที่มาของเงิน 400 ล้านปอนด์จาก Etihad group ว่าเป็นการแอบอัดฉีดเงินแบบ Sugar daddy หรือไม่
ตรงนี้ไม่ได้แก้ต่างเลย ไปอ้างว่าคนอื่นก็ทำนี่ เหมือนโดนตำรวจจับเรื่องไม่ใส่หมวกกันน็อคแล้วบอกว่าคนอื่นก็ไม่ใส่เหมือนกันอ่ะ เลอะเทอะ
4. โทษของเรอัล มาดริด หรือทีมอื่นๆที่เซ็นดาวรุ่งผิดกฏเค้ารับโทษกันหมดไง โดนแบนไม่ให้ซื้อขายนักเตะนี่หนักกว่าปรับเงิน 9 ล้านปอนด์เยอะ
ทั้งๆที่ความผิดมันไม่ได้ร้ายแรงเหมือนกับกรณีของซิตี้ที่โดนกล่าวหาเลย
สรุปคือ Martin Samuel นี่ก็ไม่ได้แก้ต่างอะไรให้ซิตี้ได้เลยว่าไม่ได้ทำผิดกฏ เขียนออกมาเพื่อดีใจที่ซิตี้รอดมากกว่า
1.การพูดว่าองค์กรนี้ทำเพื่อการคงอำนาจของทีมใหญ่ เป็นเรื่องไร้สาระ จริง
แต่ FFP เป็นการสนับสนุนการคงอำนาจของทีมใหญ่ เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ไม่ไร้สาระ
และมีการถกเถียงกันมาตลอดถึงความเป็นดาบสองคมของมัน
ส่วนคนใน ECA ที่ผลักดัน FFP ผมไม่ขอกล่าวถึง ลองหาข้อมูลแล้ว น่าจะใช้เวลาเยอะไป
2.ทีมขนาดกลางและเล็ก ได้ประโยชน์จากการพังลงของ FFP ผมเติมให้ว่า FFP version นี้
เรื่องนี้ถ้ามองในแง่การเปิดกว้างการแข่งขันทางธุรกิจ มันใช่แน่นอน 100%
ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับการดูดนักเตะ ที่ท่านยกมา
ถ้าปล่อยให้ค่อยๆเติบโตไปโดยปราศจากการอัดฉีดเงินทุน
คิดว่าอีกกี่ทศวรรษ ทีมอย่างนิวคาสเซิล วูลฟ์ จะก้าวขึ้นมา ทัดเทียมกับทีมระดับแถวหน้า
และด้วยกฏ FFP version นี้ จะมีนักลงทุนกี่คน กล้ามาลงทุนกับธุรกิจ ที่มีกฏไปในทางต่อต้านการแข่งขันเสรี
ผมคิดว่า จุดประสงค์ของ FFP ที่ประกาศมานั้น น่ายกย่อง ในการจะปกป้องสโมสรจากการล้มละลาย
แต่แนวทางปฏิบัติ ที่กฏเขียนออกมา นั้นตื้นเขินเกินไป ควรมีการปรับเปลี่ยน
การพังทลายของกฏ version นี้ เปิดทางให้นักลงทุนยังเห็นโอกาส ในการเข้ามาลงทุนพัฒนาทีมเล็กได้
โดยไม่โดนมัดมือมัดเท้า
2.1 ประเด็นเรื่องการดูดนักเตะ มองอีกแง่ นักเตะทีมเล็กๆ กี่คนที่ถูกดูดไปทีมใหญ่ ตอบให้ว่านับไม่ถ้วน
ไม่ว่าจะเหตุผลเรื่องเงิน หรือชื่อเสียงของทีม ทีมเล็กเสียเปรียบอยู่แล้วเต็มประตู
การมีเงินเข้ามาในธุรกิจ จะปิดข้อเสียเปรียบของทีมเล็กไป 1 ข้อ
3.ข้อนี้ผมพูดหลายรอบมากๆ แบบพูดแบบย่อๆ ก็คือ มี 2 ประเด็น คือ กฏ กับ ความถูกต้อง
3.1)ถ้าอิงเรื่องกฏเป็นหลัก คุณควรเคารพกฏทั้งหมด เรื่องเงื่อนไขเวลา และเรื่องหลักเกณฑ์พิจารณาหลักฐาน ก็เป็นส่วนนึงของกฏ มันที่เหตุผลที่มาที่ไป ไม่ได้เขียนลงไปเล่นๆ คุณต้องเคารพเช่นกัน ไม่ใช่เลือกเคารพบางบรรทัด
3.2)ถ้าอิงเรื่องความถูกต้อง บทความยกเคสเชลซี แต่ทุกสโมสรใหญ่ ผ่านการอัดฉีดมาทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นอย่าหาว่าซิตี้เอาเปรียบ ถ้ายังบอกว่าตอนนั้นไม่มีกฏ แต่ซิตี้ผิดเพราะแหกกฏ ให้กลับไปอ่าน 3.1
4.ซิตี้ (รวมถึง เปเอสเช) รับโทษไปครั้งนึงแล้วในช่วงแรก ถูกปรับ ถูกลิมิตงบเสริมทัพ ลดจำนวนโควต้านักเตะลงเล่น UCL เหมือนกัน
และขอแย้ง ที่คุณว่าความผิดการอัดฉีดเงินนั้นร้ายแรงกว่า ผมไม่เห็นด้วย ผมว่าการแต๊บผู้เล่นผิดกฏ น่าเกลียดกว่าเหมือนไปลักลอบขโมยของคนอื่น การมีเงินอัดฉีดไม่ใช่ว่าซื้อความสำเร็จได้ ดังเห็นตัวอย่างจากหลายๆ ทีม ที่สุดท้ายไม่ประสบความสำเร็จและล้มละลายไป มันเป็นแค่วิธีการในการทำธุรกิจ
อันนี้ความเห็นผมในอีกมุมนึงนะ ผมว่าบทความไม่ขนาดไร้สาระซะทีเดียวหรอก