Top Comment [RE: อเมริกานี่ถือว่าประชาธิปไตยแบบสุดโต่งไหมครับ]
ต้องเข้าใจ spectrum ของสิ่งที่เรียกว่าการเมืองการปกครองก่อนครับ
ประชาธิปไตย (democracy) ไม่ใช่เสรีธิปไตย (liberalism) และอนาธิปไตย (anarchism) ครับ แล้วจริงๆแล้วคำจำกัดความพวกนี้ ต้องตีแยกออกมาเป็นสามหลักง่ายๆก่อนคือ - สังคม เศรษฐกิจ และ การเมืองครับ
ถ้าเราแยกง่ายๆว่า ซ้าย ขวา คนที่เป็นซ้ายในด้านของสังคมและการเมือง อาจจะเชื่อในการเป็นขวาในด้านเศรษฐกิจก็เป็นไปได้ครับ ฉะนั้น เราควรจะดูเป็น quadrant มากกว่าครับ เมกันก็ยังแยกเป็นรีบลัคบลิกัน และเคมฯ ซึ่งชุดความคิดของสองพรรคนี้ก็ต่างกันไปอีกครับ อันนึงเป็นซ้าย อีกอันเป็นขวา ฯลฯ ลองดูตามรูปด้านล่างเลยครับ
และอย่างที่หลายๆเรปตอบไปแล้วคือ การปกครองแบบเมกันนั้น รัฐเองก็มีอำนาจเทียบเท่ากับรบ.ครับ เค้ามี state law ที่แต่ละรัฐแยกกฏหมายกัน แต่ก็มี federal law ซึ่งในรายละเอียดลึกๆแล้ว เค้าจะแบ่งกันชัดเจนครับ ว่ากฏหมายชุดไหน ให้ไปดูที่ state law ก่อนหรือที่ federal law ก่อน (ผมรู้แค่นี้)
กลับมาที่ quadrant ด้านล่างกันครับ การเป็นซ้ายสุดโต่ง มันก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยต่อไปครับ ซ้ายแบบ authoritative มากๆก็จะเป็นแบบคอมมูนิสต์ ขณะที่ซ้ายที่เป็นฟรีมากๆ ก็จะเป็นอนาธิปไตย (anarchy) คือการมีอยู่ของรัฐไม่ได้จำเป็น ทุนนิยมคือเลว และทุกคนมีสิทธ์ที่จะทำอะไรก็ได้ (คือฟรีในระดับนั้นเลย) - ถ้าแยกง่ายๆ แกนซ้าย = เท่าเทียม ขวาคือ = individualist (ผมไม่รู้จะจำกัดความภาษาไทยว่าอะไร) ส่วนแกน บน = ควบคุม ล่าง = เสรีนิยม ... อย่างโอบามานั้นอยู่ในกล่องซ้ายล่าง ขณะที่ทรัมป์ออกจะเป็นแนวขวาบนครับ แต่เมกันส่วนใหญ่จะเป็นขวาล่างหรือ ทุนยิมแบบเสรีมากกว่า (คือไม่ใช่เสรีประชาธิปไตย เพราะไม่เหมือนกัน) ขณะที่ยุโรปส่วนใหญ่จะเป็นจะยึดแนวกลางล่างๆซะส่วนใหญ่ครับ คือสร้างความเท่าเทียมมากกว่าเมกันแต่ไม่เสรีเท่าครับ
การเมืองการปกครองเป็นเรื่องสนุกครับ และต้องใช้เวลาศึกษา เพราะไม่งั้นเราก็จะไม่เข้าใจว่าจริงๆแล้วอะไรคืออะไรครับ เหมือนที่เคยมีช่วงนึงที่ช่องทีวีช่องนึงหรือเซเลบหลายๆคนชอบด่าเมกาว่าเสรีจนเกินไป ฯลฯ ทั้งๆที่จริงๆแล้วคนเหล่านั้นไม่ได้เข้าใจอะไรเลยครับ (โจ นูโวที่พูดเกี่ยวกับทฤษฎีของดาร์วินก็ใช่)