ดาวเตะกัลโช่
Status:
: 0 ใบ
: 0 ใบ
เข้าร่วม: 12 Mar 2006
ตอบ: 8278
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Tue Feb 12, 2019 11:26
ผมทำตัวเลขให้ดูเห็นๆเลยดีกว่าครับ
สมมติฐานแรก มีคนไปใช้สิทธิ์ทั้งหมด 1000 คน ลงให้ พท 200 เสียง/ พปชร 150 เสียง/ พรรคอื่นๆ 150 เสียง/ vote no 500 เสียง // สส 100 คน
= พท.ได้ สส. 40 คน/ พปชร. 30 คน/ พรรคอื่นๆ 30 คน
สมมติฐานที่2 มีคนไปใช้สิทธิ์ทั้งหมด 1000 คน ลงให้ พท 200 เสียง/ พปชร 150 เสียง/ พรรคอื่นๆ 400/ vote no 250 // สส 100 คน
= พท.ได้ สส. 27 คน/ พปชร. 20 คน/ พรรคอื่นๆ 53 คน
สมมติฐานที่3 มีคนไปใช้สิทธิ์ทั้งหมด 1000 คน ลงให้ /พท 200 เสียง /พปชร 150 เสียง /พรรคอื่นๆ 650 /vote no ไม่มี // สส 100 คน
= พท.ได้ สส. 20 คน/ พปชร. 15 คน/ พรรคอื่นๆ 65 คน
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่ายิ่งคน vote no น้อยลงยิ่งทำให้จำนวน สส. ของ พท. น้อยลง เพราะไม่ได้หมายความว่าคนที่เปลี่ยนใจจาก vote no จะต้องไปเลือกพท.หรือพปชร. แต่จะหนักกว่าในกรณีที่ถ้า vote no เปลี่ยนไปเลือก พปชร.
- ใช้วิธีคิดตามระบบใหม่โดยสมมติฐานที่แต่ละพรรคได้ สส เขตไม่เกินจำนวนของโครต้า สส.ที่ได้มาทั้งหมดจาก popular vote
- สมมติฐานนี้ตั้งขึ้นบนหลักที่เราไม่รู้ว่า second choice ของคน vote no คืออะไร และคน vote no คือคนที่ไม่ชอบพรรคไหนเลย (second choice คือ คนหรือพรรคที่ไม่ชอบน้อยที่สุด)
ดังนั้น
1. เรื่องที่ vote no = ช่วยลุง ไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป
2. แต่การรณรงค์ตรงนี้มีผลทางจิตวิทยาต้องความคิดเรื่อง second choice
- คนที่มี second choice ที่เอียงไปทางลุงจะคิดว่า vote no = ช่วยลุง ทำให้คะแนนตรงนี้หายไป
- คนที่มี second choice ที่ไม่ชอบลุงก็จะออกไปเลือกทำให้มีคะแนนตรงนี้เพิ่ม ดูได้จากกระทู้ใน ss ก็พอเห็น
คนคิดเก่งนะ
แก้ไขล่าสุดโดย juhookkruboyz เมื่อ Tue Feb 12, 2019 11:53, ทั้งหมด 2 ครั้ง