BLΛƆKPIИK พิมพ์ว่า:
ข้อสอบ ข้อใดไม่เข้าพวก
ก. ญี่ปุ่น
ข. ฟิลิปปินส์
ค. อินเดีย
ง. นิวซีแลนด์
้ข้อนี้บอกเลยว่ายากจริง ข้อนี้ผมตามข่าวมาน่าจะเป็นข้อสอบในช่วงความรู้ด้านภาษาไทย ซึ่งมันก็ตอบได้สองสามแบบนะครับ อันนี้เอามาจากคนอื่นวิเคราะห์ไว้ผสมกับตัวเองด้วยได้แนวคิดดังนี้ครับ เน้นภาษาไทยเป็นหลักนะ
หนึ่งหากยึดตามวิธีการคิดเรื่องศัพท์บัญญัติ(คำที่หาคำไทยมาเรียกแทนคำภาษาต่างประเทศ) กับ คำทับศัพท์ (เรียกตามต้นกำเนิดของภาษานั้นเลย) หากคิดตามหลักนี้ตอบ ญีี่ปุ่นครับ เพราะ ญี่ป่น เป็นศัพท์บัญญัติมาจากคำว่า Japan มีคนตอบไปแล้วเนอะ
สอง หากดูตามรูปสระ ก็ตอบ ญี่ปุ่น (ใช้สระ อี ขึ้นต้น) ที่เหลือ สระ อิ ขึ้นต้นหมด
สาม หากดูตามวรรณยุกต์ ข้อนี้ก็ตอบ ญี่ปุ่นอีก (มีวรรณยุกต์ไม้เอก ที่เหลือไม่มีรูปวรรณยุกต์เอก)
สาม หากดูรูปสระอีกแบบหนึ่ง ก็ต้องตอบ อินเดีย เนื่องจากมีสระเอีย สระเอียคือสระประสม ที่เหลือมีแต่สระเดี่ยว
ญี่ปุ่น (สระอี กับ สระอุ)
ฟิลิปปินส์ (สระอิ)
นิวซีแลนด์ (สระอิ สระอี สระแอ)
สี่ หากนับตัวพยัญชนะต้นเป็นหลัก ข้อนี้ก็ตอบ อินเดีย เนื่องจาก อ. เป็นพยัญชนะอักษรกลาง ที่เหลือ ญ ฟ และ น เป็นอักษรต่ำหมด
ห้า (อันนี้ไม่ชัวร์นะ หาอ่านเพิ่มเติมแล้วก็ยังง) นั่นคือการสะกดตัวการันต์ หากนับตัวสะกดจะไม่นับอักษรที่ใส่เครื่องหมายไม้ทัณฑฆาตอยู่ แต่จะนับก่อนหน้านั้นแทน(มีกฏซ้อนลงไปอีกนะ) ถ้าเป็นตามนี้ก็ต้องตอบ อินเดีย
ญี่ปุ่น สะกดด้วย แม่กน น.
ฟิลิปปินส์ สะกดด้วย แม่กน น.
อินเดีย สะกดด้วย แม่เกย ย.
นิวซีแลนด์ สะกดด้วย แม่กน น.
เห็นไหมว่ามันสามารถตอบได้หลากหลายแบบตามแนวคิดที่มันแตกต่างกัน คำถามคือว่าคนเราจะตอบยังไงดีภายในเวลาข้อละไม่เกิน สองสามนาที
ประมาณนี้นะครับ ผิดถูกยังไงก็บอกกันได้ ส่วนเรื่องเฉลย ลืมไปได้เลยครับ ข้อที่สร้างความสับสนแบบนี้ เค้าไม่กล้าเฉลยแน่นอน
สุดท้ายขอเป็นกำลังใจให้กับครูที่สอบครูผู้ช่วยทุกคนครับ โชคดีวันที่ ยี่สิบเจ็ด