ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
หัวหน้าแมวมอง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Dec 2013
ตอบ: 37113
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Jul 13, 2018 14:19
วันนี้ในอดีต เมื่อ 125 ปีที่แล้ว เหตุการณ์สำคัญประวัติศาสตร์ไทย


ภาพจากหนังสือพิมพ์ Le Petit Parisien สื่อชั้นนำของฝรั่งเศสยุคสาธารณรัฐที่ 3, เป็นภาพเรือรบฝรั่งเศสขณะมุ่งสู่ปากน้ำเจ้าพระยาพร้อมเล็งปืนใหญ่เข้าหาพระสมุทรเจดีย์

“…จากการศึกษาพบว่า วิกฤตการณ์ครั้งนี้มีพื้นฐานมาจากความขัดแย้งเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศสและแผ่ขยายวงกว้างออกไปกระทบกระเทือนเรื่องคนในบังคับและธุรกิจของคนในบังคับ ขณะที่ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ผู้แทนทางการทูตของทั้งสองฝ่ายหันกลับไปใช้กำลังทหาร เพื่อเข้าปกครองดินแดนที่อยู่ในความขัดแย้งกันโดยตรง ทั้งนี้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการเจรจาครั้งใหม่ในอนาคต แต่ด้วยความสามารถ ความเด็ดเดี่ยว ความริเริ่มของนักการทูตและนักการทหารฝรั่งเศสทำให้เกิดการรบที่ปากน้ำขึ้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1893 การศึกครั้งนี้จบลงด้วยชัยชนะของเรือรบฝรั่งเศส ส่วนฝ่ายไทยนั้น ความพ่ายแพ้ของกองกำลังรักษาปากน้ำ การขาดความสนับสนุนจากอังกฤษและการปิดน่านน้ำไทยของเรือรบฝรั่งเศส ทำให้ไทยต้องยอมอ่อนข้อต่อฝรั่งเศสอย่างไม่มีเงื่อนไข ท้ายที่สุดวิกฤตการณ์ครั้งนี้จบลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1893 ระหว่างรัฐบาลไทยกับฝรั่งเศส สนธิสัญญาฉบับนี้ทำให้ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเสียอำนาจการปกครองคนในบังคับชาวอินโดจีนให้แก่ฝรั่งเศสนอกจากนี้ฝรั่งเศสยังเข้ายึดครองจันทบุรีและเตรียมแผนการที่จะยึดครองพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณและฝั่งขวาของแม่น้ำโขงไว้ในสนธิสัญญาฉบับนี้ด้วย…”

ความดังกล่าวคัดมาจากคำนำในศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ “กรณีพิพาท ไทย-ฝรั่งเศส” โดย พันตรี พีรพล สงนุ้ย ส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (พิมพ์ครั้งแรก มกราคม 2545)


การ์ตูนจาก “The Sketch” (หนังสือพิมพ์พร้อมภาพประกอบรายสัปดาห์ของอังกฤษ) เป็นภาพวาดทหารฝรั่งเศสกำลังโจมตีทหารสยาม ซึ่งถูกแทนด้วยตุ๊กตาไม้ แสดงถึงความเหนือกว่าทั้งด้านเทคโนโลยีและเทคนิคทางทหารของฝรั่งเศส

หนึ่งในความขัดแย้งก่อนวิกฤตการณ์ครั้งนี้คือความตายของ “มาสสี่” (Affaire de massie) ซึ่งพันตรีพีรพลมองว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลอาณานิคมในอินโดจีนอาจบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อโน้มน้าวให้รัฐบาลกลางที่ฝรั่งเศสใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดจัดการ “สยาม” โดยอ้างว่า

“มาสสี่ เจ้าหน้าที่ของสถานกงสุลฝรั่งเศสในเมืองหลวงพระบางซึ่งเคยเป็นสมาชิกของคณะสำรวจ (Mission Pavie) ได้ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว เพราะได้รับการข่มเหง (à subir les pires insultes) จากคนไทย และที่สำคัญคือ มาสสี่ไม่เคยได้รับความเห็นใจและการสนับสนุนจากรัฐบาลที่กรุงฮานอยและกรุงปารีสเลย ดังนั้นเขาจึงได้ฆ่าตัวตาย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1892 บริเวณหน้าเมืองจำปาสัก (Bassac)”

พันตรีพีรพลกล่าวต่อไปว่า “การตายของมาสสี่ทำให้ลาเนสซ็อง (Lanessan) ผู้ว่าราชการเวียดนามตอนใต้และผู้นำจักรวรรดินิยมคนสำคัญของฝรั่งเศสต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผลการสอบสวนปรากฏอย่างชัดเจนว่าเป็นการฆ่าตัวตาย ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ฝรั่งเศสจึงเริ่มปฏิบัติการด้วยวิธีรุกทั้งทางด้านการทหารและด้านการทูตต่อไทย แต่หนังสือพิมพ์ในไซง่อนและตังเกี๋ยกลับรายงานว่ามาสสี่ป่วยตาย จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า ข้าราชการชาวอาณานิคมต้องการใช้การตายของมาสสี่ให้เกิดประโยชน์โดยผลักดันให้รัฐบาลฝรั่งเศสใช้มาตการเด็ดขาดกับไทย”

แต่สิ่งที่ทำให้ความขัดแย้งของทั้งสองชาตินำไปสู่จุดแตกหักจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ก็คือเหตุการณ์ที่แก่งเจ๊ก เมืองคำม่วน ริมฝั่งแม่น้ำโขง เมื่อคืนวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2436 หลังการปะทะกันของทั้งสองฝ่ายทำให้ฝ่ายฝรั่งเศสตาย 12 คน ในจำนวนนี้มีนายทหารชาวฝรั่งเศส ชื่อกรอสกุแรง รวมอยู่ด้วย ส่วนทหารไทยตาย 6 คน โดยหัวหน้าทหารสยามในการปะทะครั้งนั้นก็คือ พระยอดเมืองขวาง ข้าหลวงเมืองคำเกิดคำม่วน

ความตายของนายกรอสกุแรงทำให้ฝรั่งเศสโกรธมาก ถึงกับกำหนดไว้ในเงื่อนไขคำขาดของฝรั่งเศส เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายนับล้านฟรังก์ที่ไทยต้องรับผิดชอบ และเป็นเหตุการณ์ที่จุดชนวนให้การบุกรุกกรุงเทพฯ ระเบิดขึ้น [ไกรฤกษ์ นานา. “สืบจากภาพ…อิสรภาพของเมืองไทย แลกด้วยเงินค่าไถ่ 3 ล้านฟรังก์.” ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 24 ฉบับที่ 9 (กรกฎาคม 2546)]

ที่มา : https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_871
















บทความที่อ่านแล้วทำให้นึกภาพในเหตุการณ์ในหัววันนั้นด้วยความจินตนาการง่ายๆ



มีบันทึกไว้ว่าพุทธศักราช 2436 ..เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5)
ทรงมีพระชนม์ได้ 40 พรรษา ทรงประชวรหนักถึง 2 ครั้ง..สาเหตุการประชวรทั้ง 2 ครั้ง ก็เนื่องจากทรงกังวลและ
ตรอมพระทัย เพราะการรุกรานของประเทศฝรั่งเศส จนไทยต้องสูญเสียดินแดนไปมาก...ทรงเสียพระทัยและทรง
ห่วงว่า...จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี............ที่ไม่สามารถรักษาบ้านเมืองให้พ้นจากภัยอันตรายได้

ในปีนั้นวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสส่งเรือรบ 2 ลำ คือ เรือแองคองสตังค์ เรือปืนโคเมท์.......และเรือ
นำร่องเยเบเซ อีก 1 ลำ มาถึงสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา.....ฝ่ายไทยก็พยายามต่อสู้โดยยิงปืนจากป้อมพระจุล
จอมเกล้า และส่งเรือรบหลายลำติดตามแต่สู้ไม่ได้........ทหารตายไป 7 นาย บาดเจ็บอีก 40 นาย ตกน้ำสูญหาย
ไปอีก 1 นาย และเรียกเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า.....วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)


ในวันที่ 13 กรกฏาคม ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เรือรบฝรั่งเศสก็ได้ชัยชนะ...รุกผ่านเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยาและไป
เทียบท่าอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ และได้หันปืนใหญ่น้อยบนเรือทั้งหมดเข้าสู่พระบรมมหา
ราชวัง โดยฝรั่งเศสได้ยื่นคำขาดแก่รัฐบาลไทย..........มีอยู่ข้อหนึ่งที่ไทยต้องจ่ายเงิน 3 ล้านฟรังก์ โดยชำระเป็น
เงินเหรียญทันทีเป็นการชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ โดยกำหนดภายใน 48 ชั่วโมง....มิฉะนั้นกองทัพเรือฝรั่งเศสจะปิด
อ่าวไทยทันที และสั่งทูตฝรั่งเศสออกจากไทย...โดยไทยอาจตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสได้ และผลของวิกฤต
การณ์ในครั้งนั้น....ทำให้ฝ่ายไทยจำต้องยอมยกดินแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส นับเป็นการขยาย

อิทธิพลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของฝรั่งเศสในภูมิภาคอินโดจีน......และจะนำไปสู่การสูญเสียดินแดนประเทศราชของ
ไทยในเขมรและลาวที่เหลืออยู่ในเวลาต่อมาอีกด้วย..ในต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5) นั้น ไทยมีอาณาเขตกว่า 1 ล้านตารางกิโลเมตร ต้องยกดินแดน....ให้กับฝรั่งเศส
รวมเนื้อที่กว่า 467,000 ตารางกิโลเมตร...ดังลำดับการเสียดินแดนถึง 5 ครั้ง ให้กับฝรั่งเศส ดังนี้

1. เสียแผ่นดินเขมร 124,000 ตารางกิโลเมตร
2. เสียสิบสองจุไทย 87,000 ตารางกิโลเมตร
3. เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง 143,000 ตารางกิโลเมตร
4. เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงข้ามหลวงพระบางและปากเซ 62,000 ตารางกิโลเมตร
5. เสียเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ 51,000 ตารางกิโลเมตร
อมยิ้ม15อมยิ้ม13อมยิ้ม02
ปรากฏพระราชนิพนธ์โคลง ทรงมีพระราชปรารภความทุกข์สุขไว้ 7 บท และลงท้ายเป็นคำฉันท์ว่า...ทรงเกรงว่าจะ
เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทำให้เสียกรุง ดังความตอนหนึ่งว่า...


เจ็บนานนึกหน่ายนิตย์......มนะเรื่องบำรุงกาย
ส่วนจิตบมีสบาย.............ศิระกลุ้มอุราตรึง
แม้หายก็พลันยาก...........จะลำบากฤทัยพึง
ตริแต่จะถูกรึง.................อุระรัดและอัตรา
กลัวเป็นทวิราช...............บ ตริป้องอยุธยา
เสียเมืองจะนินทา...........จึงจะอุดและเลยสูญฯ


เมื่อทรงพระประชวร และทรงท้อแท้ถึงเพียงนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ...จึงได้ทรง
นิพนธ์ฉันท์ขึ้นถวาย เพื่อให้ทรงนึกถึงความสำคัญของพระองค์เองที่มีต่อประเทศชาติและชาวไทย..ความบางบทว่า


ถ้าจะว่าบรรดากิจ............ก็ไม่ผิด ณ นิยม
เรือแล่นทะเลลม.............จะเปรียบต่อก็พอกัน
ธรรมดามหาสมุทร...........มีคราวหยุดพายุผัน
มีคราวสลาตัน................ตั้งระลอกกระฉอกฉาน
ผิวพอกำลังเรือ...............ก็แล่นรอดไม้ร้าวราน
หากกรรมจะบันดาล.........ก็คงล่มทุกลำไป
ชาวเรือก็ย่อมรู้................ฉะนี้อยู่ทุกจิตใจ
แต่ลอยอยู่ตราบใด...........ต้องจำแก้ด้วยแรงระดม
แก้รอดตลอดฝั่ง..............จะรอดทั้งจะชื่นชม
เหลือแก้ก็จะจม...............ให้ปรากฏว่าถึงกรรม
ผิดทอดธุระนั่ง.................บ วุ่นวิ่งเยียวยาทำ
ที่สุดก็สูญลำ...................เหมือนที่แก้ไม่หวาดไหว
ผิดกันแต่ถ้าแก้................ให้เต็มแย่จึงจมไป
ใครห่อนประมาทใจ...........ว่าขลาดเขลาและเมาเมิน
เสียทีก็มีชื่อ....................ได้เลื่องลือสรรเสริญ
สงสารว่ากรรมเกิน............กำลังดอกจึงจมสูญฯ


เชื่อกันว่าพระนิพนธ์นี้...ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5) ทรงเปลี่ยน
พระทัยและเริ่มเสวยพระกระยาหารดังเดิม...จนทรงหายประชวร และออกว่าราชการดังเดิมได้




พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5) เสด็จพระราชดำเนินมายังป้อมพระจุลจอมเกล้า

สปอยจากคนที่เก่งด้านประวัติศาสตร์ในพันทิปที่แสดงความคิดเห็นออกมาเกี่ยวกับเหตุการณ์ รศ.112

Spoil
1 วิกฤติการณ์ครั้งนี้แต่แรกมันไม่ควรจะเป็นเรื่องใหญ่เลย แต่คนที่ทำให้มันกลายเป็นเรื่องใหญ่นั้นคือปาวี ทางสถานทูตสยามที่ฝรั่งเศสได้ประท้วงไปยังรัฐบาลฝรั่งเศสขณะนั้นแล้ว และสภาฝรั่งเศสได้รับทราบและส่งโทรเลขมายังสถานทูคฝรั่งเศสในสยามให้ประกาศให้เรือรบฝรั่งเศสยุติการเดินเรือต่อ แต่เมื่อโทรเลขมาถึงปาวีกลับไม่ยอมแจ้งไปยังผู้บังคับการเรือรบ และยังส่งโทรเลขให้เสนาบดีต่างประเทศสยามแบบจงใจปิดบังไม่ให้ทางสยามทราบเรื่องได้ทันการณ์ ผลจึงกลายเป็นการปะทะกันและลามไปเป็นเรื่องใหญ่อย่างที่ทราบ พผลออกมาเป็นเช่นนี้รัฐบาลฝรั่งเศสก็เลยตามน้ำไปด้วย

2 เมื่อทางฝรั่งเศสเรียกร้องดินแดนจากสยามครั้งนี้ อังกฤษก็ตกใจกับการกระทำของฝรั่งเศสมาก ถึงกับประท้วงกันเลย เพราะอังกฤษกับฝรั่งเศสเคยตกลงกันแล้วว่าจะไม่แย่งดินแดนของสยาม เกรงว่าจะทำลายความเป็นกันชน แต่สุดท้ายฝรั่งเศสอ้างว่าเรื่องนี้รู้กันทั่วโลก ประชาชนฝรั่งเศสก็รู้แล้ว จึงยกเลิกไม่ได้ อังกฤษจึงยอมปล่อยเลยตามเลย

3 การปรับเงินของฝรั่งเศสในครั้งนี้ส่วนใหญ่คนจะทราบกันไม่ตรง ที่ถูกต้องคือ ค่าเสียหายจากการรบ 2 ล้านฟรังซ์ และค่าทำขวัญครอบครัวทหารผู้เสียชีวิต 1 ล้านฟรังซ์ (ไม่ใช่เงินมัดจำ)

4 รัฐบาลสยามจ่ายเงินจำนวน 2,500,000 ฟรังซ์ให้สถานทูตฝรั่งเศสที่กรุงเทพ โดยจ่ายเป็นเงินเหรียญ Silver Dollar (เงินถุงแดง - เหรียญนกเม็กซิโก 801,282 เหรียญ เท่ากับ 2,568,102 ฟรังซ์) และอีก 500,000 ฟรังซ์ จ่ายเป็นเช็คส่งไปไซ่ง่อน

5 อัตราแลกเปลี่ยนสมัยนั้น 1 บาท = 1.93 ฟรังซ์ / 1ฟรังซ์ = 0.51บาท รวม 3 ล้านฟรังซ์เท่ากับ 1,605,235 บาท กับอีก 2 อัฐ

6 สมัยนั้นสยามยังปฏิรูประบบราชการต่างๆไม่แล้วเสร็จ ส่งผลให้การเงินของประเทศยังไม่มีประสิทธิภาพนัก เงินในพระคลังยังมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น แต่เมื่อการปฏิรูประบบราชการของรัชกาลที่ 5 ลุล่วงไปมากแล้ว ผลตอบแทนก็ผลิดอกออกผลอย่างมาก จากเมื่อปี 2436 สยามมีเงินในพระคลังไม่ถึง 1.5 ล้าน ในปี 2453 ปีสุดท้ายของรัชกาลที่ 5 งบประมาณแผ่นดินพุ่งไปเกือบ 60 ล้านบาท หย่อนไปแสนเดียว  


ที่มา : https://pantip.com/topic/32000286

ถ้าเหตุการณ์วันนั้นถ้าฝ่ายสยามไม่ยอม ทางฝรั่งเศสจะเอาเรือแล่นเข้ามาใจกลาง กรุงเทพแล้วยิงเข้ามายังพระบรมราชวัง
เหตุการณ์นี้ถ้าไม่ยอมทุกอย่างจะตกเป็นของฝรั่งเศสไปหมด แถมจะเสียดินแดนไปมากกว่านี้
สุดท้าย ร.5 ท่าน ทีมงานท่าน ก็ช่วยสุดความสามารถทำให้รอดเหตุการณ์ครั้งสำคัญของทางประวัติศาสตร์ไทยได้


โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออฟไลน์
เจ้าของสโมสร
Status: ประธานคลับไอยูแห่งประเทศไทย
: 0 ใบ : 0 ใบ
ตอบ: 15642
ที่อยู่: มินจู คือ วงที่ดีที่สุดในโลก เข้าร่วม: 5 Feb 2001
โพสเมื่อ: Fri Jul 13, 2018 14:25
[RE: วันนี้ในอดีต เมื่อ 125 ปีที่แล้ว เหตุการณ์สำคัญประวัติศาสตร์ไทย]
ที่ผมอยู่ใน ss มากกว่าในเฟส ก็เพราะแบบนี้แหละ
5
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะอบต.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Sep 2005
ตอบ: 1277
ที่อยู่: BKK
โพสเมื่อ: Fri Jul 13, 2018 14:32
[RE: วันนี้ในอดีต เมื่อ 125 ปีที่แล้ว เหตุการณ์สำคัญประวัติศาสตร์ไทย]
หน้าตุ๊กตาไม้เหมือนลุงแถวบ้านผมคนนึงเลย.. เจอทุกวันศุกร์เย็นๆ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
รอโดนตบหน้า ... อิอิ

http://www.soccersuck.com/boards/topic/1559750/2

---------------------------------------------------------------


http://www.soccersuck.com/boards/topic/1710866/2
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 31 Oct 2010
ตอบ: 2609
ที่อยู่: ท่ามกลางตัวน้อยๆ2คน
โพสเมื่อ: Fri Jul 13, 2018 14:35
[RE: วันนี้ในอดีต เมื่อ 125 ปีที่แล้ว เหตุการณ์สำคัญประวัติศาสตร์ไทย]
จัดโครเอเชียสิแบบนี้ ต่อให้ไม่มีเหตุการนี้ก็ได้เชียร์ทีมจากเอเชียด้วยกัน
2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ปลายอาชีพค้าแข้ง
Status: @Ya_Gunners_Ya@
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 21002
ที่อยู่: บ้านเมีย
โพสเมื่อ: Fri Jul 13, 2018 14:49
[RE: วันนี้ในอดีต เมื่อ 125 ปีที่แล้ว เหตุการณ์สำคัญประวัติศาสตร์ไทย]
ปากน้ำบ้านผม
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ดาวเตะลา ลีกา
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 21 Oct 2007
ตอบ: 7897
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Jul 13, 2018 14:56
[RE: วันนี้ในอดีต เมื่อ 125 ปีที่แล้ว เหตุการณ์สำคัญประวัติศาสตร์ไทย]
นึกถึง มู้ในพันทิพ "ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนไทย ๑๔ ครั้ง"
https://pantip.com/topic/34963709

0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status: COYS
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 05 Dec 2015
ตอบ: 32142
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Jul 13, 2018 16:48
[RE: วันนี้ในอดีต เมื่อ 125 ปีที่แล้ว เหตุการณ์สำคัญประวัติศาสตร์ไทย]
ฝรั่งเศสไอ้เลว ขอให้เอ็งแพ้โครเอเชีย
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel