\"กสิกรไทย\"จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารแพงสุด เฉลี่ยคนละ 880,000 บาทต่อเดือน
สำหรับบริษัทในกลุ่มสถาบันการเงิน
มักทราบกันดีว่ามีสถิติจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหาร เฉลี่ยสูงกว่าบริษัทใน กลุ่มอื่น
โดยธนาคารพาณิชย์ที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารสูงที่สุด คือธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
ทั้งนี้ธนาคารมีหลักเกณฑ์ว่าจะจ่ายผลตอบแทนผู้บริหารโดยพิจารณาจากภาระความรับผิดชอบของงาน
และสถานะการเงินของธนาคารควบคู่กันไป แต่ต้องอยู่ในระดับเดียวกับค่าตอบแทนของธนาคารพาณิชย์อื่นในระบบ
ในปีที่ผ่านมาธนาคารจ่ายค่าตอบแทนให้กับกรรมการ 16 คน เป็นจำนวนเงินรวม 31.54 ล้าน บาท ภาษี
เบี้ยประชุมและภาษีค่าตอบแทนที่ปรึกษากฎหมาย เป็นเงิน 10.79 ล้านบาท
\"ไฮไลท์\"ของเงินเดือนที่นี่อยู่ที่การจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารในระดับสูงสุด
ของธนาคาร 10 คนแรก ซึ่งนำทีมโดย \"บัณฑูร ล่ำซำ\" กรรมการผู้จัดการใหญ่
เมื่อรวมเงินเดือนค่าครองชีพ บำเหน็จพิเศษและ โบนัสจากธนาคาร ผู้บริหารทั้ง 10
คนจะได้ค่าเหนื่อยเป็นเงินรวม 105.54 บาท เฉลี่ยคนละ 10.55 ล้านบาทต่อปี หรือเท่ากับคนละ 880,000
บาทต่อเดือน นอกจากนี้ธนาคารกสิกรไทยยังตอบแทนพนักงาน และผู้บริหารของธนาคารด้วยการออกวอร์แรนท์ ให้ฟรี
จำนวน 50 ล้านหน่วย โดยพิจารณาตามความสามารถ และศักยภาพของพนักงานแต่ละรายไม่เท่ากัน โดยวอร์แรนท์ 1
หน่วยสามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญในอัตรา 1 ต่อ 1 ในราคาหุ้นละ 27.82 บาท ใช้ สิทธิได้ปีละ 4 ครั้ง
\"ธนาคารกรุงเทพ\" (BBL) ติดอันดับจ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารมากเป็นอันดับที่ 2 โดย
ธนาคารมีหลักเกณฑ์
ในการพิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหารตามหน้าที่ความรับผิดชอบและตามผลการดำเนินการ ในปี 2545
ธนาคารจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ 16 ราย เป็นเงิน 30.47 ล้านบาท และจ่ายค่าตอบแทน กรรมการบริหาร 9 ราย นำโดย
\"ชาติศิริ โสภณพนิช\" กรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นเงิน 89.27 ล้าน บาท (ปี 2544 เป็นเงิน 79.6
ล้านบาท) เฉลี่ยคนละ 9.92 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 830,000 บาทต่อเดือน
ทั้งนี้ธนาคารกรุงเทพได้กำหนดค่าตอบแทนไว้ดังนี้ พนักงานในตำแหน่งผู้จัดการสาขาขนาด ใหญ่เงินเดือน
สูงสุด 70,000 บาท ต่ำสุด 25,000 บาท ผู้จัดการสาขาขนาดกลางสูงสุด 60,000 บาท ต่ำสุด 23,000 บาท
และผู้จัดการสาขาขนาดเล็กสูงสุด 50,000 บาท ต่ำสุด 22,000 บาท ตำแหน่ง สมุห์บัญชี เงินเดือนสูงสุด
47,000 บาท ต่ำสุด 18,000 บาท และตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาขาเงิน เดือนสูงสุด 50,000 บาท ต่ำสุด
20,000 บาท ธนาคารที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารมากเป็นอันดับที่ 3 ได้แก่ \"
ธนาคารไทยพาณิชย์\" (SCB) โดยจ่ายค่าเหนื่อยให้กับผู้บริหารตั้งแต่ระดับรองผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป
นำโดย \"คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม\" กรรมการผู้จัดการใหญ่ ในรูปเงินเดือน และโบนัส รวม 8 คน
เป็นจำนวน 58.01 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วตกคนละ 7.25 ล้านบาทต่อปี หรือเดือนละ 600,000 บาท
นอกจากนี้ยังจ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับผู้บริหารทั้ง 8 คนอีก 3.16 ล้านบาท
ส่วนผลประโยชน์ที่ธนาคารจ่ายให้กับคณะกรรมการธนาคารทั้ง 14 คนนั้นเป็นเงินทั้งสิ้น 16.07 ล้านบาท
ทั้งนี้พบว่า \"ดร.จิรายุ อิศรางผมร ณ อยุธยา\" นายกกรรมการธนาคารได้รับผลตอบแทน สูงสุด
1.8 ล้านบาท ขณะที่กรรมการคนอื่นๆได้รับค่าเหนื่อยคนละ 1.2 ล้านบาท
บุคคลที่ได้รับค่าตอบแทนสูงที่สุดของธนาคารไทยพาณิชย์ ได้แก่ \"ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย\"
ประธานกรรมการบริหาร ได้รับเงินเดือน และโบนัสจำนวน 13.20 ล้านบาทต่อปี หรือเท่ากับ 1,100,000
บาทต่อเดือน จากนั้นก็ยังได้รับค่าตอบแทนในฐานะกรรมการธนาคารอีก 1.2 ล้านบาทต่อปี รวมรายได้ 14.40
ล้านบาทต่อปี สำหรับหลักเกณฑ์ในการให้ผลตอบแทนของธนาคารไทยพาณิชย์นั้น ทางธนาคารระบุไว้ว่า ตำแหน่งนายก
กรรมการจะได้รับค่าเหนื่อย 1.8 ล้านบาทต่อปี ส่วนตำแหน่งประธานกรรมการบริหารจะได้รับค่าเหนื่อย เดือนละ
300,000 บาท และยังได้รับค่าตอบแทนจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการอีกเดือนละ 800,000 บาท
ในขณะที่ตำแหน่งกรรมการบริหาร จะได้รับค่าเหนื่อยเดือนละ 150,000 บาท ตำแหน่งประธาน กรรมการตรวจสอบ
ได้ค่าเหนื่อยเดือนละ 75,000 บาท และเบี้ยประชุมครั้งละ 15,000 บาท ส่วน กรรมการตรวจสอบ
ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 50,000 บาท และเบี้ยประชุมครั้งละ 10,000 บาท
บริษัทเงินทุนที่จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารสูงติดอันดับ 4 และ 5 ของกลุ่มสถาบันการ เงิน คือ บง.ทิสโก้
(TISCO) และบง.ธนชาติ (NFS) ผู้บริหารระดับสูงสุด 11 คนแรกของบง.ทิสโก้ ที่นำโดย \"ปลิว
มังกรกนก\" ประธานกรรมการ บริหาร ได้รับค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 6.91 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 580,000
บาทต่อเดือน
ส่วน \"บง.ธนชาติ\" จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหาร 4 คนแรกของบริษัทเฉลี่ยคนละ 550,000 บาท
ต่อเดือน ใน ขณะที่พนักงานของธนชาติก็ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยคนละ 27,019 บาทต่อเดือน
ค่าเหนื่อยของผู้บริหารบง.ธนชาติ เท่ากับค่าเหนื่อยของผู้บริหารธนาคารทหารไทยที่ได้รับค่าตอบแทน
เฉลี่ยคนละ 550,000 บาท
ในขณะที่สถาบันการเงินที่รัฐถือหุ้นใหญ่มีอัตราค่าตอบแทนผู้บริหารที่ค่อนข้างต่ำ อาทิ
\"ธนาคารกรุงไทย\" (KTB) จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหาร 17 รายแรก นำทีมโดย \"วิโรจน์
นวลแข\" กรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 70.26 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 4.13 ล้านบาทต่อปี
หรือคนละ 340,000 บาท ต่อเดือน แต่ธนาคารได้ให้ผลตอบแทนอื่นในรูปของเงินสมทบให้อีก 10% ของเงินเดือน
เพื่อสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ในส่วนของธนาคารไทยธนาคาร (BT) ผู้บริหารระดับสูงสุด 7 คนแรกได้ค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 370,000
บาทต่อเดือน ขณะที่ธนาคารนครหลวงไทย(SCIB) ซึ่งเป็นของรัฐอีกแห่งหนึ่งจ่าย
ค่าเหนื่อยผู้บริหารระดับสูงสุด 25 คนแรกของธนาคารเฉลี่ยคนละ 250,000 บาทต่อเดือน
ยังมีข้อน่าสังเกตอีกว่า บริษัทที่ถือหุ้นใหญ่โดยต่างชาติอย่างยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา
และบริหารงานโดยฝรั่ง จะจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้บริหารในอัตราที่ค่อนข้างสูง
ขณะที่กิจการที่ก่อตั้งโดยเจ้าสัว หรือกลุ่มทุนรุ่นเก่าจะจ่ายผลตอบแทนที่ค่อนข้างต่ำกว่า เช่น
ผู้บริหารของบิ๊กซีจะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าผู้บริหารในกลุ่มเซ็นทรัลหรือกลุ่มสหกรุ๊ป
ขณะที่กิจการที่บริหารงานโดยมืออาชีพที่เป็นคนรุ่นใหม่ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วย
จะจ่ายผลตอบแทนให้กับตัวเองค่อนข้างสูง อย่างเช่น ผู้บริหารแกรมมี่ มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 610,000 บาท
ผู้บริหารบล.แอสเซท พลัส มีรายได้ เฉลี่ยเดือนละ 600,000 บาท หรือผู้บริหารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 400,000 บาท
ที่มา จาก นสพ. ผจก.รายวัน
คัดลอกจาก:
http://www.212cafe.com/freeweb...view.php?user=mecon1&id=56