กรุงเบอร์ลินออกแบบห้องน้ำใหม่ เสนอติดตั้งโถยืนปัสสาวะสำหรับผู้หญิง
กรุงเบอร์ลินในเยอรมนี กำลังมีโครงการเข้ามาดูแลประเด็นความเท่าเทียมทางเพศของห้องน้ำสาธารณะควบคู่ไปกับการพัฒนาความสะดวกสบายในเมือง
..:: เอกสารกลุยุทธเมืองหลวงที่เรียกว่า "แนวคิดสุขา" ที่มีความยาว 99 หน้า ระบุว่าห้องสุขาทุกที่ในปัจจุบัน ซึ่งติดตั้งโถยืนปัสสาวะสำหรับผู้ชาย ควรจะมีห้องน้ำแบบที่เข้าได้ทุกเพศอยู่ควบคู่กันไปด้วยและ
"ในอนาคตควรมีโถปัสสาวะที่ใช้ได้ทุกเพศ"
..:: นอกจากนี้ เอกสารยังระบุด้วยว่า การจัดหาโถปัสสาวะสำหรับผู้หญิง "อาจจะเป็นหัวข้อต่อเนื่องของแนวคิดนี้ และเป็นโอกาสที่กรุงเบอร์ลินจะได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ริเริ่ม"
..:: อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่าผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในกรุงเบอร์ลินจะยอมรับการยืนปัสสาวะหรือได้ไม่ หรือจะมีข้อเรียกร้องให้ติดตั้งฉากกั้น หรือสร้างแยกห้องด้วย และรายงานไม่ได้ระบุถึงการสอบถามความคิดเห็นของผู้หญิงชาวกรุงเบอร์ลิน หรือผลการศึกษาว่ามีใครเคยลองใช้โถปัสสาวะสำหรับผู้หญิงหรือไม่
..:: องค์ประกอบอื่นๆ เกี่ยวกับ "ห้องสุขาแห่งอนาคตของชาวเบอร์ลิน" ยังรวมถึงทางเข้าที่มองเห็นได้ชัดเจน ด้านนอกต้องติดหลอดไฟให้สว่างเพียงพอ มีสัญญาณฉุกเฉิน รวมถึงป้ายที่ปราศจากการเลือกปฏิบัติ
..:: เอกสารแนวคิดการปรับปรุงห้องสุขาแบบใหม่นี้ จัดทำโดยโดยรัฐบาลระดับรัฐของเบอร์ลิน ซึ่งขณะนี้บริหารงานโดยพรรคแนวร่วมนิยมซ้าย
..:: ปฏิกิริยาจากสื่อสังคมออนไลน์ ขณะนี้ มีหลากหลาย เช่น ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคซีดียูที่มีนโยบายอนุรักษ์นิยม ยังมีข้อกังขาว่า "ทำไมรัฐถึงต้องการให้ฉันยืนปัสสาวะ?"
..:: "ยังมีประเด็นอื่นๆ เกี่ยวกับผู้หญิงที่สำคัญกว่า... เช่น ความปลอดภัยในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ"
[twitter]
https://twitter.com/Mala3012/status/836905331162763264[/twitter]
..:: ส่วนอีกรายเป็นผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในสวิตเซอรแลนด์ แบ่งปันประสบการณ์ที่เคยใช้โถปัสสาวะแบบยืนในโรงภาพยนตร์ที่เมืองวินเทอร์ทัวร์ ว่า "นั่นไม่ธรรมดา" พร้อมกับแฮชแทก #fail ที่แปลว่า ล้มเหลว
..:: ศ.เมเท ดีมีริซ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบห้องสุขา กล่าวกับเว็บไซต์ jetzt.de ว่า
โถปัสสาวะแบบที่ใช้ได้ทุกเพศอาจช่วยประหยัดน้ำได้ เนื่องจากเคยมีผลสำรวจที่ชี้ว่าผู้หญิงที่เข้าใช้ห้องสุขาสาธารณะมักจะกดน้ำถึง 3 ครั้ง ซึ่งต้นแบบของโถปัสสาวะที่ทีมงานของเขาออกแบบให้กับมหาวิทยาลัยในเมืองเกลเซนเคอร์เชน อยู่ในห้องแยกที่มีประตูปิด และมีลักษณะการใช้งานเหมือนกับโถปัสสาวะชายเพียงแต่จะอยู่ต่ำกว่า ส่วนเวลาใช้งานจะต้องทำท่าคล้ายกับตอนเล่นสกี
..:: ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า ทางการกรุงเบอร์ลินมีแผนจะเดินหน้านำโถปัสสาวะที่ใช้ได้ทั้งหญิงและชายมาติดตั้งหรือไม่
..:: ส่วนในประเทศอื่น ปัจจุบันมีบางงานเทศกาลที่เมืองส่านซีของจีน และมหาวิทยาลัยส่านซี นอร์มัล ในเมืองซีอาน ที่นำโถปัสสาวะสำหรับผู้หญิงมาให้บริการ
..:: อย่างไรก็ตาม แม้การมีห้องสุขาที่ใช้ได้แบบไม่จำกัดเพศจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศมา แต่ก็อาจก่อให้เกิดผลเสียได้ แบบที่ศูนย์โรงละครบาร์บิกันในกรุงลอนดอนเคยเผชิญกับปัญหาคนต้องรอเข้าแถวนานกว่าปกติ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก BBC
ติดตามข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ (ย้อนหลัง) ได้ที่ Germanicas 