BLOG BOARD_B
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Email: sale@soccersuck.com
ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
หน้าแรกบอร์ด >> ใครชอบกินยาแก้ " อักเสบ " ควรเข้ามาอ่านครับ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 805
ที่อยู่: Somewhere On Earth
โพสเมื่อ: Wed Jul 26, 2017 14:58
ใครชอบกินยาแก้ " อักเสบ " ควรเข้ามาอ่านครับ
เรื่องโดย : ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลจากการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุขและเวลคัมทรัสต์ ซึ่งเป็นกองทุนด้านสาธารณสุขของประเทศอังกฤษ พบว่าทุก ๆ ชั่วโมงในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการดื้อยาปฏิชีวนะเฉลี่ย 2 คน โดยในปี 2010 มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในประเทศไทยถึง 19,122 คน บางรายงานกล่าวว่าตัวเลขนี้อาจสูงถึงกว่าสามหมื่นคน ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการที่คนไทยสามารถหาซื้อยารับประทานเองตามร้านขายยาได้ง่าย โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์

การดื้อยาของเชื้อโรคเกิดจากการที่ใช้ยามากเกินไปจนเชื้อพัฒนาให้สามารถต่อต้านได้ด้วยตัวเอง โดยเกิดขึ้นได้กับเชื้อทุกชนิดอยู่ที่ว่าจะมากหรือน้อยแค่ไหนในเชื้อแต่ละตัว รวมถึงพฤติกรรมการใช้ยาว่าถูกวิธีหรือไม่ โดยหลายคนอาจคิดว่าอาการป่วยทั่วไปเป็นอาการธรรมดาที่สามารถซื้อยารับประทานได้เองจึงไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เช่น ไข้หวัด อาการท้องเสีย หรือแผลที่เกิดขึ้นตามร่างกาย ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถหายได้เองโดยที่ไม่ต้องพบแพทย์หรือทานยาเลย

คนจำนวนมากเรียกยาต้านเชื้อแบคทีเรียว่ายาแก้อักเสบ ความจริงแล้วยาแก้อักเสบคือยาอีกกลุ่มหนึ่งที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบเท่านั้นโดยไม่มีฤทธิ์กำจัดเชื้อแบคทีเรียเลย ใช้สำหรับรักษาการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคเกาต์ ผู้ป่วยมักจะไปหาซื้อยา "แก้อักเสบ" มารับประทานเองด้วยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และมักจะได้ยาฆ่าเชื้อหรือยาต้านแบคทีเรียมา โดยที่เข้าใจว่าคือยาแก้อักเสบซึ่งรับประทานแล้วจะหายได้ทุกโรค จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้ยาต้านแบคทีเรียโดยไม่จำเป็น

ทั้งนี้เชื้อดื้อยาในร่างกายของเราสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าจะใช้ยาที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม แต่หากร่างกายได้รับยาที่ไม่ถูกต้องนั่นหมายความว่าร่างกายของเรานั้นใช้ยาเกินความจำเป็นทำให้เชื้อแบคทีเรียปกติในร่างกายดื้อยาโดยเราไม่ได้ประโยชน์จากการรับประทานยานั้นแต่ประการใด
ดังนั้น เราจึงควรมีความระมัดระวังในการใช้ยาต้านแบคที เรีย ไม่หาซื้อยากลุ่มนี้มารับประทานเอง หากจำเป็นต้องใช้ยานี้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ที่มีความรู้ เพื่อให้เราได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา


ยาปฏิชีวะนะ ก็ไม่ได้มีแค่ amoxicillin นะครับ ยังมีอีกหลายตัวเลยเดี๋ยวลงรายละเอียดให้ดูครับ

ก. ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ซึ่งสังเคราะห์ได้จากเชื้อรา แต่ในยุคปัจจุบันได้กำ เนิดยาต้านเชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย รุ่นลูกหลานออกมามากมายจนนับไม่ถ้วน ดังขอยกตัวอย่างกลุ่มยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้ในบ้านเรา ดังนี้
เพนิซิลลิน เป็นยาใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียได้ในหลายเนื้อเยื่อ/อวัยวะ เช่น คออักเสบ เป็นต้น เป็นกลุ่มยาที่ไม่ทนกับกรดในกระเพาะอาหาร จึงต้องกินยาก่อนอาหารและถูกขับออกจากร่างกายโดยผ่านไต แต่ยาบางตัวในกลุ่มนี้ก็ถูกขับออกโดยผ่านกระบวนการที่ตับก่อน ตัวอย่าง ยาในกลุ่มเพนิซิลลิน เช่น อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) แอมปิซิลลิน (Ampicillin) คาร์เบนิซิลลิน (Carbenicillin) คลอกซาซิลลิน (Cloxacillin) และ ฟลูคลอซาซิลลิน (Flucloxacillin)

ข. อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) เป็นยาปฏิชีวนะใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่กระดูก ข้อ การติดเชื้อที่ผิวหนัง การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อหลังผ่าตัด ยากลุ่มนี้ไม่ค่อยดูดซึมทางลำไส้ ต้องใช้วิธีฉีดเข้ากล้ามหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือด มีความเป็นพิษต่อไตและหูชั้นใน ตัวอย่างยากลุ่มอะมีโนไกลโคไซด์ เช่น เจนตามัยซิน (Genta mycin) โทบรามัยซิน (Tobramycin) อะมิคาซิน (Amikacin) สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) สเปคทิโนมัยซิน (Spectinomycin) กานามัยซิน (Kanamycin) และ นีโอมัยซิน (Neomycin)

ค. เซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) จัดเป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น ชนิดก่อการอักเสบของทางเดินหายใจ และของทางเดินอา หาร ยากลุ่มนี้ไม่ทนกรดเช่นเดียวกับกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) และดูดซึมในทางเดินอาหารได้ไม่ดี จึงต้องใช้การฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าหลอดเลือด แต่ก็พบว่ายาเซฟาโลสปอรินบางตัวมีคุณสมบัติทนกรดได้ดี ทั้งยังสามารถให้ยาโดยการรับประทานได้

ง. แมคโครไลด์ (Macrolide) จัดเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้แพร่หลายอีกกลุ่มหนึ่ง สา มารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยการก่อกวนที่สารพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า อาร์เอนเอ (RNA) ตัว อย่างยากลุ่มแมคโครไลด์ เช่น อีรีโทรมัยซิน (Erythromycin) อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) คลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin) และรอซิโทรมัยซิน (Roxithromycin) ทำให้เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนในการดำรงชีวิตได้ มักใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง
จ. เตตราไซคลีน (Tetracyclines) ใช้รักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อในลำไส้ รักษาหลอดลมอักเสบ แผล ฝี หนอง มีกลไกการออกฤทธิ์โดยก่อกวนการทำ งานของสารพันธุกรรม หรือ อาร์ เอน เอ ของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปร ตีนได้ และทำให้เชื้อหยุดการเจริญเติบโต ห้ามใช้ยาในเด็กอ่อนและหญิงมีครรภ์ เพราะอาจส่ง ผลถึงการเจริญเติบโตของกระดูกของเด็กและของทารกในครรภ์ได้ หากใช้ร่วมกับยาเม็ดคุมกำ เนิด จะลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด จึงอาจตั้งท้องได้ ห้ามใช้ร่วมกับยาลดกรด และ/หรือ ยากลุ่มวิตามินที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ เพราะจะลดการดูดซึมยาเตตราไซคลีนได้

ฉ. ควิโนโลน (Quinolones) ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ทางไต และต่อมลูกหมาก แต่ไม่ค่อยนำไปใช้รักษาการติดเชื้อในโพรงไซนัส(Sinusitis/ไซนูไซติส/ไซนัสอักเสบ) ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยรบกวนการสร้างโปรตีนในสารพันธุ กรรมของเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า ดีเอนเอ (DNA)
ข้อควรระวังและห้ามใช้ยากลุ่มควิโนโลน คือ ในผู้ที่เป็นโรคลมชักเพราะอาจกระตุ้นสมองเป็นสาเหตุให้ชักได้บ่อยขึ้น ตัวอย่างยากลุ่มควิโนโลน เช่น ไซโปรฟลอซาซิน หรือ ซิโปรฟลอซาซิน (Ciprofloxacin) เลโวฟลอซาซิน (Levofloxacin) นอร์ฟลอซาซิน (Norfloxacin) และ โอฟลอซาซิ น(Ofloxacin)




ปล.ข้อแนะนำส่วนตัวนะครับ อย่างผมเมื่อก่อนเวลาเป็นหวัดเจ็บคอมากินทีนึงก็จะซื้อ amoxicillin มากินเอง จนกระทั้งกินๆขาดๆ จนทำให้เชื้อดื้อยา จนเกิดการอักเสบหนักขึ้นมากเลย ผมเลยต้องไปซื้อตัวที่แรงกว่ามากิน คือมันยุ่งอะครับ ควรกินให้ครบโดสนะครับ

แก้ไขล่าสุดโดย teamzpawat เมื่อ Wed Jul 26, 2017 14:59, ทั้งหมด 1 ครั้ง
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ


ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกบอร์ด >> ใครชอบกินยาแก้ " อักเสบ " ควรเข้ามาอ่านครับ
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel