ผู้ตั้ง
ข้อความ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 7446
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Jul 14, 2017 9:43 am
...ไม่อยาก "ไหลตาย" เชิญทางนี้ครับ


ทุกครั้งที่อ่านข่าวเจอ หรือแม้กระทั่งพบว่าคนที่รู้จักต้องเสียชีวิตด้วยการ “ไหลตาย” เป็นเรื่องที่น่าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการเสียชีวิตฉับพลัน หรืออย่างที่ทุกคนทราบดีว่ามันคือ การนอนหลับแล้วก็เสียชีวิตไปเสียเฉยๆ ดูเหมือนจะเป็นการเสียชีวิตที่สบาย ไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน แต่ครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงต่างก็เศร้าเสียใจมากกว่าเดิม เพราะเป็นการจากไปอย่างกะทันหันเกินกว่าจะได้มีการสั่งเสียร่ำลากัน

ดูๆ ไปแล้ว อาการไหลตาย จู่ๆ ก็เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัวแบบนี้ จะมีวิธีป้องกันหรือไม่ มาดูกันครับ


"ไหลตาย" คืออะไร?




อาการไหลตาย หรือที่ใครหลายคนเข้าใจว่ามันคือโรค จริงๆ แล้วมันคืออาการของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ที่มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ซึ่งไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ในบางรายอาจมีสุขภาพปกติ แข็งแรง แต่อยู่ๆ ก็กลับมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก รู้สึกอึดอัด เหนื่อยง่าย


อาการ “ไหลตาย” แม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อย แต่ก็ยังพบได้เรื่อยๆ และไม่ได้พบแค่กับผู้สูงอายุ กับคนอายุยังหนุ่มสาวก็ยังสามารถเจอได้ เพราะจริงๆ แล้ว อาการไหลตายไม่ได้เป็นอาการผิดปกติธรรมดาๆ แต่เป็นโรคอันตรายที่ใครๆ ก็รู้จัก นั่นคือ โรคหัวใจวายเฉียบพลัน นั่นเอง



สาเหตุของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน หรืออาการไหลตาย

โรคหัวใจวายเฉียบพลัน หรืออาการไหลตาย มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ซึ่งไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ในบางรายอาจมีสุขภาพปกติ แข็งแรง แต่อยู่ๆ ก็กลับมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก รู้สึกอึดอัด เหนื่อยง่าย



อาการของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน

ผู้ป่วยมักเสียชีวิตฉับพลันในเวลากลางคืน ทั้งๆ ที่เป็นคนแข็งแรงและไม่เคยป่วยมาก่อน ในประเทศไทยมักพบเจอบ่อยในภาคอีสานและบางส่วนของภาคกลาง ช่วงอายุผู้ป่วยอยู่ระหว่าง 30-50 ปี ที่สำคัญคือโรคนี้ไม่ค่อยเป็นที่ รับรู้ของคนทั่วไป และผู้ป่วยมักเป็นกำลังสำคัญของครอบครัวและสังคม ดังนั้น หากอยู่ๆ เสียชีวิตไป จะทำให้มีปัญหากับคนที่อยู่ข้างหลังได้



สัญญาณอันตรายของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน

เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก

อึดอัด หายใจไม่ออก โดยเฉพาะในตอนกลางคืน

วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย

ใจหวิวๆ เครียดง่าย ตื่นเต้นง่าย

เหงื่อแตก


อาจมีอาการเป็นลม หมดสติ



ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน

- เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง

- สูบบุหรี่

- มีอาการนอนกรน ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วย




"วิธีป้องกันภาวะไหลตาย"



ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันหลอดเลือดในหัวใจมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เราสามารถป้องกันภาวะไหลตายได้ง่ายๆ ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงทีละข้อ

1. ลดความเครียด

หลายครั้งที่ร่างกายอ่อนแอ เหนื่อยล้าจากการใช้งานร่างกาย และสมองหนักจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหนัก อ่านหนังหนังสือหนัก จนทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอสะสม อาจรวมถึงสารเคมีที่หลั่งออกมาจากอาการเครียด ที่เป็นสาเหตุทำให้หัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรแบ่งวเลาให้ชัดเจน และอย่าลืมว่าไม่ว่าจะทำอะไร ร่างกายต้องแข็งแรงอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้ร่างกายทรุดโทรมเป็นอันขาด



2. ลดการทานอาหารเค็มจัด อาหารหมักดอง แอลกอฮอล์

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด รวมถึงอาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า หน่อไม้ดอง น้ำปลา หรือเหล้า เบียร์ ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หรือไหลตายได้เช่นกัน เพราะอาหารหมักดองมีสารไทรามีน ไปยับยั้งสารนอร์อะเปนเน็บฟิน หรือ อะเปนเน็บฟิน ซึ่งกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ไปอุดกั้น ทำให้สารเคมีที่จะไปกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานหยุดชั่วขณะหนึ่ง ทำให้หัวใจล้มเหลวได้ทันที



3. ดื่มน้ำก่อนนอน

ครที่มีโรคประจำตัวอย่าง ไขมันอุดตันเส้นเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ ควรดื่มน้ำก่อนนอนเพื่อไม่ให้เลือดข้นหนืดจนเกินไป จนทำให้ลิ่มเลือดเข้าไปอุดกั้นการทำงานของหัวใจในการสูบฉีดของโลหิตได้



4. ตรวจการเต้นของหัวใจ

ใครที่มีประวัติครอบครัวเคยเสียชีวิตจากการไหลตาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ควรเข้ารับการตรวจการเต้นของหัวใจทุกปี หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นเร็วและแรงอย่างไม่มีสาเหตุ วูบ หรือหน้ามืดบ่อย อาจจะมาจากการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ หากตรวจพบตั้งแต่แรกๆ อาจได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที



5. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ

กฎพื้นฐานของการป้องกันทุกโรค คือ การทำให้ร่างกายของตัวเองแข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งก็ทำได้ง่ายๆ ด้วยกฎ 3 ข้อ คือ ทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ สารอาหารครบครัน หรือจะเน้นอาหารที่ช่วยบำรุงหัวใจอย่าง ผลไม้ต่างๆ มะเขือเทศ ผักกวางตุ้ง ผักชี หัวใจหมู ข้าวโพด รากบัว กระชาย โหระพา โสม ลดอาหารที่มีไขมัน แป้ง และน้ำตาลสูง รวมถึงออกกำลังกายอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ และนอนหลับพักผ่อนให้ได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เท่านี้ก็ช่วยลดโอกาสในการเกิดภาวะไหลตายได้แล้ว



หากใครมีความเสี่ยง หรือมีอาการตามสัญญาณอันตรายดังกล่าว ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจ และวินิจฉัยอย่างละเอียด ก่อนที่จะปล่อยให้อะไรๆ มันสายเกินแก้


ขอขอบคุณ
ข้อมูล : กฤตวัฏ บวรนิรมาณ , รศ.ดร.สมพร เตรียมชัยศรี อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์

เข้าร่วม: 24 May 2011
ตอบ: 3981
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Jul 14, 2017 10:26 am
[RE: ...ไม่อยาก "ไหลตาย" เชิญทางนี้ครับ]
เมื่อก่อนเป็นข่าวดัง และผมได้รู้จักคำว่าไหลตาย จากข่าวที่แรงงานไทยไปทำงานที่สิงคโปร์
แล้วใช้ท่อพีวีซีขนาดใหญ่มาเป็นภาชนะหุงข้าวเหนียว ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันจะเกี่ยวข้องขนาดไหน
เพราะเท่าที่อ่านในนี้ก็ไม่ได้มีอะไรบ่งบอกถึงความเสี่ยงของสารปนเปื้อน
เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 3994
ที่อยู่: Anfield
โพสเมื่อ: Fri Jul 14, 2017 10:43 am
[RE: ...ไม่อยาก "ไหลตาย" เชิญทางนี้ครับ]
เพื่อนผมก็มีคนนึงนะที่ไหลตาย ตายตอนอายุ 22-23 เอง แต่เพื่อนคนนี้เป็นคนขี้ยา เล่นกัญชามาตั้งแต่สมัยมัธยม ตอนมหาลัยก็ไม่รู้ไปโดนยาตัวไหนบ้าง ตอนที่มีข่าวว่าไหลตายเลยคิดว่าคงเล่นยาหนักไปจนสภาพร่างกายไม่ดี
1
0



เข้าร่วม: 13 Apr 2010
ตอบ: 1039
ที่อยู่: บ้าน
โพสเมื่อ: Fri Jul 14, 2017 1:37 pm
[RE: ...ไม่อยาก "ไหลตาย" เชิญทางนี้ครับ]
ขออนุญาตนะคับ ขอเพิ่มเติมนิดนึง คือ ผมไม่แน่ใจว่าในบทความนี้เค้าต้องการสื่อถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน acute myocardial infarction หรือป่าวนะคับ

ส่วนโรคไหลตาย น่าจะเกิดจากความผิดปกติของการส่งสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจมีการเต้นผิดจังหวะขึ้นมา อาจจะมีอาการวูบ หน้ามืด เป็นลมได้ หรือบางทีอาจไม่มีอาการอะไรเลย และบางครั้งอาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้เนื่องจากหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง

โดยที่พบว่ามักเกิดในเพศชายมากกว่าหญิง ส่วนใหญ่รุ่นๆวัยทำงาน และมักพบเสียชีวิตในเวลากลางคืน เลยมีความเชื่อที่ว่า ผีแม่หม้ายมาพาชายหนุ่มไปอยู่ด้วย นั่นเองงง

โดยโรคไหลตาย เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางพันธุกรรม ในไทยนี่พบมากแถบภาคอีสาน ดังนั้นหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็น ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นเช่นกันได้ และคนที่เป็นก็อาจจะแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงอื่นๆเลยก็เป็นได้เช่นกัน

glory glory Manchester United