วาระสุดท้ายของทรราช (25+)
ทรราช น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อํานาจตามอําเภอใจ ทําความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant) เรียกลัทธิเช่นนั้นว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. (อ. tyranny)
ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
มุสโสลินี : วาระสุดท้ายของเผด็จการ
เบนีโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลีนี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) เรียกชื่อโดยทั่วไปว่า "อิลดูเช" (Il Duce) แปลว่า "ท่านผู้นำ" เป็นจอมเผด็จการและนายกรัฐมนตรีของประเทศอิตาลี (พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2486) เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 ในครอบครัวที่ยากจนที่เมืองโดวีอาดีเปรดัปปีโอ (Dovia di Predappio) ในจังหวัดฟอร์ลิ แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา แต่ด้วยเวลาไม่นาน มุสโสลีนีได้กลายเป็นนักสังคมนิยมยุวชนที่หลักแหลมและมีอันตราย แต่ต่อมาต้องลาออกจากพรรคสังคมนิยมอิตาลีเนื่องจากสนับสนุนการเข้าแทรกแซงสงครามโลกครั้งที่ 1
ในปี พ.ศ. 2462 มุสโสลีนีได้เข้าร่วมการก่อตั้งพรรคสันนิบาตการต่อสู้แห่งอิตาลี (Fasci Italiani di Combattimento) หรือพรรคฟาสซิสต์เพื่อเตรียมเป็นกองกำลังปฏิวัติ ในปี พ.ศ. 2465 ได้เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งฉลองชัยชนะด้วย "การสวนสนามแห่งโรม" (เดือนตุลาคม) ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2468 เขาได้สถาปนาตนเองเป็นเผด็จการเต็มรูป บังคับให้ยกเลิกระบบรัฐสภาทดแทนด้วย "รัฐบรรษัท" (Corporate State) และวางระบบรวบอำนาจอย่างเป็นทางการ จัดตั้งนครรัฐวาติกัน (พ.ศ. 2472) บุกยึดอะบิสซิเนีย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2478-พ.ศ. 2479 ปัจจุบันคือเอธิโอเปีย) และแอลเบเนีย (พ.ศ. 2482) ไว้ในครอบครอง พร้อมกับการประกาศเข้าร่วมเป็นฝ่ายอักษะกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งประเทศเยอรมนี
มุสโสลินีถูกจับกุมตัวได้เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยกองกำลังปาร์ติซานของพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี ที่บริเวณใกล้ชายแดนอิตาลี-สวิสเซอร์แลนด์ ในขณะที่เขาพยายามจะหลบหนีออกจากอิตาลี และถูกประหารชีวิตด้วยข้อหาทรยศต่อชาติ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยคำตัดสินลับหลังของคณะลูกขุนแห่งคณะกรรมการปลดแอกแห่งชาติ ร่างของมุสโสลินี ภรรยาน้อย และผู้นิยมลัทธิฟาสซิสต์คนอื่นๆ อีกประมาณ 15 คน ได้ถูกนำไปยังเมืองมิลาโน เพื่อแขวนประจานต่อสาธารณชน
นิโคไล เชาเชสกู (อังกฤษ - Nicolae Ceausescu; โรมาเนีย : Nicolae Ceauşescu) (26 มกราคม พ.ศ. 2462 - 25 ธันวาคมพ.ศ. 2532) เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนียระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2532 และ เป็นประธานาธิบดีประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย ระหว่าง พ.ศ. 2518 - 2532
19 ธ.ค.2532 ระหว่างที่เชากับอีลีนาไปเยือนอิหร่าน ชาวบ้านเดินขบวนประท้วงบนถนนในเมืองหลวงกรุงบูคาเรสต์ เชาสั่งการมาจากอิหร่านให้ทหาร "หน่วยซีกูริตาเต" ออกไปปราบ ยิงประชาชนตายไป 1,104 คน บาดเจ็บ 3,352 คน
ฆ่าคนมือเปล่ามากๆ ทหารก็รู้สึกผิด เลยหันมาช่วยประชาชนรบกับเชาเชสคู ซึ่งกลับจากอิหร่านมาถึงกรุงบูคาเรสต์เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. และในที่สุดวันที่ 22 ธ.ค. เชาก็พาเมียหนีออกจากบูคาเรสต์ พร้อมเงินสด 1,000 เหรียญสหรัฐ แต่ไปได้แค่ 75 กิโลเมตร ทหารก็จับได้ นำตัวมาขังไว้ที่ค่าย
ศาลประชาชน ถูกจัดตั้งขึ้นพิจารณาความผิดของเชากับอีลีนาในวันนั้น ใช้เวลา 2 ชั่วโมงก็ตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า วันที่ 25 ธันวาคม ได้มีประกาศผลการสอบสวน Nikolai และ Elena Ceausescu โดยศาลทหารทั้งคู่ได้ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยข้อหา 5 กระทง ด้วยกันคือ
1. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (เป็นไปได้ว่าได้มีการสังหารผู้คนไปกว่า 6 หมื่นคน)
2. มีการใช้อาวุธในการโจมตีผู้คนและใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ
3. มีการทำลายอาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ และสถาบันทั้งหลายของชาติ
4. มีการทำลายเศรษฐกิจของชาติ
5. มีการยักยอกฉ้อฉลทรัพย์สมบัติของชาติ(ไปกว่า 100 ล้านลิว) และนำเงินจำนวนเหล่านั้นไปฝากยังธนาคารหลายแห่งในต่างประเทศ
เชากับอีลีนาก็ถูกยิงเป้าอย่างสยดสยองในวันที่ 25 ธ.ค.2532
ในวันต่อมา ภาพวิดีโอสั้นๆ เกี่ยวกับการสอบสวนได้รับการออกอากาศ พร้อมกับภาพนิ่งซากศพของจอมเผด็จการและคู่ครอง หลังจากที่พวกเขาถูกประหารชีวิตแล้วภาพดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดซ้ำๆ อีกตลอดทั้งวัน และศพถูกทิ้งไว้ข้างกำแพง ไม่มีใครใส่ใจจะฝัง กระทั่งวันที่ 30 ธ.ค.2532 คนงานสุสานทนอุจาดไม่ไหวจึงนำศพไปฝัง และปักเสาหินเขียนชื่อไว้ให้
ซัดดัม ฮุสเซนเป็นประธานาธิบดีอิรักตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ถึง 9 เมษายน พ.ศ. 2546 เมื่อเขาพ้นจากตำแหน่งระหว่างการรุกรานอิรัก พ.ศ. 2546 โดยกำลังผสมพันธมิตรนำโดยสหรัฐ หลังการจับกุมตัวซัดดัมในอัดดาวร์ ใกล้ติกรีตเมืองเกิดของเขา เขาถูกกักขังที่ค่ายครอปเปอร์ ซัดดัมถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ หลังพบว่ามีความผิดจริงและถูกพิพากษาฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยศาลอาญาอิรักสูงสุด ในการฆาตกรรมชาวอิรักชีอะฮ์ 148 คนในเมืองดูเญล เมื่อ พ.ศ. 2525 เพื่อเป็นการแก้แค้นต่อความพยายามลอบสังหารตัวเขา และถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ผู้ร่วมเป็นสักขีพยานการประหารอดีตผู้นำอิรักเผยว่า "ซัดดัม ฮุสเซน" มีอาการขัดขืนเล็กน้อยและไม่ยอมสวมถุงคลุมศีรษะก่อนประหาร โดยได้ตะโกนสรรเสริญพระเป็นเจ้า พร้อมลั่นอิรักจะได้รับชัยชนะซ้ำไปซ้ำมาจนดวงวิญญาณออกจากร่าง
มุอัมมัร อัลก็อษษาฟี เป็นผู้นำประเทศลิเบียโดยพฤตินัย หลังจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2512
เขาได้รับการขนานนามในเอกสารทางการและสื่อของรัฐว่า "ผู้ชี้นำการมหาปฏิวัติวันที่ 1 กันยายน แห่งมหาสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย" ("Guide of the First of September Great Revolution of the Socialist People's Libyan Arab Jamahiriya") หรือ "ภราดาผู้นำและผู้ชี้ทางแห่งการปฏิวัติ" ("Brotherly Leader and Guide of the Revolution")
นับตั้งแต่การลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเองในปี พ.ศ. 2515 กัดดาฟีเคยเป็นผู้นำประเทศที่ไม่ใช่กษัตริย์ที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในโลกหลังการเสียชีวิตของโอมาร์ บองโก ประธานาธิบดีแห่งประเทศกาบอง ในปี พ.ศ. 2553 และยังเป็นผู้นำลิเบียที่ครองอำนาจนานที่สุดนับตั้งแต่ลิเบียตกเป็นมณฑลหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อ พ.ศ. 2094
กัดดาฟีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 หลังจากถูกประชาชนลิเบียลุกฮือต่อต้านเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
เดบิท -
http://www.oknation.net/blog/nfedlion/2013/11/23/entry-1
ปล. นี่คือคำเขียนของเจ้าของบทความในบล็อกดังกล่าวนะครับ
Spoil
เป็นเจตนาโดยตั้งใจของผม
ที่ต้องการเปิดเผยรูปแสดงวาระสุดท้ายของเผด็จการทรราชเหล่านั้น
เพื่อให้ผู้ที่ต้องการให้เกิดความรุนแรง
และพยายามใช้ความรุนแรงเพื่อปราบปรามยับยั้งพลังประชาชน
จุดจบวาระสุดท้ายในชีวิตจะเป็นเช่นที่เห็น
เพราะความชั่วร้ายเลวทรามไม่เคยชนะความดีงามได้เลย
โดยเฉพาะความดีจากพลังบริสุทธิ์ของประชาชน
"ผู้ชายทุกคนอยากได้ภรรยาที่ดีพร้อมแต่น้อยคนที่ทำตัวให้ดีพอที่จะได้จริง ๆ" - นิรนาม
"ความยิ่งใหญ่ของเราไม่ได้เกิดจากการไม่เคยล้มเลยหากแต่เกิดจากการลุกขึ้นทุกครั้งที่ล้ม" ขงจื๊อ
"อยู่ห่างจากคนคิดลบไว้ เพราะสำหรับเค้าทุกทางแก้ล้วนมีแต่ปัญหา" อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์