วันนี้จะพาทุกๆท่านมาทำความรู้จักกับเชื่อไวรัสอีโบล่าที่กำลังระบาดกันนะครับ
อีโบลา เชื้อไวรัสมรณะที่คร่าชีวิตผู้คนในแอฟริกาตะวันตกไปแล้วหลายร้อยคน กับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ยังคงน่าเป็นห่วงและต้องจับตาเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โรคนี้กำเนิดอย่างไร ติดต่อได้ทางไหน และจะป้องกันตัวจากโรคอีโบลาได้อย่างไรบ้าง มาศึกษาไปพร้อมกันเลย
ข่าวเชื้ออีโบลา ล่าสุด
สถานการณ์ผู้ป่วยโรคติดเชื้ออีโบลาในทวีปแอฟริกาตะวันตกยังคงอยู่ในภาวะวิกฤตและต้องอยู่ภายใต้การเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด โดยในตอนนี้มีการระบาดหนักในประเทศกินี (Guinea) ไลบีเรีย (Liberia) และเซียร์ราลีโอน (Sierra Leone) มีผู้เสียชีวิตแล้ว 660 ราย โดยการระบาดเกิดจากระบบสาธารณสุขที่ไม่ดีนัก มีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ญาติผู้ป่วยสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง สัมผัสศพด้วยมือเปล่า เป็นต้น
โดยกรณีล่าสุดคือ ผู้ป่วยที่เดินทางไปกับเครื่องบินจากไลบีเรียแล้วไปเสียชีวิตที่ประเทศไนจีเรีย (อ่านข่าว ไนจีเรียคุมเข้ม รพ. ในลากอส หลังพบผู้ป่วยตายจากอีโบลารายแรก) และนายแพทย์จากเซียร์ราลีโอน ผู้รับได้การยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษในการต่อต้านเชื้อโรคอีโบลา เสียชีวิตลงเพราะติดเชื้อเสียเอง ยิ่งทำให้ตระหนักได้เป็นอย่างดีว่าโรคอีโบลานี้ร้ายแรงมาก อีกทั้งตอนนี้มีการประกาศเตือนจากแพทย์ของอังกฤษว่า ให้ทั่วโลกตื่นตัวในการเฝ้าระวัง เนื่องจากมีผู้ป่วยถูกปล่อยให้โดยสารเครื่องบินกับผู้โดยสารหลายสัญชาติ และผู้โดยสารที่เดินทางร่วมเที่ยวบินกับผู้ป่วยที่เสียชีวิตอาจเดินทางต่อไปยังประเทศต่าง ๆ (อ่านข่าว เตือนอีโบลาเสี่ยงระบาดทั่วโลก หลังผู้ป่วยโดยสารเครื่องบิน 2 ลำ) ยิ่งทำให้ต้องรีบตื่นตัว เฝ้าระวังโรคจากเชื้อไวรัสอีโบลากันมากขึ้น ฉะนั้น เราจึงขอนำข้อมูลของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลามาฝากกัน เพื่อความเข้าใจและแนวทางการปฏิบัติตัวในการรับมือโรคอย่างถูกต้องครับ
เชื้ออีโบลา คืออะไร
เชื้อไวรัสอีโบลา เป็นกลุุ่มโรคไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า "ซาร์อี อีไบลาไวรัส" (Zaire ebolavirus) ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามพื้นที่ที่พบว่ามีการระบาดของโรคเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 คือใกล้กับลุ่มแม่น้ำอีโบลา ในประเทศซาร์อี (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐคองโก) แต่อย่างไรก็ดี จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถระบุแหล่งต้นตอที่เป็นรังของเชื้ออย่างแน่ชัดได้
รูปร่างของเชื้อไวรัสอีโบลา หรือ EBOV VP30 (Ebola Virus VP30) มีลักษณะเป็นเส้นด้ายในกลุ่มฟิโลไวรัส เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 80 นาโนเมตร ยาวได้มากถึง 1,400 นาโนเมตร แบ่งออกเป็น 5 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ร้ายแรง ได้แก่ สายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี และสายพันธุ์บันดิบูเกียว
เชื้ออีโบลา ระบาดอย่างไร
การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาหรือโรคไข้เลือดอีโบลา มีลักษณะแพร่เชื้อจากคนสู่คนผ่านทางการรับหรือสัมผัสของเหลวจากร่างกายผู้ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นเลือด น้ำลาย น้ำมูก เหงื่อ สารคัดหลั่งต่าง ๆ ตลอดจนเชื้ออสุจิ อย่างไรก็ดี ดังในข่าวที่มีการเตือนให้เฝ้าระวังผู้โดยสารที่เดินทางร่วมเครื่องบินกับผู้ป่วยไปนั้น ก็ยังถือได้ว่ามีโอกาสติดเชื้อต่ำ เนื่องจากเชื้ออีโบลาไม่ติดต่อกันทางอากาศที่หายใจร่วมกัน
เชื้ออีโบลา แอฟริกาพบบ่อย
การระบาดของเชื้ออีโบลาในแถบแอฟริการะลอกล่าสุดนี้ เริ่มระบาดจากบริเวณพื้นที่ห่างไกลในประเทศกินีเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก่อนที่เชื้อจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วจนถึงชายแดนของไลบีเรีย ตามมาด้วยเซียร์ราลีโอน กินี และเข้าสู่ภาวะการระบาดอย่างหนักในช่วงเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งโดยตลอด 2 เดือนนี้ มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนแตะที่อย่างน้อย 660 คน แม้ว่าเจ้าหน้าที่ได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการป้องกันและสกัดกั้นเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจายมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถยับยั้งการระบาดของเชื้อได้เลย
เชื้ออีโบลา อาการเป็นอย่างไร
หลังได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการได้ตั้งแต่ใน 2 วัน-3 สัปดาห์ เริ่มจากมีไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งตัว เจ็บคอ ตามมาด้วยอาการท้องเสีย อาเจียน มีผื่นนูน มีเลือดออกตามเยื่อบุของร่างกาย เช่น เยื่อบุตา ภายในช่องปาก รวมทั้งเลือดออกที่อวัยวะภายใน มีอาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของตับและไตล้มเหลว ช็อก ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 50%-90%
ทั้งนี้ อาการในระยะแรกเริ่มของโรคมีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการป่วยด้วยโรคชนิดอื่น ๆ เช่น ไข้มาลาเรีย ท้องร่วง ไข้หวัด ไข้เลือดออกจากไวรัสอื่น ๆ ทำให้ระบุโรคได้ล่าช้า
เชื้ออีโบลา การรักษา
ในปัจจุบันยังคงไม่มีทั้งวัคซีนป้องกันและยารักษาเชื้ออีโบลาโดยเฉพาะ ทำได้เพียงรักษาไปตามอาการด้วยการให้น้ำและเกลือแร่ทดแทน รวมทั้งให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดในช่วงแรก เพื่อป้องกันเลือดจับเป็นลิ่มในหลอดเลือด จากนั้นจึงให้ยาช่วยการแข็งตัวของเลือดในระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการเลือดออก
เชื้ออีโบลา ในประเทศไทย
ในปัจจุบัน ยังคงไม่พบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลาในประเทศไทย และมีการวิเคราะห์โดยนายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เฉพาะด้านไวรัสคลินิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ว่า โอกาสที่เชื้อจะเข้ามาระบาดในเอเชียนั้นมีต่ำ เพราะผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วมักอยู่ในสภาพร่างกายอ่อนแอเกินกว่าจะเดินทางได้ การแพร่ระบาดข้ามทวีปจึงเกิดขึ้นได้น้อย
มาตรการเฝ้าระวังเชื้ออีโบลา
แม้ประเทศไทยจะมีความเสี่ยงในการพบเชื้อต่ำ แต่ในเบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศ 3 มาตรการเฝ้าระวังโรคอีโบลามาแล้ว ดังนี้
1. ให้สำนักระบาดวิทยาติดตามสถานการณ์โรคจากองค์การอนามัยโลก สาธารณสุขทุกจังหวัดเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค
2. ให้โรงพยาบาลทุกแห่ง เข้มงวดต่อการรักษาผู้มีอาการต้องสงสัย โดยใช้มาตรการเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง เช่น ไข้หวัดนก ซาร์ส เป็นต้น
3. ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมความพร้อมห้องแล็บในการตรวจหาเชื้อ ซึ่งไทยได้รับความร่วมมือจากสหรัฐฯ ในการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสชนิดนี้
สำหรับประชาชนทั่วไป ก็มีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้ออีโบลา คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าที่นำเข้ามาโดยไม่ผ่านการตรวจโรค เลี่ยงการรับประทานอาหารจากเนื้อสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะ ลิง ค้างคาว รวมทั้งเลี่ยงเมนูเปิบพิสดารอื่น ๆ และงดการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค ซึ่งขณะนี้ก็คือประเทศแถบแอฟริกาตะวันตกนั่นเอง
มาตรการเฝ้าระวังเชื้ออีโบลา
แม้ประเทศไทยจะมีความเสี่ยงในการพบเชื้อต่ำ แต่ในเบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศ 3 มาตรการเฝ้าระวังโรคอีโบลามาแล้ว ดังนี้
1. ให้สำนักระบาดวิทยาติดตามสถานการณ์โรคจากองค์การอนามัยโลก สาธารณสุขทุกจังหวัดเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค
2. ให้โรงพยาบาลทุกแห่ง เข้มงวดต่อการรักษาผู้มีอาการต้องสงสัย โดยใช้มาตรการเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง เช่น ไข้หวัดนก ซาร์ส เป็นต้น
3. ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมความพร้อมห้องแล็บในการตรวจหาเชื้อ ซึ่งไทยได้รับความร่วมมือจากสหรัฐฯ ในการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสชนิดนี้
สำหรับประชาชนทั่วไป ก็มีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้ออีโบลา คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าที่นำเข้ามาโดยไม่ผ่านการตรวจโรค เลี่ยงการรับประทานอาหารจากเนื้อสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะ ลิง ค้างคาว รวมทั้งเลี่ยงเมนูเปิบพิสดารอื่น ๆ และงดการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค ซึ่งขณะนี้ก็คือประเทศแถบแอฟริกาตะวันตกนั่นเอง
ของฝากอีกหัวข้อสำหรับเรื่องน่ารู้ของอีโบล่าครับ
1. เชื้ออีโบลา ระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519
เชื้อไวรัสมรณะระบาดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศซูดานและซาร์อี (ปัจจุบันคือ คองโก) ในปี 2519 และถูกตั้งชื่อว่า "อีโบลา" ตามชื่อแม่น้ำในทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ก็ยังมีรายงานการระบาดให้ประเทศอื่น ๆ ทั่วแอฟริกา อาทิ คองโก ไอวอรี่โคสต์ ยูกันดา ซูดานใต้ กาบอง กินี และไลบีเรีย
2. เชื้ออีโบลา มี 5 สายพันธุ์
เชื้อไวรัสอีโบลามีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ตั้งชื่อตามสถานที่ที่เกิดการระบาด ได้แก่ อีโบลา-ซาร์อี (Ebola-Zaire), อีโบลา-ซูดาน (Ebola-Sudan), อีโบลา-โกตดิวัวร์ (Ebola-Côte d’Ivoire), อีโบลา-เรสตัน (Ebola-Reston) และ อีโบลา-บันดิบูเกียว (Ebola-Bundibugyo) โดยสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอย่างหนักในแอฟริกาตะวันตกขณะนี้ คือ อีโบลา-ซาร์อี และยังมีสายพันธุ์ อีโบลา-เรสตัน ที่เชื้อไม่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยในมนุษย์
3. ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคอีโบลามักเสียชีวิต
จากสถิติผู้ป่วยโรคอีโบลาสายพันธุ์ซาร์อีในตอนนี้ มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 80%-90%
4. ไวรัสอีโบลา แพร่เชื้อจากคนสู่คน
เชื้อไวรัสอีโบลาสามารถแพร่ได้จากคนสู่คน ผ่านการสัมผัสถูกสารคัดหลั่งจากตัวผู้ป่วย เช่น น้ำมูก น้ำลาย เลือด เหงื่อ ปัสสาวะ หรืออสุจิ รวมถึงการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ราวจับประตู ลูกบิดประตู ปุ่มลิฟต์ ตลอดจนการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าว โดยเชื่อว่าค้างคาวผลไม้ ซึ่งเป็นสัตว์ที่ชาวแอฟริกานิยมจับทำอาหาร เป็นพาหะในการแพร่เชื้อ ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ออกเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แพร่ระบาดงดล่าและนำค้างคาวมาประกอบอาหารแล้ว
5. อีโบลา ไม่สามารถวินิจฉัยได้แน่นอนจากอาการแรกเริ่ม
การวินิจฉัยผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบลาในช่วงแรกอาจเป็นไปได้ล่าช้า เนื่องจากอาการผื่นและตาแดง ซึ่งเป็นอาการแรกเริ่มของโรค ก็เป็นอาการของความเจ็บป่วยชนิดอื่นได้เช่นกัน ส่งผลให้การวินิจฉัยโรคในระยะแรกที่ติดเชื้อนั้นไขว้เขวหรือไม่แม่นยำ อย่างไรก็ดี ในตอนนี้มีกระบวนการตรวจสอบเชื้อซึ่งจะทราบผลอย่างแม่นยำได้ในไม่กี่วันหลังมีอาการ
6. ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มแสดงอาการหลังรับเชื้อแล้ว 8-10 วัน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มแสดงอาการของโรคอีโบลา หลังได้รับเชื้อไปแล้วประมาณ 8-10 วัน แม้ว่าเชื้อจะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 2-21 วันก็ตาม โดยอาการจะประกอบด้วย มีไข้ ปวดหัว อ่อนเพลีย ท้องเสีย อาเจียน ไม่อยากอาหาร ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อตามร่างกาย ปวดข้อ การติดเชื้อยังทำให้เกิดอาการเลือดออกทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย มีปัญหาในการหายใจ การกลืนอาหาร เจ็บคอ เจ็บหน้าอก ตาแดง สะอึก ไอ มีผื่น นอกจากนี้ อาการเลือดออกที่ตา จมูก หู และปาก นับเป็นอาการที่ชี้ถึงการติดเชื้อที่เด่นชัด
7. การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอยู่ในขั้นรุนแรง
ปกติแล้ว การระบาดของโรคอีโบลา มักเกิดขึ้นในพื้นที่ห่างไกล แต่การระบาดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันกลับเกิดขึ้นพื้นที่ซึ่งจัดว่าไม่ทุรกันดารนัก โดยในตอนมีการระบุพื้นที่ติดเชื้อต่าง ๆ แล้วกว่า 60 จุด ในประเทศเซียร์ราลีโอน กินี และไลบีเรีย
8. ปัจจุบันยังคงไม่มีวิธีการรักษาหรือวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา
ในปัจจุบันยังคงไม่มียาหรือวิธีการเพื่อรักษาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาโดยเฉพาะ รวมทั้งยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ทำได้ในตอนนี้ คือ การรักษาไปตามอาการ คอยรักษาระดับของเหลวและอิเล็กโตรไลท์ในร่างกายในสมดุล รักษาระดับความดันโลหิต ระดับออกซิเจนในเลือด และรักษาตามอาการติดเชื้อต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเท่านั้น
CR kapook,wiki, และอีกหลายๆที่นะครับ
หวังว่าเพื่อนๆทุกท่านจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อยนะครับ ดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับบ